เชียงขวาง แผ่นดินแห่งสมรภูมิ
กว่า 40 ปีแล้ว แผ่นดินตรงนี้ที่นานาประเทศแย่งกันครอบครอง
ไม่ว่าจะเป็นฝรั่งเศษ อเมริกา เวียดนาม จีน แผ่นดินบนขุนเขาที่ไกลแสนไกล
การเดินทางก็ลำบาก แต่สิ่งหนึ่งของเมืองเชียงขวางที่อยากให้ไปสัมผัสก็คือทุ่งไหหินและบรรยากาศที่หนาวเย็นเกือบตลอดปี
ในปี พ.ศ. 2513 แขวงเชียงขวาง เคยเป็นสมรภูมิรบอันดุเดือดนับครั้งไม่ถ้วน
ในยุคสงครามอินโดจีน หรือสงครามเวียดนามที่ผ่านมา อาจเพราะว่าในอดีตเชียงขวางคือจุดยุทธศาสตร์สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศลาว
เพราะตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ อยู่ห่างจากนครเวียงจันทน์ประมาณ
400 กิโลเมตรและจากเมืองโพนสะหวันซึ่งเป็นเมืองหลวงของเชียงขวาง
ขวางข้ามเทือกเขอันสลับซับซ้อนบนทางหลวงหมายเลข 7 ไปสิ้นสุดที่ด่านน้ำกลั่น
ชายแดนทางตอนเหนือของประเทศเวียตนามระยะทางเพียงแค่ 130 กิโลเมตรซึ่งในช่วงสงครามอินโดจีนเส้นทางสายนี้เคยใช้เป็นเส้นทางส่งกำลังบำรุงรวมทั้งอาวุธยุโธปกรณ์ต่างๆจากประเทศเวียตนามเหนือ
สู่ขบวนการประเทศลาวซึ่งในขณะนั้นเป็นพันธมิตรซึ่งกันและกันและเส้นทางสายนี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเส้นทางโฮจิมินห์
ความที่อยู่ใกล้เวียตนามเหนือทำให้ขบวนการลาวตัดสินใจตั้งกองบัญชาการใหญ่ขึ้นที่นี่กองทัพอากาศอเมริกันจึงส่งเครื่องบินทิ้งระเบิด
บี 52 เข้ามาทิ้งระเบิดปูพรหมหมายทำลายล้างขบวนการลาวอย่างหนัก
หมู่บ้านใหญ่น้อยหลายร้อยแห่งตลอดจนวัดวาอารามถูกทำลายแทบทั้งหมด
ส่งผลให้ราษฏรและทหารฝ่ายขบวนการประเทศลาวต้องอพยพเข้าไปอยู่ตตตามถ้ำและหุบเขาทั่วไปในแขวงเชียงขวางและข้างเคียง
ในอดีตในสมัยช่วงทศวรรษที่ 1830 แขวงเชียงขวางถูกรวมเข้าอยู่กับเวียตนาม
ชาวเชียงขวางในสมัยนั้นถูกบังคับให้แต่งกายและใช้ขนบธรรมเนียมของเวียตนาม
แต่ความรักอิสระและทรนงในชาติพันธ์ของตนเองทำให้ชาวเชียงขวางทุกคนลุกขึ้นสู้เพื่อรักษาความเป็นอธิปไตยของตนเองไว้อย่างสุดความสามารถ
แต่ท้ายที่สุดชาวเชียงขวางก็ไม่อาจต้านทานกำลังจากประเทศเพื่อนบ้านผู้ทรงอิทธิพลในขณะนั้นจึงตกเป้นเมืองขึ้นของเวียตนามอยู่ชั่วระยะหนึ่ง
แม้สงครามอินโดจีนจะผ่านพ้นไปสามสิบกว่าปีแล้ว แต่บาดแผลและร่องรอยจากสงครามยังคงอยู่สภาพของสิ่งปรักหักพังของเมืองคูน
เมืองหลวงเก่ายังคงมีร่องรอยให้เห็นอยู่โดยทั่วไป ซึ่งจากซากปรักหักพังบางแห่งทางรัฐบาลลาวได้อนุรักษ์เอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้เห็นถึงพิษภัยของสงครามที่เกิดขึ้นเมื่อในอดีต
ร่องรอยของหลุมระเบิดขนาดใหญ่จากฝูงบิน บี 52 ของอเมริกันยังคงมีให้เห็นกันอยู่ทั่วไป
ปัจจุบันได้ถูกดัดแปลงให้เป็นบ่อเลี้ยงปลาในนาข้าว ซากของลูกระเบิดน้ำหนักหลายสิบตันถูกดัดแปลงมาเป็นรั้วบ้าน
เสาบ้าน รางข้าวหมู ที่นั่งเล่น เตาปิ้งบาร์บีคิวสำหรับนักท่องเที่ยว
ปัจจุบันเมืองเชียงขวางเริ่มฟื้นตัวเรื่อยๆค่อยเป็นค่อยไป
มีสิ่งดีๆมอบเป็นของกำนัลแก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยี่ยมเยือนเสมอ
ชาวเชียงขวางไม่เคยลืมอดีตที่โหดร้ายของสงครามที่ผ่านมา แต่ก็ไม่มีอคติกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและผู้มาเยี่ยมเยือนทุกคนช่วยกันก่อสร้างเมืองขึ้นมาใหม่
