|
ʶҹͧǨѧѴШǺբѹ |
طҹ觪ҵʹ
ШǺբѹ |
ʹ
繪ͷյӹҹ 鹷ᶺ繷й˭§¡ѹ
˹Ҩչ蹼ҹһʺعçѺҧ
֧źҵͧӴҹȵѹͧ ͧҡӹҭ鹷
骹ѺԹáѺҧŧ 餹ӵ¨ӹǹҡʹ¢躹лҳ
300 ֧駪 ʹ дѺӷŴŧ
С Ǻҹ¡Ҵ ʹ
dzѹɰҹͨ鹪Ǻҹ¡ ǷҺ
ռ龺ҡҡⴧҳ㹺dz ҧѹɰҹ
յʹ ʹҡ¶֧ 300
ʹ
㹻 .. 2505 зǧɵˡó
͡Сȡзǧ Ѻ 100 ˹鹷ʹ鹷ҳ
99.50 ҧ 繻ʧǹҪѭѵԤͧʧǹ
طѡҪ 2481 ˵ؼŢͧûСȾ鹷ѧվѹդҢҧ˹ҡ
ѹ Ф зǷȹ§ʧǹ
Ҿ鹷ѧ١Сطҹ觪ҵѹ
28 Զع¹ 2509 鹷 61.28 ҧ Ѻطҹ觪ҵӴѺ
4 ͧ طҹ觪ҵԷҧá
鹷ǹ繷ʹ
繾鹷բҴ 69.22 ҧ ФѰ
ѹ 16 ѹҤ 2513 繷Ѵɮ Ҿ鹷繴Թ˹
˹ͧ鹷չӷѧʹҡоѲͷӡɵ
СͺѺҳ㹡ôԹèѴþ鹷§
ôԹèѴè֧¡ԡ ¾鹷褧Ҿ繷ҵ
繷ͧӡ 157 Դ ֧ͼǡ鹷ѧ
Դʹɮ СèṡԹ鼹ǡ鹷§˹觢ͧʹ
觵 .. 2525 ա¹ŧࢵطҹ觪ҵ¼ǡ鹷ʹ鹷
36.8 ҧ طҹ觪ҵԷ鹷طҹ觪ҵ
98.08 ҧ
鹷طҹ觪ҵʹ
طҹ觪ҵԷҧشͧҤҧ ʹҹ˹شͧҤ½觷Ŵҹѹͧ
㹷ͧͧʹ ͡º ѧѴШǺբѹ
ͺࢵûͧ 2 ʹ ͡º
ѡɳԻ
طҹ觪ҵʹ
ҾԻԹٹؤ¹ػҳ
280-230 ҹ դ٧ѹ觷żѺҺ觷ŷҴŹǧӷŵ
ʹ֧Թٹ§½觷ūǨҡҡšҧ˹Ͷ֧駷ҧҳ
30 й ҧ ԧ
ѵٴ Т鹡 վ鹷ҺչӢѧʹҧҹѹͧطҹ觪ҵԤ
ʹ ʹյ繷 Ҷ١Դ鹴µСѹ
Ŷ͡ ѺԷԾŹӨ״ҡ蹴Թ աͧСҺ
繷觹ӡз觹Ө״ӴѺ Ө״㹷ʹǹ˹觡ԴҨҡ͡ҵйżҹд
¢ ˹ͧҧ Ҿ֧ кŧŵͧᴧ
աǹ˹Ũҡ͡ʹ ʹдѺ֡
3
ͧҡҾҧóբͧʹԹٹդҴѹ٧
Դ˹Ҽ٧ѹغ֡ դ٧ͧʹҷ٧شࢵطҹ觪ҵԶ֧
605 èҡдѺӷŻҹҧ ʹҷӤѭ ʹҪŧҧ
ҡ ˭ Ҷӻзع ᴧ ¹ غѹ
Ң鹺ѹ dzҾóԹٹ 觷Թٹ١ԷԾŢͧҵԡѴͼء繶ͻͧغǢҴ˭
Ӥѭ Ӿҹ 繵
ѹѵ
ͧҡҾ鹷ǹ˭
ѺԷԾŨҡѹ͡§˹ѹ§
觼ѧתࢵطҹ觪ҵʹᵡҧѹ
ö 2 ѡɳ˭ ѧתԴ㹾鹷
ѧתҺ ѧ
1. ѧתԴ㹷Ӣѧ
Сͺ (1) ѧת辺㹾غ֧Ө״dzʹ
ǹ˭繾תءǡԴҧ Ƿç
˭һͧ ˭ ǧ ªԴҧ ѡ
Żѵ ͡ ˹ ¢˹ 繵 (2) ҪŹ
觾Ǫ¤ͧҧ ͧᴧ ҧҢ ѹӤѭ
⡧ҧ ⡧ҧ˭ ҵ кٹ çᴧ
Ǣ Ҵ͡ᴧ Ч ҡ Ҷͺᶺ 繵 dz觫繴СҴѺԷԾŤͧӷŷ֧ͧѹء
תءǡ Ф ѡ ˭һҺ ˭Ң 繵
2.ѧתҺ Сͺ (1) ҪҴ
Ҵdz֧dzԧ 鹴Թ繷
Ǵ ⢴Թ ѹӤѭ辺 ʹ ⾷ зԧ
١ҧ ࡴ йǼ · ѡ駷繵 (2) ອó
ǹ˭鹺Թٹ óªԴѡ繾ó
ѹ ѹ Ǽ 繵
鹷辺ѡӵ ͧҡ鹷ԹٹʹԹ
ǹdzաԹҡʹԹ˹㹺dzغԧ
ѹ鹨ӵ٧˭ ¡ШѴШ
ѹ辺 Ѻ Ф ѹ
д١ оͧ 繵
ʹ ͡ҡ繪طҹ觪ҵ
ѧ繪ͧ͢ת ʹ ͡ٴ
§ ѧ 繾תԴѺԹ辺㹻
ҧ觷ҧҤҤѹ͡ ӵ 2 ѡɳ
շӵ鹷ʹ仡Ѻ鹴Թӵ鹵駵çҨ٧֧
ᵡ觡ҹҢҤʹѵ Դ Т¾ѹԴ繵·µ
¡ Cones ʹѡ鹵Թ ҺҷѺʧᴴѴ
鹷Һ仨֧дѺ٧ 1,000
dzطҹ觪ҵʹդҡ¢ͧѵ
йҡ֧ 316 Դ Сͺ¹»ШӶз¶Ҩҡ蹵Ĵ١
ʶҹ§觢ͧ·蹡ᴧ ҧѧҧ
ᴧʹ ǡѺѭѹ͡
ѭѹǢ й
ѵ§١¹Ҵ˭辺طҹ觪ҵʹչҡ
ǹ˭ѵҡԹҧѵشԹ㹷
§ Ш ٻ ԧ ԧ ҧ蹶
ѧ ҧ ˹پء˭ ˹ٷͧ
ҧد ЪԴʹ㨷辺㹹ҹӪ½觷źdz
Ǻҵ Ѻѵ¤ҹԹԹ辺
ͧ Ѻ Ҵ 駡ҺԹա 駡ᴧ
駡ǹ Źҹ ١л ԧ
ҧҹ ´ѧ ˹ͧ 觢Ҥ
觺ҹ ´ ´ԡ
ҡǨǺ ѵ
¡ 45 Դ Ҫ Ҵءҹ ҹ ҫ
ҵ¹ ҷ ѧ ҡк͡ ҡູ ҵչ
᪺ ֡ ¢ ŧ
繵 ͡ҡѧѵ աҡ ҧ觸
è ŧ اӨ״ ᵹ˹Ǵ մ
ǹᴧ 繵
ҹѡ-ԡ
ҧطҹպҹѡ ʶҹҧ鹷
ҹԡùѡͧ
觷ͧ
ͧᴧ
ҧҡӡطҹ觪ҵԻҳ 1.5 Ԩѡͧǹ
ͧ ͨҡҹᴧ ŧͷҹ˹Ѵᴧͧ仵Ӥͧҳ
3-4 Թҧ仡Ѻҳ 1 ҧͧͧǷǷȹҪŹ
繹ҹҪԴ ҷͧͪҵա
16.3017.00 . öжҾҷԵ쵡
Ӿҹ
繶ӢҴ˭㹺dzҴ 3 ͧջͧҹ
ǹҹҧ㹶繻 ҧ٧ٴ Ӿҹö١鹾¾ҹ
ͧͧոҪ Һ Ѫ÷
5 觡اѵԹ çҺҶӹ§ҡ ֧վҪʧʴ稻о
֧ªҧШҪӹѡҧѺẺآҴµ
麹ԹԹҧ ͧʴ稻о 20 Զع¹
2433 оҪҹѺҹ з觤Ҥʹ
ӾҹùеͧԹҢ仨ҡҴաҳ
430
ҧҡӡطҹ觪ҵ 价ҧҹҧ
ҳ 16 㹺dzغҨѹ 繶ӷԹ͡Թ·§
ѡɳ蹢ͧԹ͡Թ·ǹ˭ҧ ʧ
ԹӤҧӺҡͧҡ㹶״ҡоº仴Թ˭С
֧繵ͧ§Ҿ俩 ˹ҷطҹ觪ҵԹӷҧǪ
㹶ӻҳ 2
dz
ҧҡӡطҹ觪ҵ 9 â鹪зҧ
öö¹仨ʹԧԹҢա
280 һҳ 30 ҷ 㹶Ӥҧ״ͧ俩͵§觨պԡѹشҪ
ҡѹöԴ͢ҵ§ҹ
ѡɳ㹶ӾԹ͡Թ·§ ҷҪ㹶ӻҳ1
ʹ
繾鹷ӻ˹
վ鹷Һҧ˭Դͧҵ չӢѧͷ֧ʹ駻
շǹ繹Ө״йӡ 觷ͧСͺҧҾСҾ
͡ѡɳͧкդҡªԴͧת ѵ иҵ
ʹ觷¢ͧҹҪԴ 駹ШӶй;¾Ĵ١
Ѻ觴ٹӤѭա˹觢ͧ
ᴧ
㹺dzըشǺʹᴧ٧ҡдѺӷŻҹҧ
157 شǹҧҡӡطҹ觪ҵ 仵Ҵҧ
400 Թա 300 һҳ 30
ҷ ҷâ鹪 ״ҳ 05.30
. öҷԵ˹͢ͺźҹᴧзȹҾͺ
ʹ ԧ Фҧ蹷͡㹵ҵ
