วิหารอะโครโปลิส เพอร์กามุม |
วิหารอะโครโปลิส เพอร์กามุม |
วิหารอะโครโปลิส เพอร์กามุม |
วิหารอะโครโปลิส เพอร์กามุม |
วิหารอะโครโปลิส
เมืองเพอร์กามุม |
|
|
วิหารเทพีอาร์เทมิส
1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ยุคโบราณ |
|
|
ประวัติศาสตร์ตุรกี
ก่อนสมัยเติร์ก
คาบสมุทรอานาโตเลีย (หรือที่เรียกว่าเอเชียไมเนอร์) ซึ่งเป็นที่ตั้งของพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตุรกี
เป็นดินแดนที่มีการตั้งถิ่นฐานอย่างต่อเนื่องมายาวนานเพราะอยู่ในตำแหน่งที่
เชื่อมต่อระหว่างทวีปเอเชียและยุโรป ร่องรอยการตั้งถิ่นฐานในตอนต้นของยุคหินใหม่
เช่น ชาตัลเฮอยืค, ชาเยอนู, เนวาลี โจลี (Nevali Cori), ฮาจิลาร์
(Hacilar), เกอเบกลี เทเป และ เมร์ซิน (Mersin) นับได้ว่าเป็นการตั้งถิ่นฐานที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
การตั้งถิ่นฐานในเมืองทรอยเริ่มต้นในยุคหินใหม่และต่อเนื่องไปถึงยุคเหล็ก
ในประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกไว้ ชาวอานาโตเลียใช้ภาษาอินโดยูโรเปียน,
ภาษาเซมิติก และภาษาคาร์ตเวเลียน และยังมีภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษา
นักวิชาการบางคนเสนอว่าอานาโตเลียเป็นศูนย์กลางที่ภาษากลุ่มอินโดยูโรเปียนนั้นกระจากออกไป
จักรวรรดิแห่งแรกของบริเวณอานาโตเลียคือจักรวรรดิของชาวฮิตไตต์
ซึ่งรุ่งเรืองขึ้นประมาณศตวรรษที่ 18 ถึง 13 ก่อนคริสตกาล
หลังจากนั้น อาณาจักรฟรีเจียซึ่งมีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองกอร์ตีอุมมีอำนาจขึ้นมาแทนจน
กระทั่งถูกทำลายโดยชาวคิมเมอเรียในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล
แต่ชาวคิมเมอเรียก็พ่ายแพ้ต่ออาณาจักรลีเดียซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง
ซาร์ดีสในเวลาต่อมา ลีเดียเป็นอาณาจักรที่ร่ำรวยและเป็นผู้คิดค้นเหรียญกษาปณ์
ประมาณ 1200 ปีก่อนคริสตกาล ชายฝั่งตะวันตกของอานาโตเลียถูกครอบครองโดยชาวกรีกไอโอเลียนและอีโอเนียน
ชาวเปอร์เซียแห่งจักรวรรดิอาเคเมนิดสามารถพิชิตพื้นที่ทั้งหมดได้ในศตวรรษที่
6 ถึง 5 ก่อนคริสตกาล แต่หลังจากนั้นดินแดนแห่งนี้ก็ตกเป็นของอเล็กซานเดอร์มหาราช
ในปี 334 ก่อนคริสตกาล อานาโตเลียจึงถูกแบ่งออกเป็นดินแดนเฮลเลนิสติกขนาดเล็กหลายแห่ง
(รวมทั้ง บิทูเนีย คัปปาโดเกีย แพร์กามอน และพอนตุส) ซึ่งดินแดนเหล่านี้ตกเป็นของจักรวรรดิโรมันในกลางศตวรรษที่
1 ก่อนคริสตกาล ในปี ค.ศ. 324 จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 เลือกเมืองไบแซนเทียมให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของจักรวรรดิโรมัน
และตั้งชื่อให้ว่า โรมใหม่ (ภายหลังกลายเป็นคอนสแตนติโนเปิล
และอิสตันบูล) หลังจากที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกเสื่อมลง เมืองนี้ก็กลายเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์ |
พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งเกอเรเม่
เมืองคัปปาโดเจีย |
|
|
พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งเกอเรเม่
เมืองคัปปาโดเจีย |
|
|
พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งเกอเรเม่ |
เกอเรเม่ เมืองคัปปาโดเจีย |
เกอเรเม่ เมืองคัปปาโดเจีย |
พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งเกอเรเม่ |
เกอเรเม่ เมืองคัปปาโดเจีย |
เกอเรเม่ เมืองคัปปาโดเจีย |
เกอเรเม่ เมืองคัปปาโดเจีย |
คัปปาโดเจีย มหานครใต้ดิน |
จักรวรรดิไบเซนไทน์ (ค.ศ. 395 1100)
ปี ค.ศ. 305 ได้เกิดสงครามกลามเมืองระหว่างผู้นำของโรมัน
2 คน คือลีซีนีอุส (Licinius) กับ คอนสแตนติน(Constantin)
ผลปรากฏว่าคอนสแตนตินได้รับชัยชนะเหนือลีซีนีอุส ในสมรภูมิใกล้เมืองไบแซนทิอุม
(Byzantium) ในปี ค.ศ. 324 และได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิของจักรวรรดิของโรมัน
ในปี ค.ศ. 330 จักรพรรดิคอนสแตนตินได้ทรงย้ายเมืองหลวงของจักรวรรดิโรมันจากกรุงโรม
มายังเมืองไบเซนทิอุม ซึ่งตามตำนานเล่าว่า บิซัส (Buzas) แห่งเมการา
(Megara) ได้นำชาวกรีกมาสร้าง ไว้ในราวศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล
ภายหลังที่จักรพรรดิคอนสแตนตินได้ย้ายมืงหลวงมายังเมืองไบเซนทิอุมแล้ว
ทรงโปรดให้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นกรุงโรมใหม่ หรือ โนวา โรม
(Nova Rome) อย่างไรก็ดี ภายหลังที่จักรพรรดิคอนสแตนตินสิ้นพระชนม์ในปี
ค.ศ. 337 กรุงโนวา โรม ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น คอนสแตนติโนเปิล
เพือเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระองค์
พระนามจักรพรรดิโรมันในยุคที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง
1.คอนสแตนตินที่ 1 (Constantinus I) ค.ศ. 330 337
2.คอนสแตนตินที่ 2 (Constantinus I) ค.ศ. 337 360
3.จูเลียน (Julian) ค.ศ. 360 363
4.โจเวียน (Jovian) ค.ศ. 363 364
5.วาเลนส์ (Valens) ค.ศ. 364 378
6.เกรเทียน (Gratien) ค.ศ. 378 383
7.เธโอดอซีอุสที่ 1 (Theodosius I) ค.ศ. 383 395
ในปี ค.ศ. 395 จักรพรรดิเธโอดอซีอุสที่ 1 (Theodosius I)
ได้ทรงแบ่งอาณาจักรโรมันออกเป็น 2 ส่วน เพื่อพระราชทานให้แก่พระราชโอรส
2 พระองค์ คือ เจ้าชายอาร์คาดิอุส (Arcadius) ได้ครองจักรวรรดิโรมันตะวันออก
มีกรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง ในขณะที่อาณาจักรโรมันตะวันตกได้ถูกทำลายและล่มสลายไปในปี
ค.ศ. 476 ซึ่งนำไปสู่ยุคมืดในยุโรป อาณาจักรโรมันตะวันออกได้เจริญรุ่งเรืองสืมมากว่า
1,000 ปี ภายหลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก นักประวัติศาสตร์ได้เรียกอาณาจักรโรมันตะวันออกว่า
อาณาจักรไบเซนไทน์ (Byzantine) ตามชื่อเมืองไบเซนทิอุม (Byzantium)
อาณาจักรไบเซนไทน์ได้หันมารับภาษาและวัฒนธรรมของกรีก ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในอานาโตเลียมาตั้งแต่ครั้งที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเข้ามายึดครองอานาโตเลียในคริสต์ศตวรรษที่
4 ก่อนคริสตกาล ภาษาละตินของโรมันจึงค่อยๆ ถูกแทนที่ด้วยภาษากรีก
และได้กลายเป็นภาษาที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในอาณาจักรไบเซนไทน์ในเวลาต่อมา