คือเมืองโพนสะหวันแทนเมืองคูนเมืองหลวงเก่าที่ถูกทำลายลงด้วยพิษสงคราม
เมืองโพนสะหวัน
เมืองหลวงใหม่ของแขวงเชียงขวาง อยู่ห่างจากเมืองคูนเมืองหลวงเก่าที่ถูกทำลายลงไปเมื่อครั้งสงครามระยะทางห่างกันประมาณ
30 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากทุ่งไหหินหนึ่งระยะทางประมาณ 7.5
กิโลเมตร เมืองโพนสะหวันเดิมมีชื่อว่าเมืองแปก ซึ่งแปลว่าต้นสน
สาเหตุเพราะว่าสภาพภูมิอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี ประกอบกับมีเทือกเขาอันสลับซับซ้อน
จึงเหมาะแก่การเจริญเติบโตของต้นสนสามใบ ซึ่งอยู่ในเทือกเขาตลอดทั้งสองข้างของถนนหมายเลข
7 ถนนยุทธศาสตร์เดิมในอดีตสู่ชายแดนประเทศเวียตนามตอนเหนือ
ตลอดจนทุ่งดอกบัวตองชาวลาวเรียกว่าดอกบัวขม ออกดอกสีเหลืองอร่ามบานสะพรั่ง
แซมด้วยดอกคริสต์มาสสีแดงสดที่ชาวลาวนิยมปลูกเป็นรั้วบ้านบานสะพรั่งต้อนรับลมหนาวของเดือนพศฤจิกายนของเส้นทางแห่งนี้
เมืองคูน
เคยเป็นเมืองหลวงเก่าของแขวงเชียงขวาง ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองโพนสะหวัน
เมืองหลวงใหม่ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร ซึ่งในปี พ.ศ.2512
ช่วงสงครามอินโดจีน เมืองคูนแห่งนี้ถูกอเมริการะดมทิ้งระเบิดอย่างหนัก
จนวัดอารามที่สวยงามพังทลายจนหมดสิ้น ส่วนอาคารสถานทูตฝรั่งเศสนั้นแม้จะได้รับความเสียหายจากการทิ้งระเบิดไม่น้อยแต่ก็ยังคงอยู่รอดมาได้
ส่วนตึกบางแห่งที่เหลือแต่เพียงซากปรักหักพัง ทางการลาวยังคงสภาพเดิมเอาไว้เพื่อให้ชาวลาวรุ่นหลังได้เห็นพิษภัยความหายนะของสงครามที่เกิดขึ้นในอดีต
หลังสงครามอินโดจีนสิ้นสุดลง ทางการลาวได้ทำการย้ายเมืองหลวงจากเมืองคูนมาอยู่ที่เมืองโพนสะหวันในปัจจุบันนี้
ภายในตัวเมืองคูนเมืองหลวงเก่าของแขวงเชียงขวางจะเห็นวัดอยู่แห่งหนึ่ง
ตั้งอยู่ติดริมถนนทางด้านซ้ายมือมีชื่อว่าวัดเพีย มีอายุเก่าแก่กว่า
600 ปี วัดเพียแปลเป็นภาษาไทยว่า วัดใหญ่ คำว่าเพียแปลว่าใหญ่
ตัวพระอุโบสถมีแต่เพียงซากปรักหักพัง ซึ่งเกิดจากพิษภัยของสงครามคงเหลือแต่พระพุทธรูปปางสมาธิที่ทำมาจากปูนความสูงประมาณ
10 เมตร ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง เป็นที่เคารพบูชาของชาวเมืองคูนและประชาชนลาวทั่วไป
ด้านข้างมีกุฏิพระใช้เป็นที่จำพรรษาของภิกษุสามเณร ก่อนถึงวัดเพียประมาณ
100 เมตร จะมีทางแยกลูกรังซ้ายมือเข้าไปยังพระธาตุฝุ่น ระยะทางประมาณ
200 เมตร เป็นพระธาตุเก่าแก่องค์หนึ่งในเมืองคูน รอบฐานองค์พระธาตุฝุ่นจะสมบูรณ์ไปด้วยดอกบัวตองหรือที่ชาวลาวเรียกว่า
ดอกบัวขม ออกดอกสีเหลืองบานสะพรั่งรอบฐานองค์พระธาตุฝุ่น ริมถนนทางเข้าพระธาตุคือตลาดเมืองคูน
เป็นตลาดขนาดเล็กที่มีชนเผ่าต่างๆ นำผลผลิตทางการเกษตรและของป่ามาวางขายริมถนนราคาถูก
ชาวลาวในเมืองคูนมาจับจ่ายซื้อสินค้ากันพอสมควร ตลอดสองข้างทางจากเมืองโพนสะหวันไปยังเมืองคูน(เมืองหลวงเก่า)
ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร จะแลเห็นวิวทิวทัศน์ท้องทุ่งนา
ลักษณะคล้ายขั้นบันได รวงข้าวสีทองเหลืองอร่ามรอการเก็บเกี่ยว
