ประวัติความเป็นมาอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี
อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณีเป็นป่าดงดิบและเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า
มีชื่อว่า ธารอโศก ในปี พ.ศ.2496
พลโทบัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ได้แวะมาพักผ่อนที่ธารอโศก
ชื่นชมในธรรมและมีความเห็นว่าชื่อเดิมไม่เหมาะสม จึงได้เปลี่ยนเป็น
ธารโบกขรณี ปีพ.ศ.2498 ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ในสมัยนั้น
ได้เสนอเรื่องจัดตั้งธารโบกขรณี เป็นสวนรุกขชาติให้กรมป่าไม่ทราบ
ซึ่งกรมป่าไม้ได้รับหลักการและเข้าดำเนินการ ปี พ.ศ.2528
สำนักงานป่าไม้จังหวัดกระบี่ ได้เสนอเรื่องขอจัดตั้ง ธารโบกขรณี
และพื้นที่บริเวณใกล้เคียงเป็นอุทยานแห่งชาติ สังกัดกองอุทยานแห่งชาติ
และโอนมาอยู่ในสังกัดส่วนอุทยานแห่งชาติทางทะเล พ.ศ.2538
ปี
พ.ศ.2541 อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติในราชกิจจานุเบกษา
เล่มที่ 115 ตอนที่ 67 ก ลงวันที่ 30 กันยายน 2541 เป็นเนื้อที่
104 ตารางกิโลเมตร(65,000 ไร่) ครอบคลุมพื้นที่ทั้งทางบกและทางทะเล
ทางบกเนื้อที่ 39.70 ตารางกิโลเมตร (24,812.50 ไร่)ทางทะเลเนื้อที่
64.30 ตารางกิโลเมตร(40,187.50 ไร่) อยู่ในเขตการปกครองท้องที่
ต.อ่าวลึกใต้ ต.อ่าวลึกเหนือ ต.อ่าวลึกน้อย อ.อ่าวลึก ต.เขาทอง
อ.เมือง จ.กระบี่
ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี
มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาที่ทอดตัวไปทางแนว เหนือ-ใต้
สลับกันไปแบบลูกคลื่น ที่สลับซับซ้อนและมีความลาดชันที่แตกต่างกันมาก
พื้นที่ราบเรียบมีน้อย ส่วนมากจะพบบริเวณไหล่เขาและหุบเขา
ส่วนภูเขาหินปูนจะปกคลุมไปด้วยป่าไม้ ป่าดงดิบนานาพันธุ์
นอกนั้นจะเป็นป่าชายเลน ธารน้ำตก ทะเล และหาดทราย นอกจากนี้ยังมีเกาะภูเขาหินปูน
เกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวน 27 เกาะ
ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศ
เป็นแบบมรสุมในเขตร้อน มี 2 ฤดู คือฤดูฝนและฤดูร้อน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า
ฝนแปดแดดสี่ หมายถึงฤดูฝน 8 เดือน ฤดูร้อน 4 เดือน
ฤดูฝน
เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนถึงเดือนธันวาคมของทุกปี เดือนกันยายนจะเป็นเดือนที่มีปริมาณฝนตกมากที่สุดในรอบปี
เดือนพฤศจิกายนเป็นเดือนที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในรอบปีประมาณ
26.4 องศาเซลเซียส
ฤดูร้อน
เริ่มจากกลางเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายนของทุกปี เดือนกุมภาพันธ์จะเป็นเดือนที่มีปริมาณฝนตกน้อยที่สุดของปีอากาศช่วงนี้จะร้อน
เหมาะแก่การท่องเที่ยว เดือนเมษายนเป็นเดือนที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดประมาณ
