บริษัททัวร์ โอเชี่ยนสไมล์ทัวร์
ทัวร์ซีหนิง ชิงไห่







 
• ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศศรีลังกา
• ประวัติศาสตร์ศรีลังกา ประวัติศาสตร์ประเทศศรีลังกา

เมืองอนุราธปุระ ศรีลังกา

ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ศรีลังกา

ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ศรีลังกา

ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ศรีลังกา
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เมืองอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา
เมืองอนุราธปุระ ประวัติศาสตร์ศรีลังกา
เจดีย์อภัยคีรี เมืองเก่าอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา
เมืองอนุราธปุระ ประวัติศาสตร์ศรีลังกา
ศิลปะพระในสมัยโบราณ เมืองอนุราธปุระ ศรีลังกา
เมืองอนุราธปุระ ประวัติศาสตร์ศรีลังกา

วัดอิสุรุมุณิยะ ศรีลังกา

ประติมากรรม วัดอิสุรุมุณิยะ

รูปสลักหินคู่รัก The Lover

ประติมากรรม วัดอิสุรุมุณิยะ

เจดีย์อภัยคีรี เมืองอนุราธปุระ

เจดีย์รุวันเวลิ ศรีลังกา

ศิลปะพระศรีลังกา อนุราธปุระ

อ่างเก็บน้ำติสสะ ศรีลังกา
พระเจ้าปรากรมพาหุมหาราช เมืองเก่าโปโลนนารุวะ
เมืองเก่าโปโลนนารุวะ ประวัติศาสตร์ศรีลังกา
เมืองเก่าโปโลนนารุวะ เมืองหลวงแห่งที่สองของศรีลังกา
เมืองเก่าโปโลนนารุวะ ประวัติศาสตร์ศรีลังกา
เมืองเก่าโปโลนนารุวะ เมืองหลวงแห่งที่สองของศรีลังกา
เมืองเก่าโปโลนนารุวะ ศรีลังกา

พระเจ้าปรากรมพาหุมหาราช

เมืองเก่าโปโลนนารุวะ

ซากเมืองเก่า เมืองโปโลนนารุวะ

เมืองเก่าโปโลนนารุวะ

เมืองเก่าโปโลนนารุวะ

วิหารวฏะทาเค

เมืองเก่าโปโลนนารุวะ

กัลวิหาร อุตตราราม

• จากหลักฐานการค้นพบของนักโบราณคดีค้นพบเกี่ยวกับชุมชนบนเกาะลังกาสมัยก่อนประวัติศาตร์ว่า มนุษย์เผ่าหนึ่งลักษณะสันคิ้วหนา สันนิษฐานว่าเป็นชนเผ่าแรกบนเกาะลังกา และพบว่า เผ่าชนจากดินเดียข้ามมาสู่ลังกาโดยหมู่เกาะที่เรียกว่าอาดัมบริดจ์ หรือสะพานอาดัม พวกนี้เองสืบเชื้อสายผสมพันธุ์กับเผ่าชุนยุคหินชาวพื้นเมืองเดิม ก่อนที่จะกลายมาเป็นพวกเวททะ
• ประวัติศาสตร์อารยธรรมของศรีลังกา เริ่มต้นประมาณห้าพันปีมาแล้ว ชาวพื้นเมืองยุคแรกมีอยู่หลายเผ่าพันธุ์ มีสิงหล ทมิฬ มัวร์ มาเลย์รุ่นแรก นอกเหนือจากพวกเวททะแล้ว

• คัมภีร์มหาวงศ์กับประวัติศาสตร์ศรีลังกา
• ประวัติศาสตร์ศรีลังกาสมัยโบราณนั้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องบอกเล่าเชิงตำนาน ในคัมภีร์ชื่อ “มหาวงศ์” คัมภีร์นี้มีลักษณะเป็ฯหนังสือพงศาวดาร ผู้เขียนเป็ฯพระในพุทธศาสนา เขียนขึ้นเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 6 ในคัมภีร์มหาวงศ์ ได้เล่าถึงประวัติราชวงศ์ นับแต่พระเจ้าวิชัย (พ.ศ.1) ถึง พระเจ้ามหาเสน (พ.ศ.830) รวมกษัตริย์ทั้งสิ้น 60 พระองค์ ในระยะเวลา 833 ปีเศษ

• ปฐมกษัตริย ์อาณาจักรอนุราธปุระ
• ประมาณ 200 ปี นับแต่ พ.ศ. 1 ประวัติศาสตร์ศรีลังกามีข้อมูลไม่ชัดเจนนัก เพราะการบันทึกเป็นเชิงตำนานอิงความเชื่อทางศาสนาเป็นส่วนใหญ่ กษัตริย์องค์แรกคือพระเจ้าวิชัย เป็นชาวแคว้นคุชรัต ในประเทศอินเดีย ครองราชย์ที่เมืองตัมพปัณณิ พระเจ้าวิชัยเดินทางจากอินเดียพร้อมด้วยบริวารจำนวน 700 คน ขึ้นฝั่งบนเกาะลังกาที่ตำบลตัมพปัณณิ ซึ่งอยู่บนฝั่งทะเลด้านทิศตะวันตก หรือทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ ใกล้ๆ กับเมืองปุตตลัม ปัจจุบัน ปีนั้น ตรงกับปีปรินิพพานของพระพุทธเจ้าพอดี ที่ตำบลนั้นเอง พระองค์ได้หญิงชาวพื้นเมืองเป็นมเหสี และได้ครองดินแดนแห่งนั้นไว้ในอำนาจในเวลาต่อมา
• ในอาณาจักรข้างเคียงเมืองตัมพปัณณินั้น มีเมืองข้างอีก 2 เมือง คือเมืองสิริสวัตถุ และเมืองลังกาปุร ซึ่งแต่ละเมืองก็มีเจ้าครองนครเมืองเป็นอิสระ มเหสีซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองเห็นว่าถ้าปล่อยให้เป็นอิสระต่อไป สักวันหนึ่งเมืองตัมพปัณณิก็จะถูกรุกราน จึงแนะนำให้พระเจ้าวิชัยเข้าโจมตีก่อน จากจุดนั้นเองพระองค์ก็แผ่อำนาจโดยการกระจายอำนาจไปปกครองเมืองต่างๆ ทรงมอบหมายให้อำมาตย์ชื่อ อุปติสสะ เข้าไปปกครองเมืองอนุราธปุระ เมืออุรุเวลา ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอนุราธปุระ เมืองอุชเชนี และเมืองพิชิต
• ต่อมาพระเจ้าวิชัยทรงเห็นว่าพระมเหสีซึ่งเป็นชาวป่าไม่คู่ควรกับพระองค์ ทรงแต่งตั้งราชฑูตเดินทางไปยังแผ่นดินอินเดีย เพื่อสู่ขอราชธิดาชาวอารยัน ของกษัตริย์บาณฑุ แห่งเมืองมธุระ ส่วนมเหสีชาวพื้นเมืองพร้อมด้วยโอรสและธิดาหนีไปอยู่ที่อื่นและหายสาบสูญไป ความเป็นปฐมกษัตริย์แห่งศรีลังกาของพระเจ้าวิชัยนั้น เริ่มต้นเมื่อทรงอภิเษกสมรมกับเจ้าหญิงปาณฑุนั่นเอง ตลอดรัชสมัย 38 ปีของพระองค์นั้น อาณาจักรตัมพปัณณิไม่มีข้าศึกศัตรูรบกวนเลย บ้านเมืองอยู่ด้วยความสงบสุข ถึงกระนั้นก็ตาม พระองค์กับมเหสีปาณฑุไม่มีโอรสและธิดาแม้แต่องค์เดียว ทรงนึกแต่ว่า มีแต่พระอนุชาที่สิงหปุระในอินเดียองค์เดียวที่จะมาสืบราชสมบัติแทนได้ ในปีสุดท้ายแห่งการมีพระชนม์นั้นเอง ทรงได้จัดส่งราชฑูตไปอัญเชิญอนุชาพระนามว่า สุมิตตะ ระหว่างนั้นเอง พระองค์ก็สวรรคตเสียก่อน ภารกิจปกครองบ้านเมืองจึงตกแก่อำมาตย์อุปติสสะ เป็นการชั่วคราว ระหว่างรอคอยรัชทายาทจากสิงหปุระนั้น ผู้สำเร็จราชการอุปติสสะ ได้ย้ายสำนักราชการทั้งหมด ไปอยู่ที่เมืองอุปติสสคาม
กษัตริย์องค์ที่ 2 ถึงองค์ที่ 5
• ในระหว่างนั้น เจ้าชายสุมิตตะ ได้ครองราชย์แทนพระราชบิดาผู้ล่วงลับพอดี จึงทรงตรัสถามความสมัครใจของโอรส 3 องค์ในการไปครองเมืองลังกา ปรากฎว่าโอรสองค์เล็ก คือเจ้าชายปัณฑุวาสุเทพ รับอาสาที่จะไปปกครองเมืองลังเอง โดยเดินทางสู่ลังกาพร้อมด้วยบริวารจำนวน 32 คน ทั้งหมดถือเพศเป็นนักบวช ออกเดินทางโดยเรือ ไปขึ้นฝั่งที่ปากแม่น้ำชื่อ มหากันทระ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเกาะลังกา และคณะฑูตได้เลือกเจ้าหญิงสุภัททกัจจานา หรือ สกยินเทวี ซึ่งเป็นราชธิดาองค์เล็กเชื้อสายศากยวงศ์ในอินเดียมาเป็นคู่ครององค์รัชทายาท
• ในรัชกาลของพระเจ้าปัณฑุวาสุเทพ ตรงกับ พ.ศ. 39-69 ทรงมีพระโอรส และพระธิดารวมกัน 10 องค์ องค์ใหญ่ทรงพระนามว่า อภัย ซึ่งเป็นผู้สืบราชสมบัติต่อมา ในรัชสมัยของพระเจ้าอภัย (พ.ศ.69-89) เกิดความไม่สงบขึ้นในราชสำนัก กล่าวคือ มีการปองร้ายหลานตัวเอง ซึ่งเกิดจากพระนางอุมมาทจิตตา ธิดาคนสุดท้องของพระเจ้าปัณฑุวาสุเทพนั่นเอง เหตุการณ์นั้นเป็นเหตุให้พระเจ้าอภัย จำต้องสละราชบัลลังก์ เพราะถูกบีบจากอนุชาร่วมสายโลหิตในเวลาต่อมา หลังจากที่พระองค์ครองราชย์ได้ 20 ปี
• โอรสของพระนางอุมมาทจิตตาที่ถูกปองร้ายนัน คือ ปัณฑุกาภัย ทรงแคล้วคลาดจากการปองร้าย ได้ครองเมืองอุปติสสคามสืบต่อมา ในปีพ.ศ.105 ทรงตั้งเมืองหลวงที่อนุราธคาม ซึ่งได้กลายมาเป็นอนุราธปุระตั้งแต่นั้นมา การปกครองในรัชกาลนี้ จัดเป็นยุครุ่งเรืองอีกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์ศรีลังกา เป็นการปกครองด้วยระบบเทศบาล การก่อสร้างเจริญก้าวหน้า สามารถสร้างอ่างเก็บน้ำได้ในสมัยนี้
• พระเจ้าปัณฑุกาภัย เป็นกษัตริย์องค์ที่ 4 สวรรคตในปี พ.ศ.106 ขณะที่พระชนม์มายุได้ 67 พรรษา กษัตริย์องค์ที่ 5 คือพระเจ้ามุฎสิวะ เป็นโอรสของพระเจ้าปัณฑุกาภัย ทรงสร้างสวนมหาเมฆวัน อันสวยงามไว้ทางทิศใต้ของเมืองอนุราธปุระ สวนนี้เองเป็นที่ตั้งของมหาวิหาร
สมัยพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ
• พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ทรงครองราชย์สืบต่อจากพระเจ้ามุฎสิวะ ผู้บิดาระหว่าง พ.ศ.226-302 เป็นพระสหายซึ่งไม่เคยเห็นหน้ากันของพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย
• ปรากฎการณ์อันโดดเด่นพิเศษในรัชกาลนี้คือ
1.ฟื้นฟูความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นระหว่างลังกากับอินเดีย
2.พระพุทธศาสนาประดิษฐานในลังกาอย่างเป็นทางการ และกลายมาเป็นศาสนาประจำชาติสืบมา
3.มีการสร้างวัดและศาสนวัตถุทางพระพุทธศาสนาหลายแห่ง เช่น มหาวิหาร เป็นต้น
4.เริ่มประเพณีกษัตริย์ต้องเป็นพุทธมามกะ

