ประเทศอิหร่าน ประเทศที่สวยงามด้วยอายรยะธรรมเปอร์เซีย |
|
กรุงเตหะราน อิหร่าน |
กรุงเตหะราน อิหร่าน |
กรุงเตหะราน อิหร่าน |
เงินอิหร่าน Rial (IRR) |
สองผู้นำประเทศอิหร่าน |
หอคอย Milad Tower |
ทางขึ้นหอคอย Milad Tower |
กรุงเตหะราน อิหร่าน |
สองผู้นำสูงสุดแห่งอิหร่าน
โคไมนี กับ อาลี คาเมเนอี |
|
|
ประเทศอิหร่าน
ประเทศอิหร่าน ชื่อทางการ สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
ประเทศอิหร่าน เป็นประเทศในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้
ซึ่งช่วงก่อนปี พ.ศ. 2478 ชาวตะวันตกเรียกว่า เปอร์เซีย
อิหร่านมีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดต่อกับปากีสถาน (909
กิโลเมตร) และอัฟกานิสถาน (936 กิโลเมตร) ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับเติร์กเมนิสถาน
(1,000 กิโลเมตร) ทิศเหนือจรดทะเลแคสเปียน ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดต่อกับอาเซอร์ไบจาน
(500 กิโลเมตร) และอาร์เมเนีย (35 กิโลเมตร) ตุรกี (500
กิโลเมตร) และอิรัก (1,458 กิโลเมตร) ส่วนทิศใต้จรดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมาน
ในปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) การปฏิวัตินำโดยอายะตุลลอห์
โคไมนี (Ayatollah Khomeini) ทำให้มีการก่อตั้งเป็น สาธารณรัฐอิสลามโดยโค่นล้มราชวงศ์ปาห์เลวีที่ปกครองภายใต้สาธารณรัฐอิสลามเทวาธิปไตย
(theocratic Islamic republic) ทำให้ชื่อเต็มของประเทศนี้ในปัจจุบันคือ
สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน (Islamic Republic of Iran)
ประเทศอิหร่านจะอยู่ในแถบตะวันออกกลาง แต่คนอิหร่านส่วนมากไม่ใช่ชาวอาหรับ
(คนอิหร่านทางตอนใต้ของประเทศจำนวนหนึ่งมีเชื้อสายอาหรับ)
เนื่องจากมีภาษาและวัฒนธรรมทีแตกต่างกัน (อิหร่านใช้ภาษา
Farsi ซึ่งออกเสียงตามสำเนียงเจ้าของภาษาว่าฟอร์ซี) จึงไม่ควรจะเรียกชาวอิหร่านว่าเป็นอาหรับ
และคนอิหร่านเชื้อสายเปอร์เซียและอาเซอรี อาจจะไม่ค่อยพอใจนักและรีบออกตัวในทันทีว่าตนไม่ใช่อาหรับ
เศรษฐกิจ
สินค้าส่งออกได้แก่ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม พรม ผลไม้ ฯลฯ
สินค้านำเข้าส่วนใหญ่ คือ เครื่องจักร เหล็ก เหล็กกล้า อาหาร
ปศุสัตว์ และเคมีภัณฑ์
เมืองที่สำคัญทางธุรกิจ ได้แก่เมือง Mashhad, Esfahan,