Ҵ
Ҵʹ շ¢ ͺٻ ҹ˹繪·
ѵٴѧҹ˹ ԴҡѹºʧѺþѡ
պҹѡ 繷 ͧ-ͧآ 鹷ҧ֡Ҹҵӹ¤дǡ
ԡ ҹâͧҤ͡ Ѻحҵҡطҹ觪ҵ
ѵоѹת
ԹҧҴ ҡ鹷ӡطҹ觪ҵ
ͧ˹Ң˹ҹǻ "ҹҧ"
зҧҳ 17 ö¹仨ʹѴҧ (ö¹֧Ҵ)
ҡ鹵ͧѴԹҨԹҧԸա 2 ҧ͡
1. ҧ ҧǢͧǺҹԡѺ-
ҡҴҹҹҴ 繡Թҧº½
ѺѡͧǷҡ
2. ҧ ͺǺҹѧࡵº͡ҧҴ
Թ任ҳ 500 鹷ҧԹ鹺ѹ ǡ
㹪ǧҴѹ һҳ 20 ҷ Ҩҡ硹
ҡǷ ҹ оѹ͡Թٹ
ҧ鹷ҧ
Ҵ
ҧҡӡطҹ觪ҵ价ҧ˹ͻҳ 5
Ҵ·§ʧºҧʹ ǢͧҴ»ҳ
1 öҧ繷ѡúԡùѡͧ
Թҧ
ö¹
ѡͧöԹҧ价ӡطҹ觪ҵʹ
dzᴧ 鹷ҧѡ 2 ҧ
1.Թҧ͡ҡا
ҧǧ蹴ԹŢ 4 (ྪ) ҹѧѴྪú
֧ͻҳ ѧѴШǺբѹ dz¡ҳ
ǫ仵»ҡӻҳ ҳ 4
Ǩ֧Ǣ仵 þ. ա 31 ж֧ӡطҹ觪ҵ
2.Թҧ͡ҡا
ҧǧ蹴ԹŢ 4 (ྪ) ֧ѡ÷
286.5 ҹç ֧͡º ѧѴШǺբѹ
ҳ 6 ǫա 14 ж֧ӡطҹ觪ҵ
öûШӷҧ
öûѺҡ öԡ÷ʶҹբ
ѧͻҳ ѧѴШǺբѹ ҡ鹨öö¹Ѻҧԡèҡ
ҳ-ҧ, ҧ-, ҳ-ӡ, ҧ-ӡ
ʶҹԴ
طҹ觪ҵʹ
2 ҹᴧ .ᴧ .º .ШǺբѹ 77150 |
|
ШǺբѹ Թ Ѵ ѧѴШǺբѹ çШǺբѹ

ͺҧ Line |
Դ¹ (ԴӡǤѺ)
㹻-ҧ ٧ҹ ǹ
ӹѡҹ.0-2969 3664, 0-2949 5134-36
ID LINE : @oceansmiletour
س .082-3656241
ID Line : lekocean2
س .093-6468915
ID Line : oceansmile |
|
|
|
สามร้อยยอด ถ้ำไทร ทุ่งสามร้อยยอด ถ้ำพระยานคร เขาสามร้อยยอด
บริษัททัวร์ โอเชี่ยนสไมล์ทัวร์
 |
|
|
•
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ |
•
อุทยานแห่งชาตเขาสามร้อยยอด
ประจวบคีรีขันธ์ |
เขาสามร้อยยอด
เป็นชื่อที่มีตำนานเล่าว่า พื้นที่แถบนี้เคยเป็นทะเลมีหมู่เกาะน้อยใหญ่เรียงรายกัน
ครั้งหนึ่งเคยมีเรือสำเภาจีนแล่นผ่านมาประสบลมพายุรุนแรงจนเรือใกล้อับปาง
จึงแวะหลบภัยเข้ามาตามร่องน้ำด้านทิศตะวันตกของเกาะ แต่เนื่องจากไม่ชำนาญพื้นที่
เรือได้ชนกับหินโสโครกอับปางลง ผู้คนจมน้ำตายจำนวนมากที่เหลือรอดตายขึ้นมาอาศัยอยู่บนเกาะประมาณ
300 คน จึงได้ตั้งชื่อว่า “เกาะสามร้อยรอด” ต่อมาระดับน้ำทะเลได้ลดลง
เกาะกลายเป็นภูเขา ชาวบ้านเรียกคลาดเคลื่อนเป็น “เขาสามร้อยยอด”
บริเวณที่สันนิษฐานว่าเรือจมนั้นชาวบ้านเรียกว่า “อ่าวทะเลสาบ”
เคยมีผู้พบซากเสากระโดงเรือโบราณในบริเวณนี้ด้วย บางข้อสันนิษฐานว่า
เป็นเพราะมีต้นสามร้อยยอดขึ้นอยู่ หรือมียอดเขามากมายถึง 300
ยอด
ในปี พ.ศ. 2505 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ออกประกาศกฎกระทรวง ฉบับที่ 100 กำหนดพื้นที่ป่าเขาสามร้อยยอดพื้นที่ประมาณ
99.50 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นป่าสงวนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า
พุทธศักราช 2481 ก่อน ซึ่งเหตุผลของการประกาศพื้นที่ดังกล่าวเพราะมีพันธุ์ไม้ที่มีค่าขึ้นอย่างหนาแน่นมาก
เช่น ไม้จันทน์ มะค่า มะเกลือ แสมสาร และทิวทัศน์ที่สวยงามที่ควรสงวนไว้
ต่อมาพื้นที่ดังกล่าวได้ถูกประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่
28 มิถุนายน 2509 พื้นที่ 61.28 ตารางกิโลเมตร นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่