• สมัยพระเจ้าพุฎฐคามินี
• ในช่วงรัชกาลนี้เอง ชนชาติทมิฬเริ่มเข้ามารุกรานอนุราธปุระ โดยกษัตริย์ทมิฬเอฬาระ จากประเทศโจฬะ ได้ยกทัพมารุกรานแย่งราชสมบัติ และตั้งวงค์ใหม่ครองราชอนุราธปุราอยู่ราว 45 ปี
• ต่อมา พระเจ้าทุฎฐคามินี กษัตริย์แห่งแคว้นโรหณะทางตอนใต้ของเกาะลังกา ได้ยกทัพไปกอบกู้เอกราช พระเจ้าทุฎฐคามินีจึงได้ทรงครองเมืองอนุราธปุระ (พ.ศ.382-406) ในรัชกาลนี้ พระพุทธศาสนาได้รับการอุมถัมภ์เป็นอย่างดี พุทธสถานที่เป็นหลักฐานปรากฎอยู่คือ เจดีย์มิริจวัฎฎี โลหปราสาท 9 ชั้น มหาสถูปรุวันเวลิสิยะ หรือสุวรรณมาลิกาเจดีย์ เป็นต้น
สมัยพระเจ้าวัฏฏคามินีอภัย
• ในรัชกาลของพระเจ้าวัฏฏคามินีอภัย เกิดเหตุการณ์กษัตริย์ทมิฬนำกองทัพทมิฬเคลื่อนพลประชิดอนุราธปุระ และได้ยึดครองอนุราธปุระตั้งแต่ปี พ.ศ.440 – 454 ในเวลาเดียวกันนี้ ลังกาตกอยู่ในภาวะทุพภิกขภัยอย่างหนัก ประชาชนได้รับความยากลำบากแสนสาหัส วิหารเจดีย์ถูกทอดทิ้งให้รกร้าง พระสงฆ์เป็นจำนวนมากต้องอพยพหนีไปอยู่ที่อินเดีย
• กษัตริย์ทมิฬครองเมืองได้ 6 องค์ติดต่อกัน พระเจ้าวัฏฏคามินีอภัย จึงกลับมากู้เมืองได้สำเร็จ ทรงครองอนุราธปุระไปจนถึงปี พ.ศ. 466 ผลงานเด่นในรัชกาลนี้ คือสร้าง อภัยคีรีวิหาร และจารพระไตรปิฏกลงในใบลานเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
อวสานราชวงศ์วิชัย
• สิ้นสมัยของพระเจ้าวัฏฏคามินีอภัยแล้ว ความเสื่อมของราชวงศ์วิชัยก็ปรากฎชัด พระนางอนุฬา มเหสีของพระเจ้าโจรนาควางยาพิษพระสวามีของตัวเอง เป็นเหตุการณ์อัปยศในประวัติศาสตร์ศรีลังกาสมัยโบราณ พระนางถูกกำจัดในรัชสมัยของพระเจ้ากุฎกัณณติสสะ ระหว่าง พ.ศ.502-524
• กษัตริย์องค์สุดท้ายในราชวงศ์วิชัยคือ พระเจ้ายศลาลกะ ติสสะ ซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าอิฬนาค ทรงปกครองอนุราธปุระต่อจากพระเชษฐา อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 595-602 ขึ้นครองราชย์โดยการปลงประชนม์พระเชษฐาของตนเอง หลังจากนั้น ราชวงศ์ลัมมกัณณะก็เข้าครองเมืองอนุราธปุระสืบต่อมา

• ราชวงศ์ลัมพกัณณะ
• รัชกาลนี้ยังไม่นับว่าเป็นการเริ่มต้นของราชวงศ์ลัมพกัณณะ ต่อเมื่อบุตรของชาวลัมพกัณณะคนหนึ่งชื่อ วสภะ ลอบสังหารนายสภะ (ผู้ซึ่งปลงพระชนม์พระเจ้าลังติสสะ) แล้วขึ้นครองราชย์แทน จึงกำเนิดราชวงศ์ลัมพกัณณะ เริ่มต้นในปี พ.ศ. 608 และราชวงศ์นี้ก็ดำรงสืบต่อกันมาเป็นเวลา 350 ปี
• ในราชวงศ์นี้ มีการส่งเสริมการชลประทาน ก่อกำแพงเมืองอนุราธปุระให้สูงขึ้นอีก และสร้างพระราชวังใหม่ ในปี พ.ศ.655-677 อันเป็นรัชสมัยของพระเจ้าคชพาหุที่ 1 มีการยกทัพแผ่อำนาจไปถึงภาคใต้ของอินเดีย
• หลักฐานทางประวัติศาสตร์ศรีลังกาในคัมภีร์มหาวงศ์ จบลงในรัชกาลพระเจ้ามหาเสน ระหว่าง พ.ศ.819-846 ในรัชกาลนี้มีการสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดยักษ์ชื่อ “มินเนริยะ” นับเป็นงานใหญ่ชิ้นหนึ่งของพระเจ้ามหาเสน
• ต่อมา อนุชาของพระเจ้ามหาเสน ชื่อพระเจ้าสิริเมฆวัน (พ.ศ.846-874) สืบราชสมบัติ ในรัชกาลนี้ ลังกาได้รับพระธาตุเขี้ยวแก้ว จากแคว้นกาสิงคะ ประเทศอินเดีย ในปีพ.ศ. 854 ความสัมพันธ์ระหว่างลังกากับอินเดียมีความแน่นแฟ้นขึ้นยิ่งขึ้น โดยพระเจ้าศิริเมฆวัน กับพระเจ้าสมุทรคุปต์แห่งอินเดีย ได้สร้างวัดลังกาที่พุทธคยาในรัชกาลนี้
• ก่อนจะสิ้นสุดสมัยราชวงศ์ลัมพกัณณะ เกิดเหตุการณ์สำคัญในทางประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา คือในปีพ.ศ. 953-975 อันเป็นรัชสมัยของพระเจ้ามหานาม พระพุทธโฆสาจารย์ ได้เดินทางถึงลังกา รับภาระแปลพระไตรปิฏก และคัมภีร์อรรถกถา จากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี เป็นคุณูปการแก่วงการพระพุทธศาสนามาตราบเท่าทุกวันนี้
ราชวงศ์โมริยะ
• ปีพ.ศ. 976 ชนชาติทมิฬชื่อ ปัณฑุ แย่งราชสมบัติครองเมือง ผู้นำชาติทมิฬคนนี้ ได้เอาใจใส่ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี การสืบต่อำนาจได้ดำเนินไปจนถึงปี พ.ศ. 1002 ชาวทมิฬจึงถูกปราบปรามได้สำเร็จ
• พระเจ้าธาตุเสน เป็นปฐมกษัตริย์แหงราชวงศ์ใหม่ชื่อ โมริยะ ทรบรบชนะพระเจ้าปิฐิยะ ชนชาติทมิฬ ได้ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.1002-1020 ในรัชกาลนี้ มีการสร้างพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ สำนักสงฆ์มหาวิหาร และบูรณะอภัยคีรีวิหาร • พระเจ้าธาตุเสน ถูกโอรสของพระองค์เองปลงพระชนม์ หลังจากนั้น พระเจ้าโมคัลลานะที่ 1 จึงมาชิงราชสมบัติจากโอรสองค์นั้น กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์โมริยะคือ พระเจ้ากิตติเสน ครองราชย์ระหว่าง ปี พ.ศ.1063-1064 มีอายุราชวงศ์เพียง 62 ปี

