ปราสาทพระโค
ปีที่สร้าง : สร้างในปีพุทธศตวรรษที่
15
รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าอินทรวรมันที่
1
ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบพระโค
ศาสนา : ศาสนาฮินดู ไศวนิกาย
ปราสาทพระโค สร้างด้วยอิฐทั้ง
6 หลัง แบ่งเป็น 2 แถวแถวละ 3 หลัง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน
แม้ตัวปราสาทจะเป็นอิฐแต่กรอบประตูและกรอบหน้าต่างสร้างด้วยหินทราย
ปรางค์ประธานอยู่ตรงกลางของแถวหน้า มีจารึกภาษาขอมโบราณที่กล่าวถึงประวัติการสร้างปราสาทแห่งนี้ว่า
ส่วนพื้นที่รองรับน้ำหนักของปราสาททั้ง 6 หลัง ได้แก่ หินทราย
ซึ่งมีลักษณะและชนิดของหินเหมือนกับที่นำมาทำประติมากรรมลอยตัวของโคนนทิ
พระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 มีบันทึกไว้ว่า ปราสาทกลุ่มนี้มีปราสาท
6 กลังก่อด้วยอิฐบนฐานเดียวกัน ปราสาทองค์กลาง (ด้านหน้า)
สร้างถวายแด่พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ผู้เป็นอัยยิกา (ปู่)
ปราสาทองค์กลาง (ด้านหลัง) สร้างถวายแด่พระมเหสีของพระเจ้าชัยวรมันที่
2 มีพระนามว่า ธรนินทรเทวี ปราสาทองค์ซ้าย (ด้านหน้า) สร้างถวายพระราชบิดาของพระองค์คือปิทวีณทรวรมัน
ปราสาทองค์ซ้าย (ด้านหลัง) สร้างถวายพระราชมารดา ส่วนปราสาททางขวามืออีก
2 หลังสันนิฐานว่าคงจะสร้างให้ญาติเช่นกั น เมื่อสร้างปราสาทนี้เสร็จแล้ว
ได้กล่าวถึงปราสาทนี้ว่า สร้างอุทิศถวายแด่พระปรเมธวระ หรือพระเจ้าสูงสุดอีกพระนามของพระศิวะนั่นเอง
ทับหลัง บริเวณผังปราสาทมีลายปูนปั้นประกอบด้วยการสลักทับหลังศิลาทรายแบบนูนสูง
ทับหลังสมัยพระโคนั้น นักโบราณคดีนิยมยกย่องว่าเป็นทับหลังที่สวยงาม
เหนือกว่าสมัยใดๆ สมัยนี้เริ่มมีศิลปะชวาเข้ามาเกี่ยวข้องเช่น
ทับหลังชิ้นหนึ่งภาพสลักหน้ากาลหรือเกียรติมุข (ลักษณะลายหน้าสัตว์ผสมคล้ายหน้ายักษ์บนหน้าสิงห์
มีตากกลมโปนแต่ไม่มีริมฝีปากล่าง) คาบท่อนพวงมาลัย และบนท่อนพวงมาลัยจะมีเทวดาขี่ม้าเรียงกันเป็นแถวท่าทางดูงามลึกซึ้ง
รูปเทพารักษ์หรือทวารบาล
ที่ผนังปราสาทพระโคทั้งสี่ด้านไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชายมักยืนอยู่ในซุ้มเรือนแก้วผู้ชายใส่เครื่องศิราภรณ์ประดับศีรษะ
มือขวาถือหอก มือซ้ายท้าวสะเอวนุ่งผ้าจีบหน้า คาดเข็มขัดสวยงาม
โดยเฉพาะมือที่ถือหอกกำไม้สู้แน่นนัก ทำให้ดูนุ่มนวลเหมือนนาฏลักษณ์
ประติมากรรมลอยตัวรูปโคนนทิ ที่เรียกว่าปราสาทพระโค
เชื่อว่าเป็นเพราะมีรูปโคนนทิ 3 รูป ตั้งอยู่ด้านหน้าของปราสาท
ปราสาทบากอง
ปีที่สร้าง : สร้างในต้นปีพุทธศตวรรษที่
15 (พ.ศ. 1424)
รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าอินทรวรมันที่
1
ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบบากอง
ศาสนา : ศาสนาฮินดู ไศวนิกาย
ปราสาทบากอง สร้างหลังปราสาทพระโคประมาณ
2-3 ปี เป็นปราสาทหลวงในรัชสมัยของพระเจ้าอินทรวรมันที่
1 ณ เมืองหริหราลัย จนถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ตอนต้นพุทธศตวรรษที่
15 ปราสาทบากองเป็นสัญลักษณ์แห่งแรกในการสร้างปราสาทที่เป็นปิรามิด
ตัวปราสาทมีทั้งหมด 5 ชั้น แต่ละชั้นถูกสร้างขึ้นจากหินทราย
ยกเว้นเฉพาะปรางค์ประธานที่อยู่ชั้นบนสุดที่ยังสร้างขึ้นจากอิฐสันนิษฐานว่าพังไปหมดแล้ว