4 ของประเทศไทย และเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลแห่งแรก
พื้นที่ส่วนที่เป็นทุ่งสามร้อยยอด
เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำมีขนาด 69.22 ตารางกิโลเมตร และคณะรัฐมนตรีมีมติ
เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2513 ให้เป็นที่จัดสรรแก่ราษฎร แต่สภาพพื้นที่ที่เป็นดินเหนียว
เค็ม และหนึ่งในสามของพื้นที่มีน้ำท่วมขังตลอดปียากที่จะพัฒนาเพื่อทำการเกษตร
ประกอบกับงบประมาณเพื่อใช้ในการดำเนินการจัดสรรพื้นที่ไม่เพียงพอ
การดำเนินการจัดสรรจึงยกเลิกไป ปล่อยพื้นที่คงสภาพเป็นทุ่งแขมธรรมชาติ
เป็นที่อยู่ของนกไม่ต่ำกว่า 157 ชนิด กรมป่าไม้จึงขอผนวกพื้นที่ดังกล่าว
และเพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนแก่ราษฎร คณะกรรมการจำแนกประเภทที่ดินให้ผนวกพื้นที่เพียงครึ่งหนึ่งของทุ่งสามร้อยยอด
ซึ่งต่อมา พ.ศ. 2525 ได้มีการเปลี่ยนแปลงแนวเขตอุทยานแห่งชาติโดยผนวกพื้นที่ทุ่งสามร้อยยอดพื้นที่
36.8 ตารางกิโลเมตร เข้าเป็นอุทยานแห่งชาติทำให้พื้นที่อุทยานแห่งชาติรวมเป็น
98.08 ตารางกิโลเมตร
พื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด
เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ตอนล่างสุดของภาคกลาง หรือด้านเหนือสุดของภาคใต้ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทย
ในท้องที่ของกิ่งอำเภอสามร้อยยอด และอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ครอบคลุมเขตการปกครอง 2 อำเภอ คือ กิ่งอำเภอสามร้อยยอด และอำเภอกุยบุรี
ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด
มีสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาหินปูนยุคเพอร์เมียนซึ่งมีอายุประมาณ
280-230 ล้านปีมาแล้ว ที่มีความสูงชันริมฝั่งทะเลผสมกับที่ราบริมฝั่งทะเลที่เป็นหาดเลนและห้วงน้ำทะเลตื้น
รวมตลอดถึงเกาะหินปูนที่ตั้งเรียงรายใกล้ชายฝั่งทะเลซึ่งยาวจากเขากระโหลกทางทิศเหนือถึงเขาแร้งทางทิศใต้ประมาณ
30 กิโลเมตร ได้แก่ เกาะโครำ เกาะนมสาว เกาะระวาง เกาะระวิง
เกาะสัตกูด และเกาะขี้นก มีพื้นที่ราบที่มีน้ำขังตลอดปีอยู่ทางด้านตะวันตกของอุทยานแห่งชาติคือ
ทุ่งสามร้อยยอด ซึ่งในอดีตเคยเป็นทะเลหรืออ่าว ต่อมาถูกปิดกั้นด้วยตะกอนและสันทราย
ทะเลถอยร่นออกไป ได้รับอิทธิพลน้ำจืดจากแผ่นดิน มีการสะสมของตะกอนที่ราบลุ่ม
ค่อยๆ กลายเป็นทุ่งน้ำกร่อยและทุ่งน้ำจืดตามลำดับ น้ำจืดในทุ่งสามร้อยยอดส่วนหนึ่งมีแหล่งกำเนิดมาจากเทือกเขาตะนาวศรีไหลผ่านห้วยโพระดก
ห้วยขมิ้น ห้วยหนองคาง ห้วยไร่ตาพึง แล้วระบายลงสู่ทะเลตามคลองเขาแดง