• ราชวงศ์ปาณฑยะ
• ในยุคนี้ การเมืองการปกครองของศรีลังกามีการแย่งอำนาจและเกิดศึกสงคราม นับแต่ปีพ.ศ. 1176 เริ่มมีการใช้ทหารรับจ้างนอกประเทศเข้ามาเสริมกำลังด้วย พวกที่เป็นทหารรับจ้างคือชนชาติทมิฬจากอินเดียตอนใต้ สงครามกลางเมืองหรือเหตุการณ์จลาจลโดยทหารรับจ้าง มีบทบาทอยู่มาก เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ.1186-1193 ศาสนสถานต่างๆ ถูกทำลายเป็นอันมาก มีการทัดทานกองกำลังของทหารรับจ้างในบางรัชกาล แต่ก็ไม่อาจปราบปรามให้สงบราบคาบได้
• ทหารรับจ้างชาวทมิฬ มีบทบาทเจริญก้าวหน้าถึงขีดสูงสุดในระหว่าง พ.ศ. 1210-1226 อันเป็นรัชสมัยของพระเจ้าอัคคโพธิที่ 4 ในรัชกาลนี้ ชื่อเมือง โปลอนนารุวะ เริ่มปรากฎในประวัติศาสตร์ เพราะกษัตริย์เสด็จไปประทับอย่างเป็นทางการ
• พระเจ้ามานวัมมะ เชื้อสายราชวงศ์โมริยะ ได้นำกองทัพราชวงศ์ปัลลวะจากอินเดียเข้ามาสู้รอบ ได้ชัยชนะขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.1227-1261 ในรัชกาลนี้ อำนาจของพวกทมิฬสิ้นสุดลงโดยเด็ดขาด พร้อมกันนั้น สถาปัตยกรรมและศิลปะแบบปัลลวะก็แพร่หลายในเกาะลังกา
• ในปี พ.ศ. 1376-1396 เป็นรัชกาลของพระเจ้าเสนะที่ 1 ได้มีกองทัพจากปาณฑยะและราชวงศ์โจฬะ จากอินเดียตอนใต้ เคลื่อนกำลังรุกรานลังกา สามารถยึดภาคเหนือไว้ได้ทั้งหมด เมืองอนุราธปุระถูกปล้นสะดมยับเยิน พระเจ้าเสนะต้องอพยพไปประทับที่เมืองโปลอนนารุวะจนสิ้นรัชกาล รวมระยะเวลาที่สองราชวงศ์นี้มีอำนาจแทรกซึมอยู่ในลังกาประมาณ 500 ปี
• ในปีพ.ศ. 1476 เมืองอนุราธปุระถูกทำลายพินาศถึงกาลอวสาน ชาวสิงหลต้องถอยร่นไปทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งเมืองหลวงใหม่ที่เมืองโปลอนนารุวะ
• ในปี พ.ศ. 1566 เมื่อเมืองโปลอนนารุวะ ถูกกองทัพโจฬะเข้าทำลายย่อยยับ เมืองโรหณะ กลับมีความแข็งแกร่งไม่ยอมพ่ายแพ้แก่ข้าศึก อย่างไรก็ตาม ทั้งสองเมืองก็ตกอยู่ในอิทธิพลของราชวงศ์แห่งอินเดียจนสิ้นสุดสมัยอนุราธปุระราวปีพ.ศ.1598

• อาณาจักรโปโลนนารุวะ
• ตั้งแต่ปีพ.ศ. 1598-1779 นับเป็นสมัยโปโลนนารุวะ กษัตริย์ที่ทำให้ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดคือ พระเจ้าวิชัยพาหุที่ 1 ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1598-1653 เดิมทีพระเจ้าวิชัยพาหุทรงปกครองอาณาจักรโรหณะ เมื่อทรงเห็นว่าลังกาถูกรุกราน ทรงรวบรวมกำลังชาวลังกาทั้งหมด ขับไล่กองทัพโจฬะจนต้องพ่ายแพ้อย่างเด็ดขาว ชาวสิงหลสามารถยึดคืนทั้งเมืองโปลอนนารุวะ และเมืองอนุราธปุระได้สำเร็จ แล้วจึงทรงสถาปนาเมืองโปลอนนารุวะเป็นราชธานี
• ในรัชกาลนี้ นอกจากมีการสร้างราชวังใหม่ที่เมืองโปโลนนารุวะแล้ว ก็ยังมีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่ง มีการสร้างกำแพงและคูรอบเมือง สร้างวัดพระเขี้ยวแก้ว และการส่งราชฑูตไปบูชาต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่พุทธคยา มาประดิษฐานไว้ที่เมืองโปลอนนารุวะ
• ระหว่าง พ.ศ. 1654-1675 รัชสมัยของพระเจ้าคชพาหุที่ 2 ลังกาแบ่งแยกเป็น 4 แคว้น พระเจ้าวิกรมพาหุที่ 1 นั้น ทรงเป็นกษัตริย์ในช่วงเวลานี้ ทรงดำเนินการปกครองแบบทรราชย์ ประชาชนได้รับการกดขี่อย่างหนัก การพระศาสนาก็ถูกเบียดเบียน พระสงห์ต้องนำพระเขี้ยวแก้วไปซ่อนไว้ที่แคว้นโรหณะ ก่อนที่ลังกาจะเกิดจราจลในระหว่างปี พ.ศ.1675-1696
• สมัยพระเจ้าปรากรมพาหุมหาราช
• พระเจ้าปรากรมพาหุที่ 1 ทรงเป็นกษัตริย์หนุ่มผู้หาญกล้า ครองราชย์ระหว่างปะ 1696-1729 เป็นพระนัดดาของพระเจ้าวิชัยพาหุที่ 1 เป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ศรีลังกา จนได้รับเทิดพระเกียรติว่าเป็นมหาราชองค์หนึ่ง
• อาณาจักรที่พระเจ้าปรากรมพาหุที่ 1 ทรงยึดครอบได้แห่งแรกคือ โปลอนนารุวะ หลังจากนั้นทรงได้ชัยชนะเหนือเกาะลังกาทั้งหมดในปีพ.ศ. 1698 รวมถึงอาณาจักรโรหณะที่กำลังรุ่งเรืองและยิ่งใหญ่ในยุคนั้นก็ต้องตกอยู่ในอำนาจของพระองค์โดยสิ้นเชิง
• ในด้านพระศาสนา พระเจ้าปรากรมพาหุที่ 1 ทรงปรองดองสำนักสงฆ์ทั้ง 3 แห่ง คือ สำนักมหาวิหาร สำนักอภัยคีรีวิหาร และสำนักเชตวันวิหาร ที่เคยเกิดความแตกแยกบาดหมางต่อกันมาเป็นเวลา 11 ปี ได้เป็นผลสำเร็จ เป็นการปรองดองครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ศรีลังกา
• ผลงานและความสำเร็จในรัชกาลของพระเจ้าปรากรมพาหุมหาราชที่สำคัญ
1.ทางศาสนา : ทรงสร้างวิหารประดิษฐานพระธาตุเขี้ยวแก้ว ที่เมืองโปลอนนารุวะ เป็นวิหารทรงกลม สร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่ที่สุดในลังกา สร้างวิหารลังกาดิลก อันสะท้อนศิลปะแบบฮินดู พระพุทธรูปที่วิหารคัล ซึ่งแกะสลักจากหินทั้งแท่ง นับว่าเป็นยุคที่พระพุทธศาสนาได้รับการฟื้นฟูมากที่สุดในพุทธศตวรรษที่ 16
2.ทางอารยธรรม : ทรงสร้างพระราชวังโดยใช้ทองคำฉาบพื้นพระราชวัง ภายในมีห้องถึง 1,000 ห้อง สูง 7 ชั้น ทรงสร้างป้อมพระนคร ให้มีห้องเต้นรำ มีโรงละคร โรงพยาบาล ห้องสมุด โรงเรียนและสวนสาธารณะครบครัน
3.มีการสร้างเขื่อน 164 แห่ง ขุดคลอง 3,910 คลอง สร้างอ่างเก็บน้ำที่ใหญ่ที่สุดกินเนื้อที่ถึง 5,940 เอเคอร์
• พระเจ้าปรากรมพาหุมหาราช สวรรคตในปีพ.ศ.1729 นับแต่นั้นมา ศรีลังกาก็ไม่เคยมีกษัตริย์ผู้มีพระปรีชาสามารถเช่นนั้นอีกเลย