29 องศาเซลเซียส
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
สังคมพืชในเขตอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี
มีความหลากหลายชวนให้ศึกษาหาความรู้ ซึ่งจำแนกได้ดังนี้
ป่าดงดิบ
ขึ้นอยู่บริเวณเขาช่องลม เขาตากรดและพื้นราบ พันธุ์ไม้เด่นที่พบได้แก่
มะม่วงป่า ตะเคียน เคียม ยาง โสกน้ำ ทุ้งฟ้า ฯลฯ
ป่าพรุ
ขึ้นอยู่บริเวณเขาช่องลมตอนใต้ มีเนื้อที่ไม่มากนัก พันธุ์ไม้เด่นที่พบได้แก่
หว้าน้ำ เตียว เตย
ป่าชายเลน
ขึ้นอยู่บริเวณเขาถ้ำลอดใต้ อ่าวน้ำ เกาะกาโรส เกาะห้อง
พันธุ์ไม้เด่นที่พบได้แก่ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก ตะบูนดำ
ตะบูนขาว ลำพูน ลำแพน ถั่วขาว ถั่วดำ พังกาหัวสุม แสม
ป่าชายหาด
ขึ้นอยู่บริเวณเกาะห้อง พันธุ์ไม้เด่นที่พบ ได้แก่ โพธิ์ทะเล
เตยทะเล ปอทะเล ทองหลางทะเล รักทะเล
สังคมสัตว์ที่พบเห็นในเขตพื้นอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี
เนื่องจากสภาพพื้นที่ในปัจจุบัน ไม่เป็นพื้นที่ป่าขนาดใหญ่ติดต่อกันทำให้สัตว์ป่าขนาดใหญ่หลงเหลืออยู่ไม่มากนัก
แต่ก็ยังมีสัตว์ขนาดเล็ก เช่น หมูป่า บ่าง กระจง ลิง ค่างตะกวด
กระรอก นกเอี้ยงถ้ำ นกกก นกเด้าลมหลังเทา
สำหรับในท้องทะเลมีมีสัตว์น้ำที่สำคัญเป็นจำนวนมาก
ทั้งพวก หอย ปู กุ้ง ปลา เช่น ปลาการัง ปลากระพงแดง ปลาผีเสื้อ
ปลานกแก้ว ปลาสลิดหิน ฯลฯ นอกจากนี้ยังมี ปลิงทะเล แมงดาทะเล
ดอกไม้ทะเล ฟองน้ำ ปะการังอ่อน ปะการังแข็ง ดาวขนนก
สัตว์ต่างๆ
ที่พบในบริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
ได้แก่ หมูป่า เสือปลา เลียงผา ชะนี ลิง ค่าง ชะมด เม่น
ฯลฯ
สัตว์ปีก
ได้แก่ ไก่ป่า นกกาเหว่า นกเขาใหญ่ นกกวัก นกยาง เหยี่ยวแดง
นกขมิ้น เป็นต้น
สัตว์เลื้อยคลาน
ได้แก่ กิ้งก่าตะกวด งูจงอาง งูเห่า งูเหลือม งูกะปะ งูสายพาน
เป็นต้น
สัตว์น้ำจืด
ได้แก่ ปลาเสือสุมาตรา ปลาเสือข้างลาย ปลาหมอไทย ปลาแก้มช้ำ
เป็นต้น
สัตว์ทะเลต่างๆ
ได้แก่ ปลิงทะเล ปะการัง กัลปังหา แมงดาทะเลเป็นต้น
สถานที่ท่องเที่ยว
ธารโบกขรณี
ได้รับการกล่าวขานว่า เป็นป่าใหญ่ใจกลางชุมชนมีธารน้ำไหลอดถ้ำ
เรียกว่า ถ้ำน้ำลอด บริเวณหน้าถ้ำเป็นสระน้ำธรรมชาติ สามารถลงเล่นน้ำได้
เรียกว่า สระธารโบกขรณี น้ำจากสระธารโบกขรณีไหลเซาะตามโขดหินและรากไม้เป็นน้ำตกชั้นเล็กชั้นน้อย
บรรยากาศร่มรื่น เหมาะแก่การพักผ่อน
นอกจากนี้ยังมีรอยพระพุทธบาทจำลอง
และศาลโต๊ะช่องยวน เป็นที่เคารพของนักท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่
การเดินทาง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 500 เมตร
ถ้ำลอด
มีลักษณะเป็นภูเขาคร่อมคลอง มีโพรงถ้ำเป็นอุโมงค์เรือสามารถแล่นผ่านไปมาได้
ในโพรงถ้ำมีหินงอกหินย้อยสวยงาม นอกถ้ำ มีพันธุ์ไม้และสัตว์ป่าในป่าชายเลนชวนให้ศึกษา
ถ้ำผีหัวโต