อีกส่วนหนึ่งไหลจากเทือกเขาสามร้อยยอด ทุ่งสามร้อยยอดมีระดับน้ำลึกเฉลี่ย
3 เมตร
เนื่องจากสภาพทางธรณีของเขาสามร้อยยอดเป็นหินปูนที่มีความลาดชันสูง
ทำให้เกิดเป็นหน้าผาสูงชันและหุบเหวลึก มีความสูงของยอดเขาที่สูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติถึง
605 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ยอดเขาที่สำคัญได้แก่ ยอดเขาชโลงฟาง
เขากระโจม เขาใหญ่ เขาถ้ำประทุน เขาแดง เขาเทียน เขาหุบจันทร์
และเขาขั้นบันได ฯลฯ บริเวณนี้มีสภาพธรณีเป็นหินปูน มีหลายแห่งที่หินปูนถูกอิทธิพลของธรรมชาติกัดเซาะหรือผุกร่อนกลายเป็นถ้ำหรือปล่องหุบเหวขนาดใหญ่
ที่สำคัญได้แก่ ถ้ำแก้ว ถ้ำไทร ถ้ำพระยานคร เป็นต้น
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
เนื่องจากสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่
เป็นภูเขาและได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
ส่งผลให้สังคมพืชในเขตอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอดแตกต่างกัน
สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ สังคมพืชที่เกิดในพื้นที่ชุ่มน้ำ
และสังคมพืชป่าบก ดังนี้
1. สังคมพืชที่เกิดขึ้นในที่ลุ่มน้ำขัง
ประกอบด้วย (1) สังคมพืชที่พบในพรุบึงน้ำจืดบริเวณทุ่งสามร้อยยอด
ส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุกพวกกกชนิดต่างๆ แห้วทรงกระเทียม อ้อ
แขม หญ้าปล้อง หญ้าไซ บัวหลวง บัวสายชนิดต่างๆ ผักตบไทย บอน
ตาลปัตรฤาษี จอก แหน สาหร่ายข้าวเหนียว เป็นต้น (2) ป่าชายเลน
ซึ่งพบตามแนวชายคลองบางปู คลองเขาแดง และลำรางสาขา พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่
แสมทะเล โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ ตาตุ่มทะเล ตะบูนดำ โปรงแดง
ถั่วขาว ฝาดดอกแดง สำมะง่า จาก เถาถอบแถบ เป็นต้น บริเวณที่โล่งซึ่งเป็นดอนตะกาดซึ่งได้รับอิทธิพลความเค็มของน้ำทะเลท่วมถึงแต่ไม่ท่วมต่อเนื่องกันทุกปี
พบพืชล้มลุกพวก ชะคราม ผักเบี้ย หญ้าปราบน้ำเค็ม หญ้าขม เป็นต้น
2.สังคมพืชป่าบก ประกอบด้วย (1) ป่าชายหาด
พบตามชายหาดบริเวณที่น้ำไม่ท่วมจนถึงบริเวณเชิงเขา พื้นดินเป็นทราย
กรวด และโขดหิน พันธุ์ไม้สำคัญที่พบได้แก่ สนทะเล โพทะเล กระทิง
เม่า หูกวาง เกด มะนาวผี เตยทะเล ผักบุ้งทะเลเป็นต้น (2) ป่าเบญจพรรณ
ส่วนใหญ่ขึ้นบนเขาหินปูน พรรณไม้ที่ขึ้นหลายชนิดมักเป็นพรรณไม้ที่ขึ้นเฉพาะแห่ง
เช่น จันทน์ผา จันทน์ชะมด โมกเขา ทะลายเขา และแก้วผา เป็นต้น
ไม้ยืนต้นที่พบมักมีลำต้นแคระแกร็น เนื่องจากพื้นที่เป็นหินปูนมีเนื้อดินน้อย