• ราชวงศ์ทัมพเทณิยะ
• ถัดจากรัชทายาทของพระเจ้าปรากรมพาหุมหาราช ก็เกิดราชวงศ์ลิงก์ กษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์นี้คือ พระเจ้านิสสังกมัลละ ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.1730-1739 มีการยกทัพไปรุกรานอินเดียภาคใต้แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เหตุการณ์เด่นในรัชกาลนี้คือ ลังกามีการติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้น เช่นติดต่อกับแคว้นอันธาระ โอริสสา เบงกอล คุชรัต แห่งอินเดีย และติดต่อไปถึงประเทศพม่าและกัมพูชาอีกด้วย
• หลังจากรัชกาลของพระเจ้านิสสังกมัลละไม่นาน พวกทมิฬก็เริ่มรุกราน ระหว่างปีพ.ศ. 1745-1751 เมืองโปลอนนารุวะก็ถูกทหารทมิฬทำลายอีกครั้ง ทำให้ลังกาขาดการพัฒนาบ้านเมือง จนเป็นจุดจบของอาณาจักรโปลอนนารุวะ
• ราชวงศ์ใหม่ที่เกิดต่อมาคือ ราชวงศ์ทัมพเทณิยะ กษัตริย์องค์แรกคือ พระเจ้าวิชัยพาหุที่ 3 ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1775-1779 ครองเฉพาะแคว้นมายารัฐ ทางทิศตะวันตกของเกาะ ราชธานีตั้งอยู่ที่เมืองทัมพเทณิยะ พระเขี้ยวแก้วมาประดิษฐานที่เมืองนี้ในรัชกาลนี้
• ในรัชสมัยพระเจ้าปรากรมพาหุที่ 3 ทรงครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ.1830-1836 ตรงกับสมัยของพ่อขุนรามคำแหงของไทย ราชวงศ์ปาณฑยะ มีบทบาทด้านความช่วยเหลือการทหารสูง ปีพ.ศ. 1835 มาร์โค โปโล ก็เดินทางผ่านลังกา ราชวงศ์ทัมพเทณิยะได้สืบราชสมบัติต่อๆ กันถึงปี พ.ศ. 1869 สิ้นสุดลงในรัชกาลของพระเจ้าปรากรมพาหุที่ 4
• เกิดกรณีพิพาทกับจีน
• นับตั้งแต่สิ้นสุดสมัยโปลอนนารุวะเป็นราชธานีอันรุ่งเรืองแล้ว ศรีลังกาก็ย้ายเมืองหลวงครั้งแล้วครั้งเล่า พวกทมิฬเป็นฝ่ายรุกรานเข้ามาอยู่แทนที่ ชาวสิงหลเป็นฝ่ายถอยร่นไปทางทิศใต้ของเกาะ เพื่อจะได้หลุดพ้นจากการถูกเบียดเบียน
• ปี พ.ศ.1948 ศรีลังกาเกิดกรณีพิพาทกับจีนครั้งสำคัญ คู่กรณีคือ กษัตริย์ชาวสิงหล ทรงพระนามว่า พระเจ้าวิชัยพาหุที่ 4 กับฑูตจีนชื่อเชงโห เวลานั้น พระเจ้าวิชัยพาหุที่ 4 ทรงครองราชย์อยู่ที่อาณาจักรแคนดี ซึ่งมีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองคัมโปละ กรณีที่เกิดคือ กษัตริย์แคนดีถูกกล่าวหาว่าทรงลักพาตัวเชงโหเพื่อเรียกค่าไถ่ เมื่อเชงโหกลับถึงเมืองจีนก็ย้อนกลับมายังศรีลังกาอีกใน 5 ปีต่อมา พร้อมด้วยกองทัพขนาดใหญ่ เชงโหล้อมเมืองหลวงได้แล้วก็จับกุมกษัตริย์แห่งแคนดี นำตัวไปเป็นเชลยที่กรุงปักกิ่ง หลังจากนั้น จักรพรรดิจีนก็สถาปนากษัตริย์ศรีลังกาที่เป็นชาวสิงหลคนใหม่ ทรงพระนามว่า พระเจ้าศรีปรากรมพาหะที่ 6 กษัตริย์องค์ใหม่นี้ ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายแก่จักรพรรดิจีนเป็นประจำ
• ในปี พ.ศ. 1993 กองทัพของพระเจ้าศรีปรากรมพาหุที่ 6 สามารถปราบอาณาจักรแจฟนาได้สำเร็จ เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เกาะลังการวมกันเป็นประเทศเดียว วรรณคดีศรีลังกา ได้รับการส่งเสริมให้รุ่งเรืองเป็นพิเศษในรัชกาลนี้ ควบคู่ไปกับศาสนาพุทธและฮินดู

• อวสานราชวงศ์ลังกา
• ปลายสมัยราชวงศ์ลังกานั้น ภาคเหนือของเกาะลังกาถูกยึดครองโดยพวกทมิฬโดยสิ้นเชิง ในรัชกาลของพระเจ้าภูวไนกพาหุที่ 6 ลังกาแบ่งแยกกันเป็น 6 อาณาจักรอีกคือ อาณาจักรแจฟนา อาณาจักรโกฎเฏ และอาณาจักรแคนดี และหลังจากนั้นก็แบ่งแยกเป็น 4 อาณาจักร ซึ่งแสดงถึงอาการระส่ำระสายของบ้านเมืองอย่างเห็นได้ชัด ในรัชสมัยของพระเจ้ากิตติสิริราชสิงห์ ตรงกับ พ.ศ.2290-2324 มีการส่งฑูตมาขอพระสงฆ์สยามนิกายในรัชกาลของพระเจ้าบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา
• กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ลังกา คือพระเจ้าศิริวิกรมราชสิงห์ เป็นโอรสของพระเจ้ากิตติสิริราชสิงห์ ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2341-2358 ในปีสุดท้ายแห่งรัชกาล พระองค์ถูกอังกฤษจับตัวไป ตั้งแต่นั้นมา ศรีลังกาก็ไม่มีกษัตริย์ปกครองประเทศอีกเลย

ภูเขาสิกิริยา สถานที่ตั้งพระราชวังลอยฟ้า
ประวัติศาสตร์ศรีลังกา
ประตูสิงห์ ประตูทางขึ้นสู่พระราชวังลอยฟ้า เขาสิกิริยา
เขาสิกิริยา ประวัติศาสตร์ประเทศศรีลังกา