Tabriz และ Shiraz
พลังงาน
อิหร่านมีปริมาณแก๊สธรรมชาติสำรองมากเป็นอันดับสองของโลก
และมีปริมาณน้ำมันสำรองมากเป็นอันดับสามของโลก เป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโอเปก
และมีศักยภาพจะกลายมาเป็นมหาอำนาจด้านพลังงานของโลก
วัฒนธรรมท้องถิ่น
หญิง - หากมีอายุ 12 ปีขึ้นไปเมื่อออกนอกบ้านต้องใช้ผ้าคลุมผม
ชาย - เมื่อออกนอกบ้านห้ามนุ่งกางเกงขาสั้นเด็ดขาด
อาหารอิหร่าน
อาหารยอดนิยมในอิหร่านคือแป้ง โรตี และขนมปัง มีหลายแบบให้เลือก
ทั้งแบบตะวันตกและแบบอิหร่าน โดยชาวอิหร่านเรียกแป้งโรตีและขนมปังทุกชนิดรวมๆ
ว่า "นาน แต่ขนมปังแต่ละชนิดมีชื่อเฉพาะของตัวเอง
อาหารหลักของอิหร่านคือ คาบับ (Khabab) คือ เนื้อวัว/เนื้อแกะ/เนื้อไก่
ที่นำมาปิ้งเป็นอาหารรับประทานกับข้าวสวยหรือแผ่นแป้งบาง
เครื่องดื่ม
การดื่มน้ำชาถือเป็นประเพณีที่ชาวอิหร่านยังคงรักษาไว้ถึงปัจจุบัน
ร้านอาหารสถานที่จัดเลี้ยงหรือแม้แต่งานเลี้ยงรับรองตามสถานทูต
ไม่มีการเสิร์ฟสุราใด ๆ
การขับรถ
ใช้พวงมาลัยซ้าย ขับทางขวาแบบในยุโรปส่วนใหญ่ แต่ต้องใช้ความระมัดระวังมากเป็นพิเศษเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากการขับรถ
การตรวจสภาพรถยังไม่มีการควบคุมที่ดีนัก
คนไทยในอิหร่าน
กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดคือคนงานไทยที่มาทำงานในโรงงานแยกก๊าซธรรมชาติที่เมืองอาซาลูเย่ห์
(Asaluyeh)ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของอิหร่าน รองลงมาคือนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยเมืองกุม
(Qom) ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเตหะราน
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ
กรุงเตหะราน (Royal Thai Embassy)
Baharestan Avenue, Esteghlal Alley, Park Amin-ed-Dowleh
No.4
เวลาทำการ วันอาทิตย์-วันพฤหัสบดี
ตั้งแต่เวลา 08.00 - 16.00 น.
โทรศัพท์ (9821) 753 14 33, 753 77 08 โทรสาร 753 20 22 |
กรุงเตหะราน
ประเทศอิหร่าน |
|
|
หอคอย
Milad Tower กรุงเตหะราน |
|
|
ทุ่งหญ้ายามหน้าหนาวประเทศอิหร่าน |
|
|
รู้จักประเทศอิหร่าน
ประเทศอิหร่าน มีศักยภาพทางการท่องเที่ยวสูงมาก อิหร่านมี
4 ฤดู อิหร่านเที่ยวได้ตลอดปี ไม่ซ้ำรสชาดกันและเป็น 4 ฤดูที่เปลี่ยนแปลงจริงๆ
ในทุก 3 เดือน พอเข้าฤดูใบไม้ร่วงขึ้นไปทางเหนือจะพบใบไม้เปลี่ยนสี