(ถ้ำหัวกะโหลก) เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ มีช่องทะลุแสงสว่างสามารถส่องถึงภายในถ้ำ
นอกจากจะมีหินงอกหินย้อย รูปร่างแปลกตา ยังมีภาพเขียนสีโบราณก่อนประวัติศาสตร์
2,000-3,000 ปี
การเดินทางถ้ำลอด
ถ้ำผีหัวโต ใช้เส้นทางเดียวกันจากที่ทำการอุทยานฯ เลี้ยวซ้ายไปตามถนนหมายเลข
4039 ประมาณ 4 กม. เลี้ยวขวาไปตามถนน รพช. 2 กม.เลี้ยวซ้ายประมาณ
500 เมตร ถึงท่าเทียบเรือบ่อท่อนั่งเรือไปประมาณ 15 นาที
ถ้ำสระยวนทอง
มีสระน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่อยู่บริเวณปากถ้ำ เป็นถ้ำน้ำผุดของธารน้ำใต้ดินภายในถ้ำมีแสงสลัวๆ
มีหินงอกหินย้อย รูปทรงแปลกตา
การเดินทางไปถ้ำสระยวนทอง
จากที่ทำการอุทยานฯเลี้ยวขวาไปตามถนนทางหลวงหมายเลข 4039
ประมาณ 1.5 กม.เลี้ยวขวาต่อด้วยถนนหมายเลข 4 ประมาณ 4 กม.
เลี้ยวขวาประมาณ 700 เมตร
หมู่เกาะเหลาบิเละ
(หมู่เกาะห้อง) ประกอบด้วย เกาะเล็ก เกาะน้อย จำนวน 12 เกาะ
มีเกาะห้องเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด
มีจุดเด่นอยู่ที่อ่าวบิเละ อ่าวห้อง
อ่าวบิเละ
เป็นหาดทรายขาวละเอียด แนวหาดโค้งแบ่งเป็นสองช่วง คล้ายปีกนกคั่นด้วยก้อนหินใหญ่
น้ำทะเลใสจนมองเห็นปะการังน้ำตื้น เหมาะสำหรับเล่นน้ำชมปะการัง
อ่าวห้อง
อีกด่านหนึ่งของเกาะห้อง มีลักษณะเป็นสระธรรมชาติ ล้อมด้วยเขาหินสูงชันเกือบรอบด้าน
ช่วงน้ำขึ้นสามารถนำเรือเข้าไปชมความงามของธรรมชาติด้านในได้
น้ำใสสะอาดสามารถลงเล่นน้ำได้
เกาะเหลากา
เกาะเหลาบุโล๊ะ (เกาะผักเบี้ย) เกาะกามิด เกาะฮันตู
ฯลฯ ก็มีความงดงามตามธรรมชาติหลากหลายรูปแบบ
การเดินทางไปหมู่เกาะเหลาบิเละ
จากที่ทำการอุทยานฯเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 4039 ประมาณ
1.5 กม.เลี้ยวขวาต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 4 ประมาณ 24 กม.เลี้ยวขวาไปตามถนนบ้านทุ่งอีกประมาณ
10 กม. ถึงท่าเทียบเรือท่าเลน นั่งเรือต่อไปประมาณ 45 นาที
ถึงเกาะ (บริเวณท่าเทียบเรืออุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา
หมู่เกาะพีพี ท่านก็สามารถเช่าเรือไปหมู่เกาะหลาบิเละได้)
แหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้เคียงกับอุทยานแห่งชาติ
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
ระยะทางประมาณ 55 กิโลเมตร
อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา
ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร
อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี
ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
ระยะทางประมาณ 120 กิโลเมตร
วัดราษฎร์อุปถัมภ์
ตำบลบางเหรียง อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา
วัดถ้ำเสือ
อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ สระมรกต ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางครามอำเภอคลองท่อม
