• ข้อมูลท่องเที่ยว จังหวัดน่าน
• ตำนานแข่งเรือ จ.น่าน

แข่งเรือเมืองน่าน

ประเพณีแข่งเรือเมืองน่าน

เรือแข่งเมืองน่าน

ประเพณีแข่งเรือเมืองน่าน
      ตำนานเล่าขานเกี่ยวกับประเพณีการแข่งเรือของจังหวัดน่านนั้น มีหลายกระแสและเล่าขานกันต่อกันมานานนมกาเล ว่าในสมัยโบราณนานมาแล้วเจ้าผู้ครองนครน่าน ซึ่งสืบเชื้อสายมา 64 องค์แต่ไม่เป็นที่แน่ชัดนักว่าเป็นเจ้าผู้ครองนครองค์ใด ได้มีคำสั่งให้ข้าราชการไปตัดไม้ตะเคียนซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็งและมีขนาดใหญ่โตมากมาหนึ่งคู่ที่ป่าขุนสมุน เมื่อโค่นต้นตะเคียนคู่ขนาดใหญ่ลงได้เล่าขานกันว่า ส่วนตอที่ตัดออกไปนั้น สามารถจัดวางขันโตกเพื่อเตรียมอาหารให้กับบรรดาสล่า(ช่าง)ที่มาช่วยกันทำงานได้ถึง 100 โตก ส่วนลำต้นนั้นเมื่อโค่นลงมาแล้วก็ให้บรรดาสล่านับร้อยคนช่วยกันตกแต่ง ถาก และขุดเป็นรูปเรือที่มีขนาดใหญ่โตมาก 2 ลำ ใช้เวลาอยู่กลางป่าเกือบสองปีเมื่อเสร็จก็ใช้ช้างหลายสิบเชือกลากจูงออกมาจากป่ามาโผล่ที่บ้านพวงพยอม ร่องน้ำที่ชักลากจูงเรือในปัจจุบันนี้คือลำน้ำสมุน เมื่อลากจูงมาถึงแม่น้ำน่าน แล้วเจ้าผู้ครองนครน่าน ได้จัดให้มีพิธีกรรมบวงสรวงเทพยาดาประจำไม้ตะเคียนนั้นและบายศรีสู่ขวัญอัญเชิญเรือทั้งสองลำลงสู่แม่น้ำน่าน และตั้งชื่อเรือลำแรกว่า "เรือท้ายหล้า" และเรือลำหลังมีชื่อว่า "เรือท้ายทอง" ต่อมาเจ้าผู้ครองนครน่านจึงได้ป่าวประกาศโดยทั่วให้ชาวบ้านชาวเมืองเอาเรือทั้งสองลำเป็นแม่แบบในการสร้างเรือเพื่อนำมาใช้แข่งขันกัน โดยมีกำหนดว่าให้มีการจัดการแข่งขันขึ้นทุกครั้งที่มีงาน "ตานก๋วยสลาก" (ถวายทานสลากภัต) หมู่บ้านใดวัดใดจัดให้มีการตานก๋วยสลาก ก็ให้มีการเชื้อเชิญหมู่บ้านและวัดใกล้เคียงให้นำเรือมาแข่งขันกัน เพื่อให้เกิดความสนุกสนานและความสามัคคี ระหว่างหมู่บ้านและวัดต่างๆ ส่วนรางวัลนั้นได้แก่หมาก เมี่ยง บุหรี่ ผลหมากรากไม้และของกินของทานในวันถวายสลากภัตนั้นเอง
     การแข่งขันไม่ได้เน้นหนักในด้านการแพ้หรือชนะ แต่เน้นด้านความสนุกสนานและความสามัคคีเป็นหลัก เมื่อมีการแข่งขันกันอย่างกว้างขวางและประพฤติปฏิบัติเป็นประจำทุกปีมาโดยตลอด จึงทำให้พฤติกรรมเหล่านี้กลายมาเป็นประเพณีการแข่งขันเรือของจังหวัดน่านในปัจจุบัน

ประเพณีแข่งเรือเมืองน่าน

ประเพณีแข่งเรือเมืองน่าน

ประเพณีแข่งเรือเมืองน่าน

ประเพณีแข่งเรือเมืองน่าน