ส่วนบริเวณที่มีการสะสมสารอินทรีย์มากและเนื้อดินหนาในบริเวณหุบเขาและเชิงเขา
พันธุ์ไม้ที่ขึ้นจะมีลำต้นสูงใหญ่ แต่มีอยู่เป็นหย่อมเล็กหย่อมน้อยกระจัดกระจาย
พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ กุ่มน้ำ มะเกลือ พลับดง มะค่าโมง โมกมัน
โมกขาว กระดูกไก่ และพลอง เป็นต้น
คำว่า “สามร้อยยอด” นอกจากใช้เป็นชื่ออุทยานแห่งชาติ
ชื่อภูเขา ยังใช้เป็นชื่อของพืชด้วย คือ สามร้อยยอด หรือกูดขน
แหยงแย้ รังไก่ เป็นพืชใกล้ชิดกับเฟินที่พบทั่วไปในประเทศไทย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางภาคใต้และภาคตะวันออก ลำต้นมี 2 ลักษณะ
คือ มีทั้งลำต้นที่ทอดนอนเลื้อยไปกับพื้นดินและลำต้นตั้งตรงซึ่งอาจสูงถึงครึ่งเมตร
แตกกิ่งก้านสาขาคล้ายสนฉัตร มีใบเล็กๆ ติดอยู่ อวัยวะขยายพันธุ์เกิดเป็นตุ่มห้อยที่ปลายต้น
เรียกว่า Cones สามร้อยยอดมักขึ้นตามดินทราย ที่ราบชายเขาที่ได้รับแสงแดดจัดจ้า
แต่ชุ่มชื้น ตั้งแต่พื้นที่ราบไปจนถึงระดับความสูงกว่า 1,000
เมตร
บริเวณอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอดมีความหลากหลายของสัตว์ป่า
โดยเฉพาะนกซึ่งมีมากถึง 316 ชนิด ประกอบด้วยนกที่อาศัยประจำถิ่นและที่ย้ายถิ่นมาจากที่อื่นตามฤดูกาล
และเป็นสถานที่เพียงไม่กี่แห่งของประเทศไทยที่นกกระสาแดง สร้างรังวางไข่
รวมทั้งมีเป็ดแดงอาศัยอยู่ตลอดปี เช่นเดียวกับนกอัญชันอกเทา
นกอัญชันคิ้วขาว และนกอีโก้ง
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่พบในอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอดมีน้อยมาก
ที่มีอยู่ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่หากินกลางคืนและสัตว์ที่ขุดรูอยู่ใต้ดินในทุ่ง
ได้แก่ เลียงผา เก้ง กระจงเล็ก หมูป่า ลิงลม ลิงแสม ค่างแว่นถิ่นใต้
อีเห็น พังพอนธรรมดา เม่น ชะมด ค้างคาว หนูพุกใหญ่ หนูท้องขาว
ค้างคาวมงกุฏมลายู และชนิดที่น่าสนใจที่พบในน่านน้ำชายฝั่งทะเลบริเวณนี้คือ
โลมาหัวบาตร สำหรับสัตว์เลื้อยคลานและสะเทินน้ำสะเทินบกที่พบได้แก่
เต่าเหลือง เต่าหับ เต่าดำ กิ้งก่าบินปีกส้ม กิ้งก่าหัวแดง
กิ้งก่าสวน จิ้งเหลนบ้าน เหี้ย งูเหลือม งูเห่า งูกะปะ งูสิงธรรมดา
งูเขียว คางคกบ้าน เขียดหลังปุ่ม กบหนอง กบน้ำเค็ม อึ่งขาคำ
อึ่งบ้าน เขียดบัว และเขียดจิก
จากการสำรวจและรวบรวมข้อมูล พบปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ
ไม่น้อยกว่า 45 ชนิด ได้แก่ ปลาช่อน ปลาดุกด้าน ปลานิล ปลาซิว
ปลาตะเพียนขาว ปลาไหล ปลาทู ปลาลัง ปลากระบอก ปลากระเบน ปลาตีน
กุ้งแชบ๊วย หมึกกล้วย ปูแป้น ปูม้า หอยโข่ง หอยขม หอยแมลงภู่
เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสัตว์ประเภทอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ผีเสื้อหางติ่งธรรมดา
ผีเสื้อเณรจิ๋ว แมลงปอ ยุงน้ำจืด ตั๊กแตนหนวดสั้น จิ้งหรีด
มวนแดง และแมงดา เป็นต้น
บ้านพัก-บริการ
ทางอุทยานฯมีบ้านพัก สถานที่กางเต้นท์
ร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยว
คลองเขาแดง
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 1.5 กิโลเมตร กิจกรรมที่นักท่องเที่ยวนิยมได้แก่
การล่องเรือ โดยเช่าเรือจากบ้านเขาแดง ลงเรือที่ท่าน้ำหน้าวัดเขาแดงล่องไปตามลำคลองประมาณ
3-4 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางไปกลับประมาณ 1 ชั่วโมง ในระหว่างล่องคลองชมวิวทิวทัศน์ป่าชายเลน
จะเห็นนกนานาชนิด เวลาที่เหมาะสมที่จะล่องเรือชมธรรมชาติอีก
เวลา 16.30–17.00 น. เพราะสามารถชมและถ่ายภาพพระอาทิตย์ตก
ถ้ำพระยานคร
เป็นถ้ำขนาดใหญ่อยู่ในบริเวณหาดแหลมศาลา มี 3 คูหา โดยสองคูหามีปล่องด้านบน
ส่วนด้านล่างในถ้ำเป็นป่า ต้นไม้ค่อนข้างสูงชะลูด ถ้ำพระยานครถูกค้นพบโดยพระยานคร
ผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช แต่ไม่ทราบนาม และในสมัยรัชการที่
5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงทราบว่าถ้ำนี้สวยงามมาก จึงมีพระราชประสงค์ใคร่จะเสด็จประพาส
จึงให้นายช่างประจำราชสำนักก่อสร้างพลับพลาแบบจตุรมุขขนาดย่อยตั้ง
ไว้บนเนินดินกลางถ้ำ พระองค์เสด็จประพาสเมื่อ 20 มิถุนายน
2433 และพระราชทานนามพลับพลานี้ว่า “พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์”
ถ้ำพระยานครนี้จะต้องเดินเท้าขึ้นไปจากหาดแหลมศาลาอีกประมาณ
430 เมตร
ถ้ำแก้ว
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ไปทางบ้านบางปู
ประมาณ 16 กิโลเมตร อยู่ในบริเวณหุบเขาจันทร์ เป็นถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยที่สวยงาม
ลักษณะเด่นของหินงอกหินย้อยที่ส่วนใหญ่ค่อนข้างใส และโปร่งแสง
การเดินชมถ้ำค่อนข้างลำบากเนื่องจากภายในถ้ำมืดมากและพื้นไม่เรียบเต็มไปด้วยหินใหญ่น้อยระเกะระกะ
จึงจำเป็นต้องใช้ตะเกียงเจ้าพายุหรือไฟฉาย และมีเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาตินำทางใช้เวลาเที่ยวชม
ภายในถ้ำประมาณ 2 ชั่วโมง
ถ้ำไทรอยู่บริเวณคุ้งโตนด
ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 9 กิโลเมตร การขึ้นชมถ้ำมีระยะทางไม่ไกล
สามารถนำรถยนต์ไปจอดไว้ที่เชิงเขาแล้วเดินเท้าขึ้นเขาไปอีก
280 เมตร ใช้เวลาประมาณ 30 นาที ภายในถ้ำค่อนข้างมืดต้องใช้ไฟฉายหรือตะเกียงซึ่งจะมีบริการในวันหยุดราชการ