เขาสิกิริยา เมืองสิกิริยา

เขาสิกิริยา เมืองสิกิริยา

ภาพเขียนสีเฟรสโก สิกิริยา

ภาพเขียนสีเฟรสโก สิกิริยา

ทางขึ้นยอดเขาสิกิริยา

ทางขึ้นยอดเขาสิกิริยา

LION ROCK แท่นศิลาราชสีห์

วิวทิวทัศน์บนยอดเขาสิกิริยา

• ลำดับราชวงศ์และเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ศรีลังกา
1.ศรีลังกาสมัยอนุราธปุระ (พ.ศ.1-พ.ศ.1598)
พ.ศ.1 : ปฐมกษัตริย์ศรีลังกา คือ พระเจ้าวิชัย จากแคว้นคุชรัต ประเทศอินเดีย ครองราชย์ที่เมืองตัมพปัณณิ กษัตริย์ในราชวงศ์นี้องค์ต่อๆ มาคื ปัณฑาวาสุเทพ อภย ปัณฑุกาภัย มุฎสิวะ
พ.ศ.293-พ.ศ.333 : พระเจ้าเทวานามปิยา ติสสะ เป็นกษัตริย์ที่ฝักใฝ่ในการทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นพิเศษ พระพุทธศาสนาที่ทรงเลื่อมใสคือ พระพุทธศาสนาที่พระมหินท์ (โอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช นำมาเผยแพร่) ผลงานเด่นในรัชกาลนี้คือ สร้างสำนักสงฆ์มหาวิหาร เจติยคีรีวิหาร เจดีย์ถูปารามที่บรรจุพระรากขวัญของพระพุทธเจ้า และอ่างเก็บน้ำติสาเทวะ เป็นต้น พระเถรีสังฆมิตตา ราชธิดาของพระเจ้าอโศกนำกิ่งมหาโพธิ์มาปลูกในรัชกาลนี้
: พระมหินท์ และพระเถรีสังฆมิตตาสิ้นพระชนม์ในรัชกาลของพระเจ้าอุตติยะ กษัตริย์ถัดไปของราชวงศ์นี้คือ มหาสิวะและสูรติสสะ
: พระเจ้าเสนะและพระเจ้าคุตตกะ ชนชาติทมิฬตั้งวงศ์ใหม่ แต่ไม่นานก็ถูกยึดอำนาจคืน โดยพระเจ้าอเสสะผู้อนุชาของพระเจ้าสูรติสสะ แล้วพระเจ้าสูรติสสะก็ถูกพระเจ้าเอฬาระ กษัตริย์แห่งทมิฬจากประเทศโจฬะยึดอำนาจตั้งวงศ์ใหม่ได้อีก
พ.ศ. 382-พ.ศ.402 : พระเจ้าทุฏฐคามินี (องค์เดิม) มาจากแคว้นโรหณะทางใต้ของเกาะลังกา ทรงชนช้างชนะพระเจ้าเอฬาระ สืบราชวงศ์ต่อไปได้ เจดีย์มริจวัฎฎิ โลหปราสาท และมหาสถูป (เจดีย์รุวันเวลิ) ณ เมืองอนุราธปุระ สร้างในรัชกาลนี้
พ.ศ.406-พ.ศ.424 : พระเจ้าสัทธาติสสะสร้างมหาสถูปต่อจนสำเร็จ กษัตริย์ในราชวงศ์องค์ถัดไปคือ ถูลัตถนะ สัญชติสสะ ขัลลาตนาค
พ.ศ.440 : พระเจ้าวัฏฏคามินีอภัย หนีพวกทมิฬออกจากเมืองอนุราธปุระ
พ.ศ.440-พ.ศ.454 : พระเจ้าปุลหัตถะ ชนชาติทมิฬขึ้นครองราชย์ที่อนุราธปุระ ผู้ขึ้นครองราชย์สืบต่อกันคือ พาหิยะ ปันยมาร ปลัยมาร และทาฐิกะ
พ.ศ.454-พ.ศ.466 : พระเจ้าวัฏฏคามินีอภัย (องค์เดิม) รบชนะพระเจ้าทาฐิกะ สร้างสำนักสงฆ์อภัยคีรีวิหาร และมีการจารพระไตรปิฏกเป็นตัวอักษร
พ.ศ.467-พ.ศ.496 : กษัตริย์ที่ครองราชต่อเนื่องกันมี มหาจุฬี มหาติสสะโจรนาค และติสสะ
พ.ศ.496-พ.ศ.501 : พระจางอนุฬาได้ขึ้นครองราชย์หลังจากทรงวางยาพิษพระเจ้าโจรนาค และพระเจ้าติสสะ
พ.ศ.502-พ.ศ.524 : พระเจ้ากุฎกัณณะ ติสสะ (อนุชาของพระเจ้าติสสะ) ยึดอำนาจคืนจากพระนางอนุฬาได้
พ.ศ.524-พ.ศ.552 : ในรัชกาลของพระเจ้าภาติกอภัย มีการส่งคณะฑูตไปยังอาณาจักรโรมัน
พ.ศ.552-พ.ศ.595 : กษัตริย์ในช่วง พ.ศ.นี้มี 7 องค์ คือ มหาทาฐิกะ มหานาค, อมัณฑคามินีอภัย (มีการห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิตอย่างเด็ดขาด), กณิรชานุติสสะ (ปลงพระชนม์พระเจ้าอมัณฑคามินีอภัย), จูฬาภัย , พระนางสีวลี, พระเจ้าอิฬนาค (องค์นี้เคยหนีศัตรูไปยังประเทศอินเดีย ก่อนจะกลับมาปราบปราบได้สำเร็จ) และพระเจ้าจันทมุขสิวะ
พ.ศ.595-พ.ศ.602 : พระเจ้าสลาลกะ ติสสะ ปลงพระชนม์พระเจ้าจันทมุขสิวะ ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์พระเจ้าวิชัย
พ.ศ.602-พ.ศ.608 : พระเจ้าสภะ (นายประตู) ตั้งวงศ์ใหม่
พ.ศ.608-พ.ศ.652 : ตั้งราชวงศ์ลัมพกัณณะโดยพระเจ้าวสภะ สมัยนี้มีการส่งเสริมการชลประทาน ก่อกำแพงเมืองอนุราธปุระให้สูงกว่าเดิม และสร้างพระราชวังใหม่
พ.ศ.652-พ.ศ.819 : กษัตริย์ราชวงศ์ลัมพกัณณะ ครองราชย์สืบต่อกันตามลำดับ คือ วังกนาสิกติสสะ (พ.ศ.652-655) มีการแบ่งลังกาออกเป็น 3 อาณาจักร, คชพาหุที่ 1, มหัลลกนาค, ภาติกติสสะ, กนิฏฐติสสะ, ขุชชนาค, กุญจนาค (ปลงพระชนม์พระเจ้าขุชชนาค, สิรินาคที่ 1, โวหาริก ติสสะ (ปลงพระชนม์พระเจ้าโวหาริกติสสะ), สิรินาคที่ 2, วิชัยกุมาณ โคฐาภัยหรือเมฆวัณณะ อภัย (พุทธศาสนาลัทธิมหายานแพร่หลายที่สำนักอภัยคีรีวิหาร, เชฎฐติสสะที่ 1
พ.ศ.819-พ.ศ.846 : พระเจ้ามหาเสนะขึ้นครองราชย์ ทรงสร้างสำนักสงฆ์เชตวันวิหาร สร้างอ่างเก็บน้ำมินเนริยะ ข้อความในคัมภีร์มหาวง์จบลงในรัชกาลนี้
พ.ศ.846-พ.ศ.874 : พระเจ้าสิริเมฆวัณณะครองราชย์ เริ่มมีพิธีเคารพบูชารูปพระมหินทเถระเป็นงานเทศกาลประจำปี ได้รับพระเขี้ยวแก้ว จากแคว้นกลิงคราฐในประเทศอินเดีย (พ.ศ.854) ทรงสร้างวัดลังกาขึ้นที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย
พ.ศ.874-พ.ศ.883 : พระเจ้าเชฎฐติสสะที่ 2 เป็นกษัตริย์ที่สามารถยิ่งในการสลักงา
พ.ศ.883-พ.ศ.953 : ในรัชกาลของพระเจ้าพุทธทาส (883-911) คัมภีร์ภาษาบาลีได้รับการแปลเป็นภาษาสิงหล พระเจ้าอุปติสสะที่ 1 ครองราชย์ต่อมา มีการสร้างวัดและอ่างเก็บน้ำอีกหลายแห่ง
พ.ศ.953-975 : รัชกาลของพระเจ้ามหานาม พระพุทธโฆสจากอินเดียได้มาแปลพระไตรปิฏกภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี (พ.ศ.953) และในปี พ.ศ.972 มีการส่งราชฑูตไปยังประเทศจีน พระเจ้ามหานาม เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ลัมพกัณณะ
พ.ศ.975-พ.ศ.976 : พระเจ้ามิตตเสนตั้งวงศ์ใหม่ แต่รบแพ้พวกทมิฬ
พ.ศ.976-พ.ศ.1002 : พระเจ้าปัณฑุ ชนชาติทมิฬ ตั้งวงศ์ใหม่ อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา
พ.ศ.1002-พ.ศ.1020 : ตั้งราชวงศ์โมริยะโดยพระเจ้าธาตุเสน หลังจากรบชนะพระเจ้าปิฐิยะ ในรัชกาลนี้มีการสร้างอ่างเก็บน้ำและวัดเพิ่มขึ้นอีกอย่างละ 18 แห่ง ซ่อมแซมสำนักสงฆ์ มหาวิหาร และส่งคณะฑูตศาสนาไปยังประเทศจีน
พ.ศ.1020-พ.ศ.1038 : พระเจ้ากัสสปที่ 1 ปลงพระชนม์พระเจ้าธาตุเสนผู้บิดา สร้างพระราชวังเป็นที่ประทับ ที่เขาสีหคีรี หรือสิคิริยะ
พ.ศ.1038-พ.ศ.1064 : พระเจ้าโมคคัลลานะที่ 1 รบและชิงอำนาจจากพระเจ้ากัสสปที่ 1 ทรงได้รับเส้นพระเกศาของพระเจ้าจากพุทธคยา พระเจ้ากุมารธาตุเสน สืบราชสมบัติต่อ และพระเจ้ากิตติเสนเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายในราชวงศ์โมริยะ
พ.ศ.1064-พ.ศ.1065 : พระเจ้าสิวะปลงพระชนม์พระเจ้ากิตติเสน (1064) และพระเจ้าอุปติสสะที่ 2 ปลงพระชนม์พระเจ้าสิวะ ตั้งวงศ์ใหม่
พ.ศ.1065-พ.ศ.1078 : พระเจ้าสิลากาลตั้งราชวงศ์ลัมพกัณณะขึ้นมาอีก หลังจากรบชนะ พระเจ้าอุปติสสะที่ 2 พระเจ้าทาฐาปภุติผู้เป็นโอรสครองราชย์ต่อ
พ.ศ.1078-พ.ศ.1116 : พระเจ้าโมคคัลลานะที่ 2 ยึดอำนาจากพระเจ้าทาฐาปภุติ อ่างเก็บน้ำที่ใหญ่ที่สุดในลังกา (คืออ่างปทวิยะ) สร้างในรัชกาลนี้ พระเจ้ากิตติสิรีเมฆครองราชย์ต่อมา
พ.ศ.1098-พ.ศ.1166 : พระเจ้ามหานาคจากราชวงศ์โมริยะ ตั้งวงศ์ใหม่ พระเจ้าอัคคโพธิที่ 2 สืบราชสมบัติต่อมา
: พระเจ้าสังฆติสสะที่ 2 ตั้งวงศ์ใหม่ ถูกพระเจ้าโมคคัลลานะที่ 3 ยึดอำนาจให้ครองราชย์
พ.ศ.1166-พ.ศ.1175 : ตั้งวงศ์ใหม่โดยพระเจ้าสิลาเมฆวัณณะ มีการกำจัดภิกษุทุศีลครั้งใหญ่ในอภัยคีรีวิหาร และเกิดความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์กับพระสงฆ์สำนักมหาวิหาร กษัตริย์องค์ต่อมาคือพระเจ้าอัคคโพธิที่ 3 แต่ก็ถูกพระเจ้าเชฎฐติสสะที่ 3 ยึดอำนาจ
พ.ศ.1176-พ.ศ.1186 : พระเจ้าอัคคโพธิที่ 3 รบชนะพระเจ้าเชฎฐติสสะที่ 3 ในรัชกาลนี้เกิดสงครามกลางเมือง
พ.ศ.1186-พ.ศ.1202 : พระเจ้าทาโฐปติสสะที่ 1 ตั้งวงศ์ใหม่ เป็นยุคจราจลของลังกา เกิดสงครามกลางเมืองแย่งอำนาจกันระหว่างพระเจ้าทาโฐปติสสะที่ 1 กับพระเจ้าอัคคโพธิที่ 3 ศาสนสถานต่างๆ ถูกทำลาย ต่อมาพระเจ้ากัสสปที่ 2 ขับไล่พระเจ้าทาโฐปติสสะ ที่ 1 ออกไป กษัตริย์องค์ต่อมาคือ พระเจ้าทัปปุละที่ 1 ต้องเสด็จหนีกลับไปยังแคว้นโรหณะที่เคยประทับ
พ.ศ.1202-พ.ศ.1227 : พระเจ้าทาโฐปติสสะที่ 2 ใช้ทหารรับจ้างชาวทมิฬรบได้ชัยชนะ อภัยคีรีวิหารได้รับการสนับสนุน สำนักมหาวิหารถูกก่อกวน ในรัชกาลพระเจ้าอัคคโพธิที่ 4 (1210-1226) เป็นยุคที่อำนาจของข้าราชการทมิฬเจริญถึงขีดสุด กษัตริย์เสด็จประทับที่เมืองโปลอนนารุวะ
: ระหว่าง พ.ศ.1226-1227 เสนาบดีชื่อ โปตถกุฎฐะ เป็นชาวทมิฬ หนุนพระเจ้าทัตตะและพระเจ้าหัตถทาฐะขึ้นครองราชย์ตามลำดับ
พ.ศ.1227-1376 : พระเจ้ามานวัมมะ นำกองทัพราชวงศ์ปัลลวะจากอินเดียเข้ามายึดอำนาจจากอิทธิพลของพวกทมิฬได้สำเร็จ อำนาจทมิฬเสื่อมลง ศิลปะปัลลวะแพร่หลายในเกาะลังกา
พ.ศ.1376-พ.ศ.1396 : พระเจ้าเสนะที่ 1 ครองราชย์ ราชวงศ์ปาณฑยะจากภาคใต้ของอินเดียเข้ามารุกรานยึดเกาะลังกาบางส่วน ต่อมาพระเจ้าเสนะที่ 2 (1396-1430) ส่งกองทัพไปยึดดินแดนของราชวงศ์ปาณฑยะ จนถึงราชธานี
พ.ศ.1475-พ.ศ.1489 : พระเจ้ากัสสปที่ 5 ทรงแต่งศัพทานุกรมภาษาสิงหล มีการส่งกองทัพไปช่วยพวกปาณฑยะรบกับพวกโจฬะในประเทศอินเดียแต่ปราชัยกลับมา
พ.ศ.1489-.ศ.1497 : รัชกาลของพระเจ้าอุทัยที่ 4 กองทัพโจฬะเข้ามายึดเมืองอนุราธะ ไว้ได้ พระเจ้าเสนะที่ 4 ขึ้นครองราชย์ต่อมา
พ.ศ.1499-พ.ศ.1515 : พระเจ้ามหินทะที่ 4 ครองราชย์ ลังกาถูกรุราน 2 ครั้ง คือ พ.ศ.1501 กองทัพราชวงษ์ราษฏรกูฏะ จากอินเดีย และ พ.ศ. 1502 กองทัพพวกโจฬะข้ามมารุกราน แต่ก็พ้นภัยมาได้
พ.ศ.1515-พ.ศ.1525 : พระเจ้าเสนะที่ 5 รบกับเสนาบดี ทหารรับจ้างชาติทมิฬเที่ยวปล้นสะดม ก่อความวุ่นวายไปทั่วประเทศ
พ.ศ.1525-พ.ศ.1572 : ในรัชกาลของพระเจ้ามหินทะที่ 5 เกิดจราจล เมืองอนุราธปุระ ถูกกองทัพของพระเจ้าราชราชะที่ 1 แห่งราชวงศ์โจฬะยึดครอง แคว้นรัชรฏะทางภาคเหนือก็ถูกพวกโจฬะปกครอง เมืองอนุราธปุระถูกย้ายไปขึ้นต่อเมืองโปลอนนารุวะ
: พระเจ้ามหินทะที่ 5 ครองแคว้นโรหณะทางภาคใต้ และในที่สุด กองทัพโจฬะก็จับพระองค์ได้ในปีพ.ศ.1560
พ.ศ.1583-พ.ศ.1589 : มีการตั้งวงศ์ใหม่ 3 ครั้ง คือ พร่ะเจ้ามหาลานกิตติ (1583-1585), พระเจ้าวิกกัมปัณฑุจากราชวงศ์ปาณฑยะ (1585-1586) และพระเจ้าชคตีปาล จากแคว้นอูธ ทางภาคเหนือ (1586-1589) ทั้ง 3 ราชวงศ์นี้ครองเฉพาะแคว้นโรหณะเท่านั้น
พ.ศ.1589-1598 : พระเจ้าโลกะและพระเจ้ากัสสปตั้งวงศ์ใหม่ตามลำดับ โดยได้ครองเฉพาะแคว้นโรหณะเหมือนกัน