สลับกับเทือกเขาหัวโล้นเป็นแนวยาวไปจนสุดสายตา ภาพวิถีชีวิตชาวนาลาวกำลังช่วยกันลงแขกเก็บเกี่ยวข้าวในท้องทุ่งนา
ซึ่งเป็นประเพณีโบราณและเป็นภาพที่หาดูได้ยากแล้วในเมืองไทย
ภาพของชาวนากำลังช่วยกันฟัดข้าวอยู่กลางท้องถิ่น โดยใช้เครื่องมือช่วยในการฟัดชนิดพิเศษที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร
คือ ซากลูกระเบิดจากเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B-52
สถานที่ที่น่าสนใจ
ตลาดเช้าชนเผ่า
จากตัวเมืองโพนสะหวันมาทางทิศตะวันออกบนทางหลวงหมายเลข 7 ระยะทางประมาณ
30 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของตลาดเช้าของชนเผ่าต่างๆ ในแขวงเชียงขวาง
ซึ่งจะนำพืชผักผลไม้รวมทั้งสัตว์ป่าที่หาได้ในบริเวณนี้มาวางขายกันตอนเช้าตรู่ตั้งแต่
05.00 08.00 น. และจะมีเฉพาะวันอาทิตย์วันเดียวเท่านั้น มีชาวจีนและชาวเวียตนามนำสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันเช่น
เสื้อกันหนาว สบู่ ยาสีฟัน รองเท่า สิ่งของบริโภค เช่นน้ำมันพืช
อาหารกระป๋อง ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่เป็นของที่ผลิตจากประเทศจีนและเวียตนามจำหน่ายในราคาย่อมเยา
สินค้าที่นำมาจากประเทศไทยมีน้อยมาก อีกทั้งราคายังแพงกว่า
ชาวลาวนิยมใช้สินค้าที่ผลิตจากประเทศไทยเพราะมีคุณภาพดีกว่า
นักท่องเที่ยวที่ต้องการมาชมตลาดเช้าชนเผ่า อาจจะต้องตื่นแต่เช้า
ประมาณ 04.00 น. จากนั้นนั่งรถฝ่าความหนาวเย็นระยะทางประมาณ
30 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 7 ตลาดเช้าชนเผ่า อยู่ทางขวามือต้องเอาไฟฉายติดไปด้วย
เพราะอากาศในตอนเช้ามืดมาก
หมู่บ้านชนเผ่าม้ง
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองโพนสะหวัน ทางหลวงหมายเลข 7
ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร ห่างจากตลาดเช้าชนเผ่าไม่กี่กิโลเมตร
นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจากยุโรปชอบเดินทางมาเที่ยวชมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชนเผ่าม้งที่หมู่บ้านแห่งนี้
เพราะยังคงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีของชนเผ่าม้งเอาไว้
เช่น การตำข้าว การตีเหล็ก แต่สิ่งที่มีลักษณะพิเศษกว่าหมู่บ้านม้งอื่นๆคือ
การนำเอาซากลูกระเบิด B-52 มาดัดแปลงทำเป็นรั้วบ้าน เสาบ้าน
ทั้งตีเหล็กรางข้าวหมู ซึ่งมีเห็นแทบทุกหลังคาเรือน
อนุสาวรีย์ทหารลาว
เวียตนาม ตั้งอยู่บนเนินเขาในเมืองโพนสะหวัน
แขวงเชียงขวาง เป็นอนุสาวรีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงวีรกรรมอันกล้าหาญของทหารลาวและเวียตนามในสงครามอินโดจีน
ที่ช่วยกันต่อสู้ขับไล่มหาอำนาจอเมริกาให้ออกไปจากอินโดจีน
นอกจากแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ตลอดจนความหลากหลายของชนเผ่าต่างๆ
ในแชวงเชียงขวางแล้ว ยังมีแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติที่สวยงามให้นักท่องเทียวได้มาสัมผัส
วิวทิวทัศน์ของขุนเขาอันสลับซับซ้อน สีเขียวขจีคล้ายพรมกำมะหยี่จากธรรมชาติ
สัมผัสอากาศอันหนาวเย็นตลอดทั้งปี เปรียบเสมือนกับได้เดินทางมาท่องเที่ยวยังประเทศนิวซีแลนด์
แต่เป็นนิวซีลาว |