มีฤดูหนาวที่คุณเล่นสกีได้ เป็นสิ่งที่ทุกคนคิดไม่ถึง
ประเทศอิหร่าน มีถนนสวยที่สุดที่ได้รับยกย่องจากยูเนสโก
คือเส้นทางจากเมืองเตหะรานข้ามไปถึงทะเลสาบแคสเปียนจะพบขุนเขาน้อยใหญ่
ทิวทัศน์สวยงาม เรียกว่าถนนเส้นนี้ผ่านเมืองชาลูส (Chalus)
เมืองชาลูส เราจะเห็นสีเขียวหมดทั้งเมือง
เพราะที่นี่มีทะเลสาบ บรรยากาศเปลี่ยนไปอีกแบบ มีลำธาร มีขุนเขา
ป่าไม้สวยงาม และเป็นป่าไม้ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลเยอะมาก
พอเข้าฤดูใบไม้ร่วงใบไม้ก็เปลี่ยนสี แล้วพอปลายฤดูใบไม้ร่วง
หิมะเริ่มตกข้างบนเขา บรรยากาศคล้ายยุโรป
สำหรับคนที่รักเส้นทางประวัติศาสตร์ ประเทศอิหร่านเองก็ที่สถานที่ท่องเที่ยวมรดกโลกไม่น้อยหน้าประเทศอื่นในโลก
อาทิ เมืองชีราส เมืองอิสฟาฮาน ส่วนเมืองชีราสเมืองเล็กๆ
เคยเป็นเมืองที่ผลิตองุ่นมากมายในอดีต และมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า
2,500 ปี โดยยังพบภาพแกะสลักนูนต่ำบนผาหินที่เป็นหลุมฝังศพของกษัตริย์แต่ละองค์
เมืองอิสฟาฮาน เป็นเมืองที่มีมัสยิดสวยที่สุดในโลก
โดยเฉพาะจัตุรัสอิหม่าม เป็นจัตุรัสใหญ่ที่สุดอันดับสองรองจากเทียนอันเหมินของประเทศจีน
เดิมจัตุรัสอิหม่ามเป็นสนามโปโลเก่า ด้านหนึ่งเป็นวังสำหรับกษัตริย์ในยุคนั้น
ฝั่งตรงข้ามวังคือมัสยิดของกษัตริย์ อีกฝั่งเป็นมัสยิดของสามัญชน
อีกฝั่งเป็นย่านการค้า ปัจจุบันจัตุรัสอิหม่ามเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามทั้งทางด้านประวัติศาสตร์
วัฒนธรรมและมีเอกลักษณ์โดดเด่นและความสวยงาม
ประเทศอิหร่านเป็นแหล่งผลิตดอกกุหลาบที่กลั่นเป็นน้ำมันส่งให้ฝรั่งเศส
อาทิ แซฟฟรอน โรสวอเตอร์ รวมทั้งมีเครื่องเทศต่างๆ ซึ่งในช่วงฤดูใบไม้ผลิเราจะได้เห็นน้ำจากเกสรดอกไม้ต่างๆ
ทำออกมามากมาย และอิหร่านยังมีการส่งออกผลไม้เมืองหนาวแทบทุกชนิดไปยุโรป
อาทิ แอปเปิล เชอร์รี ลูกพีช มะกอก พลัม อินทผลัม ถั่วพิชตาชิโอ
ผู้หญิงอิหร่าน
ผู้หญิงอิหร่าน สถานะของผู้หญิงอิหร่าน ดีกว่าบรรดาผู้หญิงในประเทศแถบตะวันออกกลาง
ในด้านการศึกษา อิหร่านได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 10
ประเทศที่ก้าวหน้าที่สุดในการยกระดับการศึกษาของผู้หญิง
ลดช่องว่างของหญิงชายในด้านการศึกษา ในด้านแรงงาน อิหร่านมีผู้หญิงที่ทำงานเป็นข้าราชการถึงหนึ่งในสามของจำนวนข้าราชการทั้งหมด