2.ศรีลังกาสมัยโปโลนนารุวะ (พ.ศ.1598-พ.ศ.1779)
พ.ศ.1598-พ.ศ.1693 : พระเจ้าวิชัยพาหุ พระญาติของพระเจ้ามานวัมมะ ตีเอาเมืองโปลอนนารุวะคืนมาได้จากพวกโจฬะ สามารถขับไล่พวกโจฬะออกไปจากเกาะลังกาได้อย่างสิ้นเชิง ในปีพ.ศ.1613 ทรงสร้างพระราชวังใหม่ที่อนุราธปุระ แต่ภายหลังก็ย้ายมาประทับที่โปลอนนารุวะ ที่เมืองนื้ทรงสร้างพระราชวัง สร้างแพงและคูล้อมรอบเมือง และสร้างวัดพระเขี้ยวแก้ว, ทรงขอพระเถระจากพม่ามาฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในเกาะลังกาและส่งราชฑูตไปบูชาต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยา
พ.ศ.1653-พ.ศ.1654 : เกิดสงครามระหว่างพระเจ้าชัยพาหุที่ 1 กับพระเจ้าวิกรมพาหุ
พ.ศ.1654-พ.ศ.1675 : รัชกาลที่พระเจ้าวิกรมพาหุที่ 1 การปกครองเป็นไปอย่างกดขี่ ลังกาแบ่งออกเป็น 4 แคว้น, พระสงฆ์นำเขี้ยวแก้วและพระพุทธบาตรไปซ่อนไว้ที่แคว้นโรหณะ
พ.ศ.1969-พ.ศ.1730 : พระเจ้าปรากรมพาหุที่ 1 จากแคว้นทักขิณเทศ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะลังกา มารบชนะพระเจ้าคชพาหุที่ 2 ได้เมืองโปลอนนารุวะไว้ครอบครอง
: ในรัชกาลนี้มีการชำระพระสงฆ์ทุศีลรวม 3 นิกายสงฆ์เป็นนิกายเดียวกัน มีการสร้างวัด จัดอุปสมบททุกปีที่มณฑปกลางน้ำ สร้างเมืองโปลอนนารุวะให้สมกับเป็นราชธานี สร้างพระราชวัง ซ่อมกำแพงเมือง ด้านศาสนามีการสร้างวัดอาฬาหนบริเวณคัลวิหารเจดีย์ทมิฬ วัดเหนือ(ติวังกะ) สระบัว 8 กลีบ ซ่อมเจดีย์และวิหารที่เมืองอนุราธปุระ
: แคว้นโรหณะถูกปราบปราม เกาะลังการวมเป็นประเทศเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง พระเขี้ยวแก้วและพระพุทธบาตรกลับมาอยู่ยังราชธานีดังเดิม
: มีการยกกองทัพลังกาไปรุกรานประเทศพม่า (1707-1708) และภาคใต้ของประเทศอินเดีย
พ.ศ.1730-พ.ศ.1739 : พระเจ้านิสสังกมัลละตั้งราชวงศ์ลิงค์ ยกทัพไปรุกรานภาคใต้ของอินเดีย แต่ล้มเหลว มีการติดต่อกับแคว้นอันธาระ โอริสสา เบงกอล คุชรัต พม่า และกัมพูชา
: ด้านการศาสนามีการกำจัดภิกษุทุศีล สร้างเจดีย์รังโกต ซ่อมวฎะทาเค ยังตะทาเค สร้างนิสสังกลตามณฑป
พ.ศ.1739-พ.ศ.1758 : พระเจ้าโจฑคังคะ ปลงพระชนม์พระเจ้าวิกรมพาหุที่ 2 , พวกทมิฬเข้าทำลายโปลอนนารุวะ
พ.ศ.1758-พ.ศ.1779 : พระเจ้ามาฆะ (ชาวลิงค์จากแหลมมลายู) ตั้งวงศ์ใหม่ พระพุทธศาสนาและประชาชนถูกข่มเหงรังแก

