ปราสาทตาเนย
ปีที่สร้าง : สร้างในปีคริสตศตวรรษที่
18
รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่
7 สร้างเพิ่มเติมสมัยพระเจ้าอินทรวรมันที่ 2
ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบบายน
ศาสนา : ศาสนาพุทธ นิกายมหายาน
ปราสาทตาเนย ตั้งอยู่ใกล้กับปราสาทตาแก้ว เป็นปราสาทที่อยู่ในป่าและอยู่ในช่วงกำลังบูรณะ
อย่างไรก็ดี ปราสาทนี้ก็มีความสวยงาม ทางเข้าปราสาทอยู่ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก
เป็นปราสาทหินทรายที่ยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ ปัจจุบันได้ชำรุดทรุดโทรมลง
มีต้นไม้ใหญ่เข้าชอนไชคล้ายกับปราสาทตาพรหม ทำให้หลายส่วนพังทลายลง
ในบริเวณปราสาทมีบรรณาลัยเหลืออยู่ส่วนหนึ่ง และจะสังเกตเห็นระเบียงคตที่ต่อติดกับตัวปราสาท
ภาพหน้าบันรูปเจ้าชายสิทธัตถะทรงม้า เพื่อออกผนวช ด้านล่างเป็นรูปเทวดานั่งพนมมือ
เป็นที่น่าสังเกตว่า ภาพด้านล่างถูกทำลายโดยการสกัดภาพออกเมื่อพุทธศตวรรษที่
19 ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 ที่ทรงนับถือศาสนาฮินดู ไศวนิกาย
ปราสาทเจ้าสายเทวดา
ปีที่สร้าง : สร้างในปีพุทธศตวรรษที่
17
รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่
2
ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบนครวัด
ศาสนา : ศาสนาฮินดู
ปราสาทเจ้าสายเทวดา ตั้งอยู่ตรงข้ามของถนนจากปราสาทธรรมานนท์
เป็นปราสาทขนาดย่อม สร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออกมีลวดลายลักษณะงดงามไม่ผิดไปจากนครวัด
เป็นปราสาทคู่กับปราสาทธรรมานนท์ที่อยู่ใกล้กัน และสร้างเพิ่มเติมโดยพระเจ้ายโศวรมันที่
2 ต่อ จนสิ้นสุดในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ปราสาทเจ้าสายเทวดาทรุดโทรมลงมากและกำลังได้รับการบูรณะอยู่อย่างต่อเนื่อง
ปราสาทบาตรชุม
ปีที่สร้าง : สร้างปลายพุทธศตวรรษที่
15
รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าราเชนทรวรมันที่
2
ศิลปะ : เป็นศิลปะแปรรูป
ศาสนา : ศาสนาพุทธ นิกายมหายาน
ปราสาทบาตรชุม เป็นวัดในพระพุทธศาสนา
ผู้สร้างและออกแบบคือกวีนทราริมัธนะ ผู้ที่สร้างพระราชวังให้กับพระเจ้าราเชนทรวรมันที่
2 และ ปราสาทแม่บุญตะวันออก ยุคสมัยนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นต้นแบบของยุคศิลปะแปรรูป
กวีนทราริมัธนะ เป็นผู้เดียวซึ่งมีนามปรากฎอยู่ในจารึกด้านข้างของประตู
ปราสาทบาตรชุมประกอบด้วยปราสาทที่ก่อด้วยอิฐ 3 หลัง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ปราสาททั้ง 3 หลังสร้างจากอิฐ ยกเว้นกรอบประตูทำจากหินทราย
เสาประตูมีลักษณะแปดเหลี่ยม สลักเป็นภาพใบไม้และดอกไท้เป็นวงๆ
หน้าปราสาทมีประติมากรรมลอยตัวรูปสิงห์อยู่ |