มีผู้หญิงรับตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกต่างๆนับร้อย และในการเลือกตั้งท้องถิ่นในปี
1999 มีผู้หญิงถึง 5,000 คนลงสมัครรับเลือกตั้ง และในจำนวนนี้ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นผู้นำท้องถิ่นถึง
300 คน
ฮิจาบ - ศักดิ์ศรีภายใต้ผ้าคลุมหน้า
ผู้หญิงอิหร่านนั้นเมื่ออายุครบ 9 ขวบ จะถือว่าพ้นจากความเป็นเด็กไปแล้ว
ก็จะต้องคลุมผ้าคลุมผม หรือที่เรียกกันว่า "ฮิจาบ"
นั้นจะต้องคลุมลงมาจนจรดหน้าอก ต้องแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่เรียบร้อยไม่เปิดเผยให้เห็นส่วนสัดของร่างกาย
ผู้หญิงอิหร่านต้องสวมฮิจาบนั้น ยึดถือตามที่ระบุไว้ในคัมภีร์กุรอ่าน
ในปัจจุบันหลังผ่านการปฏิวัติอิสลามมาแล้วถึง 2 ทศวรรษ
กฏระเบียบในการแต่งกายของผู้หญิงเริ่มผ่อนคลายมากขึ้น ตามเมืองใหญ่ๆ
จะพบเห็นผู้หญิงอิหร่าน ผูกผ้าคลุมผมที่โชว์ให้เห็นครึ่งหัว
ใส่แว่นกันแดด ใส่กางเกงยีนส์ เสื้อคลุมสีอ่อน แต่งหน้าและทาเล็บ
อยู่มากมาย แต่ในขณะเดียวกันก็มีผู้หญิงอิหร่านอีกจำนวนมาก
ก็เลือกที่จะแต่งกายด้วยเสื้อคลุมแบบหลวมๆ หรือชาดอว์ตามแบบเดิม
ดูเหมือนจะสื่อสารว่าพวกเธอรู้สึกปลอดภัยภายใต้ผ้าคลุมหน้าและเสื้อคลุมชาดอว์
ห้องน้ำในประเทศอิหร่าน
ห้องน้ำในอิหร่านจะเป็นแบบนั่งยองแบบส้วมซึม (เป็นไปตามหลักศาสนาและไม่มีโถปัสสาวะชาย)
และไม่สะอาดนัก แต่ปัจจุบันก็มีห้องน้ำแบบโถชักโครกให้เห็นอยู่บ้าง
ส่วนในโรงแรมจะเป็นแบบโถซักโครกแบบทั่วไป
ข้อควรรู้ในการท่องเที่ยวประเทศอิหร่าน
อิหร่านยังมีระเบียบปฏิบัติที่เคร่งครัดต่อการควบคุมคนต่างชาติที่เข้าเมืองแม้กระทั่งนักการทูต
และมีข้อห้ามนำเข้าสินค้า/วัสดุต้องห้ามหลายอย่าง ซึ่งหากฝ่าฝืนจะได้รับโทษหนักโดยไม่มีข้อยกเว้น
สินค้าต้องห้าม สุุรา เบียร์ เครื่องดื่มใดๆที่มีแอลกอฮอล์
ยาหรือสารเสพติดทุกรูปแบบ รูปภาพ/สิ่งพิมพ์ที่ไม่เหมาะสม
รวมทั้งเนื้อหมูหรืออาหารที่มีเนื้อหมูเป็นส่วนประกอบ อาวุธ
กระสุนปืน วัตถุระเบิด
สังคมและวัฒนธรรมประเทศอิหร่าน
คนอิหร่านส่วนมาก โดยเฉพาะผู้สูงอายุ จะเคร่งครัดกับหลักศาสนาอิสลามในการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน
ผู้ที่จะเดินทางมาอิหร่านควรทราบหลักการสำคัญทางศาสนาอิสลามเพื่อการปฏิบัติตน
เช่นหลักการแบ่งแยกหญิงชาย ข้อห้ามทางต่างๆ ในศาสนาอิสลาม