3.ศรีลังกาสมัยหลัง (พ.ศ.1759 – พ.ศ.2051)
พ.ศ.1775-พ.ศ.1779 : พระเจ้าวิชัยพาหุที่ 3 ตั้งราชวงศ์ทัมพเทณิยะ ครองเฉพาะแคว้นมายารัฎ ทางทิศตะวันตกของเกาะลังกา ได้พระเขี้ยวแก้วและพระพุทธบาตรมารักษา
พ.ศ.1779-พ.ศ.1813 : พระเจ้าปรากรมพาหุที่ 1 เป็นกษัตริย์จากแคว้นมายารัฏ ได้สู้รบกับพระเจ้าจันทรภาณุ (ชาววะกะ) แห่งอาณาจักรตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช) และกำจัดพระเจ้ามาฆะได้ในปี พ.ศ.1798
พ.ศ.1813-พ.ศ.1818 : พระเจ้าวิชัยพาหุที่ 4 ถูกนายพลชื่อมิตตะปลงพระชนม์
พ.ศ.1818-พ.ศ.1827 : ตรงกับรัชกาลของพ่อขุนรามคำแหง พระเจ้าภูวไนกพาหที่ 1 ครองราชย์ ย้ายราชธานีไปอยู่ที่เมืองยาปวุวะ มีการติดต่อกลับพวกอาหรับ, ลังกาว่ากษัตริย์ปกครองระหว่างปี พ.ศ.1828-1829
พ.ศ.1830-พ.ศ.1836 : ตรงกับรัชกาลของพ่อขุนรามคำแหง พระเจ้าปรากรมพาหุที่ 3 ครองราชย์ที่เมืองโปลอนนารุวะ ได้ราวงศ์ปาณฑยะคุ้มครอง, มาร์โคโปโล ผ่านเกาะลังกา (1835)
พ.ศ.1845-พ.ศ.1869 : พระเจ้าปรากรพาหุที่ 4 เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ทัมพเทณิยะ ครองราชย์ที่เมืองกุรุเนคละ ทรงอุปถัมภ์อักษรศาสตร์
พ.ศ.1887-พ.ศ.1902 : พระเจ้าปรากรมที่ 5 และพระเจ้าภูวไนกพาหุที่ 4 ครองราชย์ร่วมสมัยกัน สมัยเดียวกันกับพระเจ้าลิไทของไทย มีราชธานีอยู่เมืองเททิคาม แต่ภายหลังก็เสด็จไปอยู่ที่แคว้นโรหณะ, ลังกาแบ่งออกเป็น 3 แคว้น
พ.ศ.1915-พ.ศ.1951 : เชงโฆ ขันทีจีน นำกองทัพขึ้นบกที่เกาะลังกาและกลับมารบชนะลังกาในพ.ศ. 1954
พ.ศ.1955-พ.ศ.2010 : พระเจ้าปรากรมที 6 ชนชาติลังกา ได้รับการสถาปนาให้เป็นกษัตริย์โดยจีน ภายหลังย้ายไปประทับที่เมืองโกฎเฎ สร้างพระราชวังและวัดพระเขี้ยวแก้ว
: กองทัพวิชัยนครยึดอาณาจักรแจฟนาได้ จนถึง พ.ศ. 1993 พระเจ้าปรากรมที่ 6 จึงสามารถตีคืนแจฟนาได้ รวมเกาะลังกาเป็นประเทศเดียวกัน วรรณคดีลังกา พระพุทธศาสนาและศาสนาฮินดูได้รับการบำรุงส่งเสริมไปพร้อมๆ กันในยุคนี้
พ.ศ.2010-พ.ศ.2012 : พระเจ้าวิชัยพาหุที่ 2 ขึ้นครองราชย์
พ.ศ.2013-พ.ศ.2021 : ศาสนฑูตจากเมืองหงสาวดีเข้ามาติดต่อปลายรัชสมัย เกาะลังกาแบ่งแยกเป็น 3 อาณาจักรอีก
พ.ศ.2027-พ.ศ.2051 : รัชกาลของพระเจ้าปรากรมพาหุที่ 8 ทรงปลงพระชนม์พระเจ้าปรากรมพาหุที่ 7 ที่ขึ้นครองราชย์ก่อนนหน้านี้

4.ศรีลังกาสมัยใหม่ (พ.ศ.2051-พ.ศ.2358) ยุคประเทศตะวันตกปกครอง
พ.ศ.2051-พ.ศ.2052 : พระเจ้าปรากรมพาหุที่ 9 ขึ้นครองราชย์ ประทับที่เมืองโกฎเฎ
พ.ศ.2077-พ.ศ.2085 : รัชกาลของพระเจ้าภูวไนกพาหุที่ 7 ลังกาแบ่งออกเป็น 4 อาณาจักร
พ.ศ.2085-พ.ศ.21254 : พระเจ้าธรรมปาละตั้งวงศ์ใหม่ เข้ารีตเป็นคาธอลิก โปรตุเกสได้เมืองโคลัมโบเป็นฐานที่มั่น
พ.ศ.2124-พ.ศ.2135 : พระเจ้าราชสิงห์ที่ 1 ตั้งวงศ์ใหม่ ประทับที่เมืองเสตวัจจะ
พ.ศ.2135-พ.ศ.2358 : เมืองแคนดี หรือ ศิริวัฒนบุรี เป็นราชธานี พระเจ้ากิตติศิริราชสิงห์ ครองราชย์ร (2290-2324) ตรงกับรัชกาลของพระเจ้าบรมโกศ กรุงศรีอยุธยา สมณฑูตลังกามาขอพระสงฆ์สยามนิกายไปอุปสมบทชาวลังกา
พ.ศ.2341-พ.ศ.2358 : พระเจ้าศิริราชาธิราชสีหะ เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ลังกา ถูกอังกฤษจับไปในพ.ศ.2358
พ.ศ.2338-พ.ศ.2491 : อังกฤษยึดครองเกาะลังกาได้ มีการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน, การเลิกทาส, การปฏิรูปการศึกษา

5.ศรีลังกาสมัยปัจจุบัน
พ.ศ.2474 : ศรีลังกาปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
พ.ศ.2491 : ชาวสิงหลและทมิฬมีการแบ่งเขตกันอยู่
พ.ศ.2525 : ศรีลังกาได้เลือกประธานาธิบดีครั้งแรก
พ.ศ.2526 : เกิดความขัดแย้งรุนแรงครั้งใหญ่ระหว่างชาวสิงหล กับชาวทมิฬ
พ.ศ.2530 : ศรีลังกาขอความช่วยเหลือจากอินเดียเพื่อแก้ไขปัญหาไกล่เกลี่ยชาวสิงหลกับชาวทมิฬ

ถ้ำดัมบุลลา เมืองดัมบุลลา มรดกโลกทางวัฒนธรรม ศรีลังกา
ถ้ำดัมบุลลา ประวัติศาสตร์ประเทศศรีลังกา
ถ้ำดัมบุลลา เมืองดัมบุลลา มรดกโลกทางวัฒนธรรม ศรีลังกา
ถ้ำดัมบุลลา ประวัติศาสตร์ประเทศศรีลังกา

ถ้ำดัมบุลลา ศรีลังกา

ถ้ำดัมบุลลา ศรีลังกา

ถ้ำดัมบุลลา ศรีลังกา

ถ้ำดัมบุลลา ศรีลังกา

ถ้ำดัมบุลลา ศรีลังกา

ถ้ำดัมบุลลา ศรีลังกา

ถ้ำดัมบุลลา ศรีลังกา

ถ้ำดัมบุลลา ศรีลังกา
ศรีลังกา ทัวร์ศรีลังกา เที่ยวศรีลังกา ประเทศศรีลังกา
• ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศศรีลังกา
ศรีลังกา
• ศรีลังกา ประเทศศรีลังกา เป็นเกาะเล็กๆ รูปร่างคล้ายไข่มุก หรือลูกแพร์ สำหรับคนไทย ศรีลังกาเป็นเหมือนญาติสนิท ช่วยเหลือกันมาตั้งแต่โบราณกาลจวบจนปัจจุบัน
ศรีลังกา
• ตอนที่ 1 ศรีลังกา อนุราธปุระ เจดีย์รุวันเวลิ เจดีย์ถูปาราม ทริปเที่ยวศรีลังกา 5 วัน 4 คืน เก็บรูปและข้อมูลท่องเที่ยวมาฝาก
วัดพระเขี้ยวแก้ว
• วัดพระเขี้ยวแก้ว เมืองแคนดี้ พระเขี้ยวแก้ว เป็นสมบัติอันล้ำค่าสำหรับชาวพุทธศรีลังกา ประดิษฐานอยู่ในผอบและอยู่ในเจดีย์อีก 4 ชั้นที่วัดพระเขี้ยวแก้ว (วัดดาลดา มัลลิกาวะ)
ทัวร์ศรีลังกา
• ตอนที่ 2 ทัวร์ศรีลังกา โปโลนนารุวะ สิกิริยา พระราชวังลอยฟ้า ทริปเที่ยวศรีลังกา 5 วัน 4 คืน เก็บรูปและข้อมูลท่องเที่ยวมาฝาก
ของฝากจากศรีลังกา
• ของฝากจากศรีลังกา ร้านขายของที่ระลึกศรีลังกามีมากมาย เช่น พวงกุญแจ แม็กเน็ท หน้ากาก ผ้าบาติก งานแกะสลักไม้ ใบชา อัญมณีต่างๆ
เที่ยวศรีลังกา
• ตอนที่ 3 เที่ยวศรีลังกา ถ้ำดัมบุลลา เมืองแคนดี้ ระบำศรีลังกา ทริปเที่ยวศรีลังกา 5 วัน 4 คืน เก็บรูปและข้อมูลท่องเที่ยวมาฝาก
ระบำศรีลังกา
• ระบำศรีลังกา เป็นการผสมผสานกันระหว่างระบำพื้นเมืองแบบดั้งเดิมกับระบำร่วมสมัย ซึ่งหาชมทั่วๆ ไปได้ยาก ลีลาท่วงท่าของระบำสะท้อนให้เห็นถึงจิตวิญญาณของความเป็นศรีลังกา
ประเทศศรีลังกา
• ตอนที่ 4 ประเทศศรีลังกา วัดพระเขี้ยวแก้ว โคลัมโบ วัดคงคาราม ทริปเที่ยวศรีลังกา 5 วัน 4 คืน เก็บรูปและข้อมูลท่องเที่ยวมาฝาก
ทัวร์โปรโมชั่น
• โปรแกรมทัวร์ 2567
• กรุ๊ปจอยทัวร์หน้าร้าน
ทัวร์ซีหนิง ชิงไห่ • XI-AN875 : BEAUTIFUL กานซู – ชิงไห่ ทะเลสาบเกลือ ทุ่ง Rapeseed flower ภูเขาสายรุ้ง ล่องเรือแม่น้ำเหลือง ล่องเรือทะเลสาบชิงไห่ เขาสุริยันจันทรา (8 วัน 7 คืน - FD)
• ชม ทะเลสาบเกลือฉาข่า เป็นทะเลสาบน้ำเค็ม และ ทะเลสาบชิงไห่
• ชม ทุ่งดอกRapeseed ทะเลดอกมัสตาร์ดที่สวยที่สุดในประเทศจีน
• ชม ทุ่งหญ้าแห่งเทือกเขาฉีเหลียนซาน 1 ใน 6 ทุ่งหญ้าที่สวยงามที่สุดในประเทศจีน
• พักโรงแรม 5 ดาว - อาหารดี - บินแอร์เอเชีย
• วันที่ 23 - 30 มิถุนายน 2567 :
ราคา 54,995.-บาท
• TIBET-51 : คุนหมิง ทิเบต ลาซา วังโปตาลา วัดโจคัง ทะเลสาบ เมืองซิกาท์เซ่ วัดเซร่า รถไฟหลังคาโลก ซีหนิง ซีอาน โชว์ทิเบต (8 วัน 7 คืน - TG)
• นั่งรถไฟสายหลังคาโลก ลาซา-ซีหนิง ห้องวีไอพี
• เที่ยวพระราชวังโปตาลา และเมืองซิกาท์เซ่ วัดปันเชนลามะ