หากเป็นวันธรรมดาสามารถติดต่อขอเช่าตะเกียงได้ที่บ้านคุ้งโตนด
ลักษณะภายในถ้ำพบหินงอกหินย้อยที่สวยงาม ระยะเวลาที่เข้าชมภายในถ้ำประมาณ1
ชั่วโมง
ทุ่งสามร้อยยอด
เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำประเภทหนึ่ง
มีพื้นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีน้ำขังหรือท่วมถึงตลอดทั้งปี
มีทั้งส่วนที่เป็นน้ำจืดและน้ำกร่อย เป็นแหล่งที่มีองค์ประกอบทางชีวภาพและกายภาพ
เป็นเอกลักษณ์ของระบบซึ่งมีความหลากหลายชนิดของพืช สัตว์ และธาตุอาหาร
ทุ่งสามร้อยยอดเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกนานาชนิด ทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพตามฤดูกาล
นับเป็นแหล่งดูนกที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศ
เขาแดง
ในบริเวณนี้จะมีจุดชมวิวบนยอดเขาแดงที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
157 เมตร จุดชมวิวนี้อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ไปตามถนนลาดยาง
400 เมตร แล้วเดินขึ้นเขาไปอีก 300 เมตร ใช้เวลาประมาณ 30
นาที เวลาที่เหมาะแก่การขึ้นชมวิว คือ ตอนเช้ามืดประมาณ 05.30
น. เพราะสามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นเหนือขอบทะเลบ้านเขาแดงและทัศนียภาพรอบๆ
ได้ดี ตลอดจนชมนก ลิงแสม และค่างแว่นที่ออกหาอาหารในตอนเช้าตรู่
หาดแหลมศาลา
เป็นหาดสน ที่มีทรายขาว ล้อมรอบด้วยภูเขาเป็นรูปตัวยู ด้านหน้าเป็นชายทะเล
มีเกาะสัตกูดบังคลื่นอยู่ด้านหน้า ทำให้เกิดบรรยากาศอันเงียบสงบเหมะสำหรับการพักผ่อน
มีบ้านพัก เต็นท์ ห้องน้ำ-ห้องสุขา เส้นทางศึกษาธรรมชาติและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ
ไว้บริการ มีร้านอาหารของภาคเอกชน ซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่าและพันธุ์พืชแล้ว
การเดินทางไปหาดแหลมศาลา หากเริ่มต้นที่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
ต้องมุ่งหน้าขึ้นเหนือไปหมู่บ้านชาวประมง "บ้านบางปู"
ระยะทางประมาณ 17 กิโลเมตร นำรถยนต์ไปจอดที่วัดบางปู (รถยนต์เข้าไม่ถึงหาด)
จากนั้นต้องตัดสินใจว่าจะเดินทางโดยวิธีการใดใน 2 ทางเลือกนี้
1. ทางเรือ มีเรือหางยาวของชาวบ้านให้บริการรับ-ส่ง
จากหาดบ้านบ้านปูไปหาดแหลมศาลา เป็นการเดินทางเลียบชายฝั่ง
เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่มีสัมภาระมาก
2. ทางเท้า ให้สอบถามชาวบ้านหรือสังเกตป้ายบอกทางไปหาดแหลมศาลา
เดินข้ามเขาไปประมาณ 500 เมตร เส้นทางเดินขั้นบันได มีราวกั้น
ในช่วงที่ลาดชัน ใช้เวลาประมาณ 20 นาที หรืออาจมากกว่าเล็กน้อย