เพราะในประเทศอิหร่าน ข้อห้ามหลักๆ ทางศาสนาถือเป็นกฎหมายบ้านเมืองที่มีบทลงโทษรุนแรง
โดยพื้นฐานชาวอิหร่านมีความเป็นมิตร ชอบพูดคุยทักทายและชอบขอถ่ายรูปกับคนต่างชาติ
(แม้จะมีไม่บ่อยนักแต่ท่านควรปฏิเสธในทุกกรณีเมื่อมีเพศตรงข้ามมาขอถ่ายรูปคู่และท่านก็ไม่ควรขอถ่ายรูปคู่กับเพศตรงข้าม
แม้ว่าจะเป็นเพื่อนเก่าและแม้จะอยู่ในอาคารหรือในที่พักเนื่องจากบางครั้งตำรวจอาจขอตรวจรูปในกล้องของท่านและส่งตัวท่านออกนอกประเทศได้
เนื่องจากเป็นการแสดงความใกล้ชิดกับผู้ที่ไม่ใช่คู่ครองซึ่งเป็นความผิดตามกฎหมายอิหร่าน)
เนื่องจากชาวต่างชาติในอิหร่านมิได้มีเป็นจำนวนมากนัก ฉะนั้น
เมื่อมีชาวต่างชาติเข้ามาเดินบนท้องถนนในอิหร่าน ชาวต่างชาติมักจะถูกจ้องมองโดยชาวอิหร่าน
คนอิหร่านจึงมีนิสัยประหยัด ไม่ชอบจับจ่ายใช้เงินสุรุ่ยสุร่าย
หากสิ่งของใดเสียก็จะซ่อมจนกว่าจะซ่อมไม่ได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องดี
เนื่องจากผ่านภาวะความยากลำบากและภาวะสงครามมามาก อย่างไรก็ตามชาวอิหร่านมีอุปนิสัยใจกว้างกับแขกและชอบรับแขก
โดยเฉพาะแขกต่างชาติ โดยหากเป็นแขกของตนแล้วชาวอิหร่านจะแย่งออกค่าอาหารและค่าน้ำ
ชาวอิหร่านชอบชวนแขกหรือเพื่อนไปที่บ้าน โดยถือเป็นมารยาทและเป็นหน้าเป็นตาเจ้าของบ้าน
ชาวอิหร่านจะจัดขนมและอาหารรับแขกอย่างเต็มที่และเต็มใจ
และจะไม่ประหยัดกับการรับแขกของตน
ชาวอิหร่านในปัจจุบันมีความสะอาดค่อนข้างดี แต่เนื่องจากการแต่งกายมิดชิดและการไม่ใช้เครื่องหอมตามหลักศาสนาอิสลาม
รวมทั้งอาหารที่มีเครื่องเทศและหัวหอมใหญ่ เมื่อรวมกับอากาศในหน้าร้อน
ทำให้คนต่างชาติโดยเฉพาะจากเอเชียตะวันออก รู้สึกว่าคนอิหร่านมีกลิ่นตัวแรง
ซึ่งความจริงแล้วบางครั้งเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจว่าไม่ใช่เรื่องของการไม่รักษาความสะอาด
แต่เป็นเรื่องของค่านิยมและวัฒนธรรมมากกว่า โดยความจริงแล้วชาวอิหร่านที่เคร่งศาสนาจะต้องชำระล้างและทำความสะอาดร่างกายก่อนทำพิธีละหมาด
(เท่ากับอย่างน้อยต้องทำความสะอาดร่างกายอย่างน้อยวันละห้าครั้ง)
และการรักษาความสะอาดร่างกายถือเป็นบัญญัติทางศาสนาด้วย
เทศกาลเนารูซหรือปีใหม่ประเทศอิหร่าน
เนารูซ มีความหมายตามภาษาฟาร์ซีว่า วันใหม่ เป็นเทศกาลที่เฉลิมฉลองกันนานถึงประมาณ
2 สัปดาห์ ในเดือนมีนาคมของทุกปี ซึ่งเป็นการคำนวณตามปีสุริยคติปฏิทิน