• ไม่ลงร้านช้อป ไม่ขาย Option - บินการบินไทย
• วันที่ 19 - 27 พฤษภาคม 2567 : ราคา 77,995.-บาท
• TG-651 : คุนหมิง ต้าหลี่ ลี่เจียง แชงกรีล่า วัดซงจ้านหลิง ภูเขาหิมะมังกรหยก สวนดอกไม้ฮอบบิท เมืองโบราณลี่เจียง (6 วัน 5 คืน - TG)
• นั่งรถไฟความเร็วสูง คุนหมิง-แชงกรีล่า เที่ยวสวนดอกไม้ฮอบบิท
• นั่งกระเช้าใหญ่ขึ้นภูเขาหิมะมังกรหยก

• พัก 5 ดาว - ไม่ลงร้านช้อป ไม่ขาย Option - บินการบินไทย
• วันที่ 23 – 28 ตุลาคม : 5 – 10 ธันวาคม : ราคา 37,995.-บาท
• วันที่ 28 ธันวาคม - 2 มกราคม 2568 : ราคา 39,995.-บาท
• INDIA-871: แคชเมียร์ ทัชมาฮาล ดอกทิวลิปบาน อัคราฟอร์ท พาฮาลแกรม กุลมาร์ค โซนามาร์ค ทะเลสาบดาล (8 วัน 6 คืน - TG)
• เที่ยวแคชเมียร์ พาฮาลแกรม กุลมาร์ค โซนามาร์ค
• ชม ทัชมาฮาล สิ่งมหัศจรรย์ของโลก
• พักโรงแรม 4 ดาว บินการบินไทยและบินภายใน 2 ไฟลท์
• วันที่ 14 - 21 เมษายน 2567
• ID19 : แคชเมียร์  - เลห์ ลาดัก พาฮาลแกรม โซนามาร์ค ทะเลสาบพันกอง นูบราวัลเลย์ วัดมาลายูรู วัดเฮมิส วัดธิคเซย์ (10 วัน 8 คืน - TG)
• เที่ยวแคชเมียร์ พาฮาลแกรม โซนามาร์ค
• เที่ยวเลห์ ลาดัก ทะเลสาบพันกอง นูบร้าวัลเลย์
• พักโรงแรม 4 ดาว บินการบินไทยและบินภายใน 2 ไฟลท์
• วันที่ 18 – 27 พฤษภาคม 2567 : ราคา 68,995.-บาท
• TG-659 : เฉิงตู จิ่วจ้ายโกว อุทยานหวงหลง ล่องเรือพระใหญ่เล่อซาน เมืองโบราณลั่วไต้ หมีแพนด้า เมืองโบราณหวงหลงซี โชว์เปลี่ยนหน้ากาก (6 วัน 5 คืน - TG)
• เที่ยวครบ 2 อุทยานที่สวยงามแห่งเสฉวน จิ่วจ้ายโกว-หวงหลง
• เที่ยวเมืองเล่อซาน ล่องเรือ ไหว้พระใหญ่เล่อซาน
• อาหารดี - โรงแรม 5 ดาว – บินการบินไทย - ไม่ลงร้านช้อป กรุ๊ป 16 ท่าน

• วันที่ 11 - 16 ต.ค., 18 - 23 ต.ค., 23 - 28 ต.ค., 7 - 14 พ.ย. : ราคาเริ่มต้น 41,995.-บาท
• TG-879 : เฉิงตู จิ่วจ้ายโกว อุทยานหวงหลง ภูเขาง้อไบ้ ล่องเรือพระใหญ่เล่อซาน เมืองโบราณลั่วไต้ หมีแพนด้า โชว์เปลี่ยนหน้ากาก (8 วัน 7 คืน - TG)
• เที่ยวครบ 2 อุทยานที่สวยงามแห่งเสฉวน จิ่วจ้ายโกว-หวงหลง
• ขึ้นเขา ง้อไบ้ 1 ใน 4 พุทธคีรีแห่งประเทศจีน (เที่ยวเต็มวัน)

• เที่ยวเมืองเล่อซาน ล่องเรือ ไหว้พระใหญ่เล่อซาน
• อาหารดี - โรงแรม 5 ดาว – บินการบินไทย - ไม่ลงร้านช้อป กรุ๊ป 16 ท่าน

• วันที่ 3 - 10 พฤศจิกายน : ราคา 49,995.-บาท
• CANAT19 : เจาะลึกเส้นทางสายไหม ซีอาน ลั่วหยาง หลงเหมิน วัดเส้าหลิน ถ้ำม่ายจีซาน จางเย่ ด่านเจียยี่กวน ตุนหวง ขี่อูฐ ถ้ำโมเกาคู ทูรูฟาน อุรุมฉี (12 วัน 10 คืน - FD)
• เที่ยวชมเส้นทางสายไหมและเส้นทางพระถังซำจั๋งแบบเจาะลึกยาวๆ
• ชม 3 ถ้ำพระพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศจีน
• ชม ถ้ำตุนหวง ขี่อูฐทะเลทราย ทะเลสาบวงพระจันทร์
• พักโรงแรม 5 ดาว - อาหารดี - บินแอร์เอเชียและบินภายใน
• วันที่ 11 - 22 ตุลาคม 2567 :
ราคา 80,995.-บาท
• INDIA877 : อินเดีย เนปาล พุทธคยา ราชคฤห์ กุสินารา ลุมพินี สาวัตถี ล่องเรือแม่น้ำคงคา สารนาท พารานสี (8 วัน 7 คืน - TG)
• เที่ยวครบ 4 สังเวชนียสถาน พุทธคยา กุสินารา ลุมพินี สาวัตถี พาราณสี
• ชม ล่องเรือแม่น้ำคงคา เที่ยวชม วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี
• พักโรงแรม 4 ดาว - มีอาหารไทย - มีพระวิทยากร - บินการบินไทย
• วันที่ 8 - 15 ธันวาคม : วันที่ 28 ธันวาคม - 4 มกราคม : 9 - 16 กุมภาพันธ์
2568
• CSX651-FD : จางเจียเจี้ย ประตูสวรรค์ เมืองโบราณฟ่งหวง เมืองโบราณฝูหรงเจิ้น เขาเทียนเหมินซาน ภูเขาอวตาร ทะเลสาบเป่าฟงหู สะพานแก้ว โชว์จิ้งจอกขาว (6 วัน 5 คืน - FD)
• เที่ยวครบ 4 ไฮไลท์ ถ้ำประตูสวรรค์ ภูเขาอวตาร ทะเลสาบเป่าฟงหู และสะพานกระจก
• เที่ยวครบ 2 เมืองโบราณ เมืองโบราณฟ่งหวง และ เมืองโบราณฝูหรงเจิ้น
• พิเศษ นอนที่ เมืองโบราณฝูหรงเจิ้น ชมบรรยากาศยามเย็นและถ่ายรูปสวยๆแสงสีแสงไฟยามค่ำคืน
• ชม โชว์จิ้งจอกขาว ที่โด่งดังแห่งจางเจียเจี้ย - อาหารดี - โรงแรมที่พักระดับ 5 ดาว

• วันที่ 18 - 23 ตุลาคม 2567 : ราคา 36,995.-บาท
ทัวร์คานาสือ • XIN-864 : ซินเจียง อูรูมูฉี หมู่บ้านเหอมู่ หุบเขาอัลไต อุทยานคานาสือ ธารน้ำห้าสี เข้าอุทยานคานาสือ 2 วัน (8 วัน 6 คืน - UQ)
• ชมดอกไม้ป่าบานปีและใบไม้เปลี่ยนสีปีละครั้งที่ อุทยานคานาสือ และ หมู่บ้านเหอมู่
• เที่ยวครบ ธารน้ำห้าสี แพะเมืองผี สถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อบนเส้นทางซินเจียงเหนือ
• เข้า อุทยานคานาสือ 2 วัน เน้นถ่ายรูปสวยๆ
• บินตรงอูรูมูฉี - อาหารดี - โรงแรมที่พักระดับ 4-5 ดาว
• วันที่ 17 – 24 พฤษภาคม, 21 – 28 มิถุนายน 2567 : ราคาเริ่มต้น 54,995.-บาท
   
• สอบถามทัวร์เพิ่มเติม   ID LINE : @oceansmiletour
• คุณเล็ก โทร.082-3656241   • ID Line : lekocean2
• คุณโจ้ โทร.093-6468915    • ID Line : oceansmile
• รับทำกรุ๊ปเหมา เที่ยวส่วนตัว ดูงาน
• ประเทศจีน (ทุกเมือง) อินเดีย (ทุกเมือง)
• เนปาล ภูฏาน บาหลี ศรีลังกา ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า
บริษัท โอเชี่ยนสไมล์ทัวร์ จำกัด โทร. 0-2969 3664, 0-2949 5134-36
เลขที่ 23/121 ซอยนวมินทร์ 161 แยก1-4 ถ.นวมินทร์ แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10230

Hotline 0-936468915, 0-823656241 (ใบอนุญาตนำเที่ยวเลขที่ 11/5028)