ต่อมาได้ซ่อมแซมในสมัยบาปวนหรือนครวัดโดยกษัตริย์ยุคหลังๆ
สังเกตได้จากศิลปะไม่เหมือนกับฐานปราสาท การสร้างลักษณะนี้เป็นการจำลองเขาพระสุเมรุ
ซึ่งเป็นที่ประทับของพระศิวะ
โคปุระทางทิศตะวันออก-ตะวันตก
มีขนาดใหญ่กว่าทิศเหนือ-ใต้ รูปทรงของปราสาทบากองมีลักษณะคล้ายปิรามิด
บนชันที่ 1 ประกอบด้วยวิหารขนาดเล็กอยู่ที่มุมของทิศทั้งแปด
แต่ละชั้นของปิรามิดจะมีบันไดขึ้นความกว้างยาวของฐานเป็นลักษณะสี่เหลี่ยมจตุรัส
โดยรอบของฐานแต่ละชั้นมีประติมากรรมลอยตัวรูปนาคและครุฑ
ประติมากรรมลอยตัวรูปนาค
ทางเข้าปราสาททั้งสองข้างมีประติมากรรมลอยตัวรูปนาคขนาดใหญ่
มีความยาวประมาณ 60 เมตร
ภาพสลักนางอัปสร ด้านข้างของบันไดขึ้นสู้ปรางค์ประธานของแต่ละชั้นมีภาพสลักนางอัปสร
ซึ่งมีขนาดสูงถึง 1.5 เมตร ชั้นที่ 2 นี้ยังมีภาพสลักของยักษ์
สันนิษฐานว่าเป็นภาพในเรื่องรามเกียรติ์ สังเกตดูยักษ์มีการแต่งตัวและประดับศิราภรณ์ดูสวยงาม
ภาพสลักนี้แสดงถึงสัดส่วนและกล้ามเนื้อออกมาอย่างชัดเจน
เป็นภาพสลักเดียวที่ยังหลงเหลือมาถึงปัจจุบัน
ภาพสลักเรื่องรามเกียรติ์ หน้าบันและทับหลังของปรางค์ประธานมีภาพสลักจากเรื่องรามเกียรติ์
โดยมีภาพที่เด่นที่สุดเป็นภาพของพระรามพระลักษมณ์ที่ถูกศรนาคบาศจากอินทรชิต
ปราสาทโลเลย
ปีที่สร้าง : สร้างในปีพุทธศตวรรษที่
15 (พ.ศ. 1436)
รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้ายโศวรมันที่
1
ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบพระโคและบาแค็ง
ศาสนา : ศาสนาฮินดู ไศวนิกาย
ปราสาทโลเลย เป็นปราสาทที่อยู่ในกลุ่มเทวสถานเมืองหริหราลัย
สันนิษฐานว่า โลเลย มาจาก ราลัย อันเป็นชื่อท้ายของเมืองนี้
(หราลัย) ปราสาทโลเลยสร้างอยู่กลางบารายอินทรตฎากะ (สระน้ำของพระอินทรวรมันที่
1) ปัจจุบันได้ตื้นเขินไปหมดแล้ว พระเจ้าอินทรวรมันที่ 1
สร้างบารายเพื่อให้เป็นด่านป้องกันศัตรูอีกพระประสงค์หนึ่ง
แต่พระองค์ก็ย้ายนครหลวงไปที่เมืองพระนคร เนื่องจากไม่สามารถที่จะขยายอาณาจักรของพระองค์ที่เมืองหริหราลัยไปได้มากกว่านี้
นามของเมืองหริหราลัยจึงถูกลบเลือนไปนับแต่นั้นมา
ปราสาทโลเลยสร้างอยู่บนฐานที่มีความกว้าง 80 เมตร ยาว
90 เมตร ก่อสร้างด้วยอิฐทั้งหมด มีโคปุระทางทิศตะวันออกเพียงแห่งเดียว
ปราสาทนี้เป็นกลุ่มปราสาทที่มีทั้งหมด 4 หลัง 2 หลังอยู่ในแนวทิศตะวันออก-ทิศตะวันตก
อีก 2 หลังอยู่ในแนวทิศเหนือ-ใต้ การวางผังของปราสาทโลเลย
คล้ายกับปราสาทพระโค ต่างกันที่จำนวนปราสาทเท่านั้น
ภาพสลักปราสาทโลเลย แม้จะทรุดโทรมไปมาก แต่ก็ยังมีภาพสลักซึ่งอยู่ตามกรอบประตู
และภาพสลักหินทรายบนทับหลังพอที่จะสันนิษฐานได้ว่าปราสาทที่อยู่ทางทิศตะวันออกมีหน้าบันเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
ด้านซ้ายและขวาของเศียรช้างเอราวัณมีพวงอุบะ ด้านล่างและด้านบนของพวงอุบะมีลายก้านขดและลายดอกไม้
ที่หน้าบันเหนือทับหลังเป็นภาพสลักนูนต่ำของฤาษีทั้งหมดที่มีอยู่
8 ตน กำลังนั่งบำเพ็ญตะบะ ส่วนภาพที่กรอบประตูซึ่งทำจากหินทรายเป็นภาพของสิงห์คาบพวงอุบะออกมาจากปาก
ภาพลายก้อนต่อดอกและพรรณพฤกษา ดูอ่อนช้อยสวยงามมาก ถึงแม้ภาพสลักส่วนใหญ่จะลบเลือนและถูกทำลายลงไปบ้างก็ยังจัดได้ว่าเป็นศิลปะที่สวยงามในรูปแบบศิลปะสมัยพระโค
หรือเรียกว่าในยุคอาณาจักรหริหราลัยนั่นเอง |