Jalali ที่คิดค้นโดย ฮากิม อุมัร คัยยัม ซึ่งเป็นนักกวีที่มีชื่อเสียง
ประเพณีเนารูซ ยังเป็นประเพณีโบราณ ที่ใช้มาตั้งแต่ราชวงศ์
Achaemenids ปกครองเปอร์เซีย ซึ่งในสมัยนั้นเปอร์เซียครอบคลุมพื้นที่ที่เรียกว่า
เมโสโปเตเมีย และตะวันออกไกลทั้งหมด
การฉลองนี้จะมีการตั้งโต๊ะที่วางข้าวของ 7 อย่าง ที่เป็นสัญลักษณ์ต่างๆ
ในการต้อนรับปีใหม่ซึ่งเรียกว่า Heft Seen สิ่งของ 7 อย่างที่ใช้ในการเฉลิมฉลองจะขึ้นต้นด้วยตัว
S ในภาษาฟารซี ได้แก่ กระเทียม (sir) เป็นสัญลักษณ์ของสุขภาพ
และการกินดีอยู่ดี, เหรียญ (sekkeh) แสดงถึงความมั่งคั่งร่ำรวยในปีที่จะมาถึง,
แอปเปิ้ล (sib) แทนความสุขและรอยยิ้ม, ช่อไฮยาซินธ์ (sonbol)
แทนความสำเร็จ และความก้าวหน้า, ข้าวสาลี หรือถั่ว (sabzeh)
หมายถึงสีเขียวของพืชผล และความสันติ, oleaster (senjed)
แทนความหวังที่จะได้รับมิตรภาพ, สุดท้ายคือ samanu ซึ่งเป็นขนมที่ทำจากข้าวสาลีอ่อน
ซึ่งหมายถึงความหวานชื่น
นอกจากนี้ยังมีการวางน้ำส้มสายชู (serkeh) ลูก sumac (somaq)
นาฬิกา (saat) และสิ่งของอย่างอื่นที่มีความหมายแทนสิริมงคลต่างๆ
วีซ่าประเทศอิหร่าน
EMBASSY OF IRAN : สถานฑูตอิหร่าน
ที่ตั้ง : 602 ถ.สุขุมวิท (ระหว่าง ซ.22 และ ซ.24) กรุงเทพ
10110
เบอร์โทร : 02- 259-0611-3 แฟ๊กซ์ : 02-259-9111
เวลายื่น : 10.00-12.00 น. เวลารับ : 14.00 16.00 น.
เอกสารที่ใช้ในการยื่นขอวีซ่าท่องเที่ยวประเทศอิหร่าน
หนังสือเดินทางที่มีอายุงานเหลือไม่น้อยกว่า 6 เดือน หลังจากเดินทางกลับ
รูปถ่ายสี (รูปปัจจุบัน หน้าตรง 2 ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 3
รูป)
สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประชาชน
แบบฟอร์ม วีซ่าอิหร่าน กรอกข้อมูลครบถ้วนและเซ็นต์ชื่อ
1 ชุด
เวลาทำสถานฑูตอิหร่าน จันทร์ - ศุกร์ เวลายื่น : 10.00-12.00
น. และเวลารับ : 14.00 16.00 น.(ใช้เวลา 2 วันทำการ) |
ทุ่งหญ้ายามหน้าหนาว |
ทุ่งหญ้ายามหน้าหนาว |
ทุ่งหญ้ายามหน้าหนาว |
ทุ่งหญ้ายามหน้าหนาว |
สถานที่ท่องเที่ยวประเทศอิหร่าน
|
พระราชวังโกเลสตาน
(Golestan Palace) กรุงเตหะราน |
|
|
พระราชวังโกเลสตาน |
พระราชวังโกเลสตาน |
พระราชวังโกเลสตาน |
พระราชวังโกเลสตาน |
พระราชวังโกเลสตาน |
พระราชวังโกเลสตาน |
พระราชวังโกเลสตาน |
พระราชวังโกเลสตาน |
