ชาวไทดำ ชาวไทดำ หรือ ชาวลาวโซ่ง เป็นกลุ่มชาวไทกลุ่มหนึ่ง ที่มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในเขตสิบสองจุไทเดิม หรือบริเวณลุ่มแม่น้ำดำ และแม่น้ำแดงในเวียดนามเหนือ ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ดั้งเดิมของชาวไทยมี ชาวไทดำ ชาวไทแดง และชาวไทขาว ในสมัยที่ฝรั่งเศสเข้ามาปกครองเวียดนาม และลาว พวกเขาได้เรียกชนเผ่าที่อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำดำว่า ไทดำ ที่เรียกว่าไทดำ เพราะว่ากลุ่มชนเผ่าไทดังกล่าว นิยมสวมเสื้อผ้าสีดำอันเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งย้อมด้วยต้นหอมหรือต้นคราม ประวัติการอพยพของชาวไทดำสู่ประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2438 และ ปี พ.ศ. 2439 ได้เกิดการอพยพครั้งใหญ่ของชาวผู้ไทขึ้น สาเหตุก็มาจากศึกสงครามแย่งชิงอำนาจกัน ระหว่างบรรดาหัวหน้าของไทดำกลุ่มต่างๆ ในแคว้นสิบสองจุไท พวกเขาจึงได้อพยพเข้ามาในประเทศลาว และ ในภาคอีสานของประเทศไทย ในประเทศลาวนั้น ชาวไทดำส่วนมากได้ตั้งถิ่นฐานใน แขวงหลวงน้ำทา แขวงบ่อแก้ว แขวงอุดมชัย พงสาลี หัวพัน ซำเหนือ และแขวงต่างๆที่อยู่ทางภาคเหนือของประเทศลาว ส่วนในประเทศไทยนั้น ก็อพยพเข้ามาด้วยเช่นกัน โดยส่วนมากได้ตั้งถิ่นฐานในจังหวัดในภาคอีสานตอนบน เช่น อำเภอเรณูนคร อำเภอธาตุพนม และ อำเมืองเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ในช่วงระหว่าง ปี พ.ศ. 2496 จนถึงปี พ.ศ. 2497 ได้เกิดสงครามในเมืองเดียนเบียนฟู ซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองของแคว้นสิบสองจุไทเดิม ชาวผู้ไทจึงได้อพยพหลบหนีการเกณฑ์ทหารของฝรั่งเศส เข้ามาในประเทศลาวและไทยอีกครั้ง ชาวไทดำในประเทศไทย ในประเทศไทย คนไทยเรียกเรียกชาวไทดำว่า ลาวโซ่ง โซ่งนั้นน่าจะมาจากคำว่า ซ่วง หรือ ซ่ง ซึ่งเป็นภาษาไทดำ แปลว่ากางเกง เพราะว่าชาวไทดำเหล่านี้สวมกางเกงสีดำ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ครั้นพระองค์ทรงไปตีกรุงเวียงจันทน์ ในปี พ.ศ. 2322 พระองค์ทรงได้กวาดต้อนชาวไทดำที่อพยพมาจากสิบสองจุไท ส่งไปตั้งถิ่นฐานที่เมืองเพชรบุรี และต่อมาในปี พ.ศ. 2335 สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและในปี พ.ศ. 2381 สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ก็ทรงยกทัพไปตีเวียงจันทน์ และก็ได้กวาดต้อนชาวไทดำมาอีก ซึ่งในปัจจุบันตั้งถิ่นฐานกระจายกันอยู่ในพื้นที่หลายจังหวัด เช่น ราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี พิจิตร พิษณุโลก กาญจนบุรี ลพบุรี สระบุรี ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ปัจจุบันเรียกคนเหล่านี้ว่า ชาวไทยโซ่ง
Hotline 0-936468915, 0-823656241 ใบอนุญาตเลขที่ 11/05028