จังหวัดกระบี่
ถ้ำโต๊ะหลวง
อยู่ในเขตบ้านนบ ตำบลคลองหิน อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
ถ้ำเสือน้อย
เป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ ถ้ำเสือน้อย อยู่ห่างจากถ้ำหัวกะโหลกที่บ้านบ่อท่อ
ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร
ถ้ำเสือนอกหรือถ้ำเทพนิมิตร
เป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์เทพนิมิตร
ถ้ำเพชร
อยู่ห่างจากสี่แยกอ่าวลึกเหนือประมาณ 3 กิโลเมตร
การเดินทาง
รถยนต์
รถยนต์ส่วนบุคคล สามารถมาตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข
4 (ถนนเพชรเกษม) ไปอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ถึงสี่แยกอ่าวลึก
แล้วเข้าสู่ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4039 เป็นระยะทาง 2 กิโลเมตร
ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ รวมระยะทางจากตัวเมืองกระบี่ประมาณ
48 กิโลเมตร หรืออาจใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4035 สุดเส้นทางแล้ว
ต่อเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4039 อีก 2 กิโลเมตร
เครื่องบิน
การเดินทางโดยเครื่องบิน เที่ยวบินกรุงเทพฯกระบี่
จากท่าอากาศยานดอนเมือง สู่ท่าอากาศยานกระบี่ แล้วเดินทางต่อโดยรถยนต์หรือรถโดยสารประจำทางถึงสถานีขนส่งจังหวัดกระบี่
ไปยังอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี ซึ่งมีรถประจำทางหลายสายให้นักท่องเที่ยวเลือกใช้บริการ
เช่น รถโดยสารธรรมดา, รถตู้ประจำทางปรับอากาศ จากสี่แยกอ่าวลึกไปอุทยานแห่งชาติ
ระยะทาง 2 กิโลเมตร ค่าโดยสารรถ 2 แถว หรือรถจักรยานยนต์รับจ้าง
ราคา 10 บาท
รถโดยสารประจำทาง
เส้นทาง กรุงเทพ-กระบี่ ระยะทาง 814 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ
10 ชั่วโมง
เที่ยวอย่างไรไม่ทำลายธรรมชาติ
เที่ยวให้สนุก ปลอดภัยและถูกวิธี
1.ก่อนอื่นควรเข้าศูนย์บริการนักท่องเที่ยวหรือที่ทำการอุทยานแห่งชาติเป็นลำดับแรกเมื่อไปถึง
เพื่อขอทราบรายละเอียดและข้อแนะนำต่างๆจากเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ
2.ช่วยกันอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว
โดยช่วยกันรักษา ไม่หัก/เคาะ/เก็บหา/ทำลาย โบราณสถาน ปะการัง
เปลือกหอย หินงอก หินย้อย พรรณไม้และสัตว์ป่า ควรเก็บภาพถ่ายและความทรงจำที่ดีเป็นของที่ระลึก
3.ท่องเที่ยวอย่างมีจิตสำนึก
ไม่ส่งเสียงดังจนเป็นที่รบกวนแก่บุคคลอื่นและสัตว์ป่า ช่วยดูแลความสะอาด
ทิ้งขยะในที่รองรับ
4.ใช้เส้นทางหรือพื้นที่ที่ทางอุทยานแห่งชาติจัดไว้เพื่อการนั้นๆเท่านั้น
และโปรดเชื่อฟังคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ
สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี 2/2
ม.2 ต.อ่าวลึก จ.กระบี่ 81110 โทร.(075) 681071, 682058
|