พระราชวังเนียวาราน
(Niavaran Palace) กรุงเตหะราน |
|
|
พระราชวังเนียวาราน |
พระราชวังเนียวาราน |
พระราชวังเนียวาราน เตหะราน |
พระราชวังเนียวาราน |
พระราชวังเนียวาราน |
พระราชวังเนียวาราน |
พระราชวังเนียวาราน |
สวนในพระราชวังเนียวาราน |
พิพิธภัณฑ์อิหร่าน
(National Museum) กรุงเตหะราน |
|
|
พิพิธภัณฑ์อิหร่าน |
พิพิธภัณฑ์อิหร่าน |
พิพิธภัณฑ์อิหร่าน |
พิพิธภัณฑ์อิหร่าน |
พิพิธภัณฑ์อิหร่าน |
พิพิธภัณฑ์อิหร่าน |
พิพิธภัณฑ์อิหร่าน |
พิพิธภัณฑ์อิหร่าน |
พระราชวังเปอร์ซีโปลิส
(Persepolis Palace) เมืองชีราซ |
|
|
พระราชวังเปอร์ซีโปลิส |
พระราชวังเปอร์ซีโปลิส |
พระราชวังเปอร์ซีโปลิส |
พระราชวังเปอร์ซีโปลิส |
พระราชวังเปอร์ซีโปลิส |
พระราชวังเปอร์ซีโปลิส |
พระราชวังเปอร์ซีโปลิส |
พระราชวังเปอร์ซีโปลิส |
สุเหร่าสีชมพู
(Pink Mosque) เมืองชีราซ |
|
|
สุเหร่าสีชมพู เมืองชีราซ |
สุเหร่าสีชมพู เมืองชีราซ |
สุเหร่าสีชมพู เมืองชีราซ |
สุเหร่าสีชมพู เมืองชีราซ |
สุเหร่าสีชมพู เมืองชีราซ |
สุเหร่าสีชมพู เมืองชีราซ |
สุเหร่าสีชมพู เมืองชีราซ |
สุเหร่าสีชมพู เมืองชีราซ |
มัสยิดอิหม่าม (Imam Mosque) ที่จัตุรัสอิหม่าม
เมืองอิสฟาฮาน |
|
|
มัสยิดชีคล๊อฟฟลูเลาะห์
(Sheikh Lotfollah Mosque) ที่จัตุรัสอิหม่าม เมืองอิสฟาฮาน |
|
|
มัสยิดอิหม่าม เมืองอิสฟาฮาน |
มัสยิดอิหม่าม เมืองอิสฟาฮาน |
มัสยิดอิหม่าม เมืองอิสฟาฮาน |
มัสยิดอิหม่าม เมืองอิสฟาฮาน |
มัสยิดชีคล๊อฟฟลูเลาะห์ |
มัสยิดชีคล๊อฟฟลูเลาะห์ |
มัสยิดชีคล๊อฟฟลูเลาะห์ |
จัตุรัสอิหม่าม เมืองอิสฟาฮาน |
พระราชวังอาลีคาปู
(Aliqapu Palace) เมืองอิสฟาฮาน |
|
|
พระราชวังอาลีคาปู |
พระราชวังอาลีคาปู |
พระราชวังอาลีคาปู |
พระราชวังอาลีคาปู |
พระราชวังอาลีคาปู |
พระราชวังอาลีคาปู |
พระราชวังอาลีคาปู |
พระราชวังอาลีคาปู |
หมู่บ้านอะบียาเน่ห์
หมู่บ้านสีชมพู อิหร่าน |
|
|
หมู่บ้านอะบียาเน่ห์ |
หมู่บ้านอะบียาเน่ห์ อิหร่าน |
หมู่บ้านอะบียาเน่ห์ อิหร่าน |
หมู่บ้านอะบียาเน่ห์ อิหร่าน |
หมู่บ้านอะบียาเน่ห์ อิหร่าน |
หมู่บ้านอะบียาเน่ห์ อิหร่าน |
หมู่บ้านอะบียาเน่ห์ อิหร่าน |
หมู่บ้านอะบียาเน่ห์ อิหร่าน |
คฤหาสน์
โบรูเจอร์ดี้ เมืองคาชาน |
|
|
คฤหาส์น เมืองคาชาน |
คฤหาส์น เมืองคาชาน |
คฤหาส์น เมืองคาชาน |
คฤหาส์น เมืองคาชาน |
|