ปราสาทตาพรหมเกล
ปีที่สร้าง : สร้างในปี
ต้นพุทธศตวรรษที่ 18
รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่
7
ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบบายน
ศาสนา : ศาสนาพุทธนิกายมหายาน
ปราสาทตาพรหมเกล ตั้งอยู่ตรงข้ามกับมหาปราสาทนครวัด
เป็นปราสาทปรางค์เดียวสร้างด้วยหินทราย สูงประมาณ 12 เมตร
เป็นอโรคยศาลาหรือศาลาแห่งความไร้โรคหรือโรงพยาบาลในสมัยโบราณ
เป็นหนึ่งในจำนวนอโรคยศาลาทั้ง 102 แห่ง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่
7 ทรงเล็งเห็นความทุกข์ยากของประชาชนที่มีความเจ็บป่วย ดังที่เคยตรัสไว้ว่าความเจ็บป่วยของประชาชนก็เหมือนความเจ็บป่วยของพระองค์
การเยี่ยมชมปราสาทตาพรหมเกลจึงได้เห็นถึงความเป็นโรงพยาบาลชุมชนของขอมโบราณ
ปราสาทปักษีจำกรง
ปีที่สร้าง : สร้างในปลายพุทธศตวรรษที่
15 (พ.ศ. 1471)
รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าหรรษวรมันที่
1 และบูรณะในรัชสมัยของพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2
ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบบาแคงและเกาะแกร์
ศาสนา : ศาสนาฮินดู ไศวนิกาย
ปราสาทปักษีจำกรง มีรูปทรงปิรามิด
ความเป็นมามีนิทานพื้นบ้านเล่าขานเรื่องของพญานกได้นำเอาโอรสของพระราชา
ซึ่งตกอยู่ในอันตรายระหว่างการแย่งชิงราชสมบัติมาเลี้ยงจนเติมใหญ่จึงกลับมาชิงราชบัลลังก์คืนได้ในภายหลัง
และเมื่อปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์จึงได้ทรงสร้างปราสาทนี้เป็นการทดแทนบุญคุณของพญานก
ส่วนศิลาจารึกในปราสาทจารึกว่าสร้างในสมัยพระเจ้าหรรษวรมันที่
1 และมีการบูรณะในรัชสมัยของพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 เมื่อพระองค์เสด็จมาจากเมืองเกาะแกร์
มาสร้างและบูรณะเมืองพระนครขึ้นเป็นราชธานี
ตัวปราสาทปักษีจำกรงมีฐานเป็นศิลาแลงสี่เหลี่ยมย่อมุม
ศิลาแลงมีลักษณะดีไม่มีรูพรุน สูงจากพื้น 27 เมตร มีฐาน
4 ชั้น ชั้นแรกสูง 15 เมตร มีบันไดทางขึ้นปราสาททั้ง 4 ทิศ
บันไดค่อนข้างสูงชัน ตัวปรางค์ประธานมีทางขึ้นทางเดียวคือทิศตะวันออก
อีก 3 ประตู 3 ทิศนั้นเป็นประตูหลอก
เสาประดับกรอบประตูและทับหลังทั้งสี่ด้าน ทำให้หินทราย
สลักภาพลวดลายสวยงาม ลวดลายที่กรอบประตูและทับหลัง เป็นเทพนมบนกลีบดอกบัว
ทับหลังสลักรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ บริเวณผนังปราสาทสลักเป็นรูปนางอัปสร
และที่กรอบประตูด้านข้างมีอักษรภาษาสันสกฤตจารึกเรื่องราวประวัติการสร้างปราสาท
ปราสาทเบย
ปีที่สร้าง : สร้างในปีพุทธศตวรรษที่
15
รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้ายโศวรมันที่
1
ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบบาแค็ง
ศาสนา : ศานาฮินดู ไศวนิกาย
ปราสาทเบย เบย มีความหมายว่า
3 ปราสาทเบยหมายถึงปราสาท 3 หลัง สร้างขึ้นจากอิฐโดยการนำเรียงกัน
อยู่ในแนวเหนือ-ใต้ บนฐานมีขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 24 เมตร
สันนิษฐานว่าปราสาทเบยนี้สร้างไม่เสร็จ จนกระทั่งได้รับการบูรณะจากฝรั่งเศสในปี
พ.ศ. 1960
ภายในปรางค์ประธานมีแท่นศิวลึงค์ตั้งอยู่ ที่ทับหลังของปรางค์ประธานมีภาพสลักพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
การก่อสร้างปราสาทในสมัยก่อนยุคบายน คือสมัยบาปวน คลังบันทายสรี
และนครวัด นิยมใช้อิฐมาสร้างเป็นปราสาท นักโบราณคดียังไม่เข้าใจว่าการสร้างปราสาทด้วยอิฐนั้นมีการใช้อิฐที่เผาแล้วมาเรียงก่อรูปขึ้น
หรือใช้อิฐที่ยังไม่เผามาเรียงเมื่อก่อรูปทรงปราสาทแล้วจึงเผา
แต่ส่วนใหญ่เชื่อว่าใช้อิฐที่เผาแล้วมาเรียงกันและใช้กาวยางจากส่วนผสมของวัสดุธรรมชาติหลายชนิด
เช่นน้ำผึ้ง น้ำตาลโตนด จอมปลวก ฯลฯ มาเชื่อมต่อกัน ซึ่งอาจเป็นได้
เพราะหากนำอิฐที่ยังไม่เผามาก่อสร้างอาจทำให้ปราสาทยุบตัว
หรือทำให้ปราสาทเอียงได้
ปราสาทนี้ไม่ค่อยเป็นที่สนใจเที่ยวชม
เพราะเป็นปราสาทเล็กๆ อยู่ริมถนนทางผ่านเข้าไปยังประตูเมืองพระนคทิศใต้ก่อนถึงปราสาทบายน |