หากชมวิวทะเล หมู่บ้านประมง และพันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ตามเทือกเขาหินปูน
ในระหว่างเส้นทาง
หาดสามพระยา
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปทางทิศเหนือประมาณ 5 กิโลเมตร
เป็นหาดทรายที่สวยงามสงบเงียบท่ามกลางดงสน ความยาวของหาดทรายประมาณ
1 กิโลเมตร สามารถกางเต็นท์พักแรมและมีอาหารบริการนักท่องเที่ยว
การเดินทาง
รถยนต์
นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด
ซึ่งอยู่บริเวณเขาแดง ตามเส้นทางหลัก 2 ทาง คือ
1.เดินทางออกจากกรุงเทพฯ มุ่งสู่ทิศใต้
ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (เพชรเกษม) ผ่านจังหวัดเพชรบุรี
จนถึงอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ บริเวณสี่แยกปราณบุรี
ให้เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสายปากน้ำปราณบุรี ประมาณ 4 กิโลเมตร
แล้วจึงเลี้ยวขวาไปตามถนน รพช. อีก 31 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
2.เดินทางออกจากกรุงเทพฯ มุ่งสู่ทิศใต้
ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (เพชรเกษม) จนถึงหลักกิโลเมตรที่
286.5 ใกล้บ้านสำโรง ก่อนถึงอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ประมาณ 6 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายไปอีก 14 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
รถโดยสารประจำทาง
มีรถโดยสารปรับอากาศ และรถธรรมดาให้บริการที่สถานีขนส่งสายใต้ใหม่
ไปยังอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากนั้นจะมีรถโดยสารหรือรถยนต์รับจ้างให้บริการจาก
ปราณบุรี-บางปู, บางปู-แหลมศาลา, ปราณบุรี-ที่ทำการฯ, บางปู-ที่ทำการฯ
สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด หมู่
2 บ้านเขาแดง ต.เขาแดง อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77150 |
|
ประจวบคีรีขันธ์ หัวหิน วัดห้วยมงคล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โรงแรมประจวบคีรีขันธ์
"
เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าวสับปะรด สวยสดหาดเขาถ้ำ งามล้ำน้ำใจ" |
•
ข้อมูลท่องเที่ยว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ทัวร์โปรโมชั่น

สอบถามทัวร์ทาง Line |
• ติดต่อโอเชี่ยนสไมล์ทัวร์ (เปิดทำการแล้วครับ)
• กรุ๊ปเหมาในประเทศ-ต่างประเทศ สัมนา ดูงาน เที่ยวส่วนตัว
• สำนักงานโทร.0-2969 3664, 0-2949 5134-39
• ID LINE : @oceansmiletour
• คุณเล็ก โทร.082-3656241
• ID Line : lekocean2
• คุณโจ้ โทร.093-6468915
• ID Line : oceansmile |
|
|
|
| |
|
|
|