อาณาจักรไบเซนไทน์ได้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในรัชกาลของจักรพรรดิจัสติเนียน
(Justinian) (ครองราชย์ระหว่างปี 527 565) จักรพรรดิพระองค์นี้เป็นผู้สร้างวิหารเซนต์โซเฟียอัน
ยิ่งใหญ่อลังการ เป็นเพชรเม็ดเอกของสถาปัตยกรรมแบบไบเซนไทน์
ซึ่งยังยืนหยัดท้าทายกาลเวลามาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกือบ
1,500 ปี สิ้นรัชกาลของจักรพรรดิจัสติเนียน อาณาจักรไบเซนไทน์ค่อยๆ
เสื่อมอำนาจลงตามลำดับ ในปี ค.ศ. 1204 กรุงคอนสแตนติโนเปิลถูกโจมตีและยึดครองโดยกองทหารครูเสด
(Crusaders) เป็นเวลาถึง 6 ปี ความเสียหายจากการโจมตีและยึดครองในครั้งนี้
ได้ส่งผลให้อาณาจักรไบเซนไทน์เสื่อมอานาจลงอย่างรวดเร็ว |
เมืองเอเฟซุส
(Ephesus) หรือเอเฟส (Efes) : มหานครโบราณของโรมัน |
|
|
สงครามครูเสด
สงครามครูเสดมีจุดเริ่มต้นมาจากการเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากชาติในยุโรปของจักรพรรดิอเล็กซิอุสที่
1 แห่งจักรวรรดิไบเซนไทน์ เพื่อร่วมกันต่อต้านการคุกคามของมุสลิมเติร์ก
ที่กำลังแผ่ขยายอำนาจเข้าสู่ดินแดนของอาณาจักรไบเซนไทน์ และได้ยึดครองนครเยรูซาเลม
ดินแดนอันศักดิ์สิทธิของชาวคริสต์ ข้อเรียกร้องดังกล่าวได้รับการยอมรับกันเป็นอย่างดีจากพระสันตปาปาเออร์บับที่
2 (Urban II) พระองค์ได้ทรงเรียกร้องให้ผู้นำยุโรปในขณะนั้นร่วมมือกันขับไล่มุสลิมเติร์ก
ออกจากนครเยรูซาเลม จักรพรรดิอเล็กซิอุสที่ 1 หาทราบไม่ว่า
การเรียกร้องของพระองค์จะเป็น การชักศึกเข้าบ้าน และนำไปสู่การล่มสลายของอาณาจักรของพระองค์เองในที่สุด
ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 กาหลิบอูมาร์ (Umar) แห่งอียิปต์ได้
ยึดครองนครเยรูซาเล็มจากชาวคริสเตียน ชาวคริสต์ในนครเยรูซาเลมถูกกลั่นแกล้งรังควาน
ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1071 เซลจุกเติร์กได้เข้ายึดครองนครเยรูซาเลม
และได้เริ่มรุกรานเข้ามายังอานาโตเลีย ดินแดนภายใต้การปกครองของไบเซนไทน์
ณ สมรภูมิเมือง Malazgirt สุลต่าน Alparslan ผู้นำชาวเติร์กเผ่าเซลจุกลามารถเอาชนะกองทัพของจัดรพรรดิโรมันนุสที่
4 ของไบเซนไทน์ ชัยชนะครั้งนี้ได้เปิดทางให้ชาวเติร์กจากเอเชียกลางหลั่งไหลเข้าสู่อานาโต
เลีย การรุกรานของชาวเติร์กทำให้จักรพรรดิอเล็กซิอุสที่ 1
แห่งอาณาจักรไบเซนไทน์ต้องร้องขอความช่วยเหลือไปยังพระสันตปาปาเออร์บันที่
2 ซึ่งได้รับการตอบสนองเป็นอย่างดี สงครามครูเสดครั้งที่ 1
จึงเริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1096 โดยมีจุดประสงค์สำคัญเพื่อขับไล่เติร์กออกจากนครเยรูซาเลม
สงครามครูเสดได้ยืดเยื้อต่อมาอีก 8 ครั้ง ก่อนที่จะยุติลงในปี
ค.ศ. 1272
ในระหว่างสงครามครูเสดครั้งที่ 4 กองทหารครูเสดแทนที่จะพยายามบุกยึดนครเยรูซาเลมคืนจากมุสลิมเติร์ก
กลับบุกเข้าปล้นนครคอนสแตนติโนเปิลในปี ค.ศ. 1204 และได้แบ่งแยกดินแดนของอาณาจักรไบเซนไทน์ออกเป็นหลายส่วนเพื่อปกครองกันเอง
เชื้อพระวงค์ในไบเซนไทน์ซึ่งเสด็จลี้ภัยไปอยู่ที่เมือง Nicaea
ทางตะวันตกของอานาโตเลีย ต้องใช้เวลานานเกือบ 60 ปี จึงสามารถยึดนครคอนสแตนติโนเปิลกลับคืนมาได้
แต่อาณาจักรไบเซนไทน์ก็ตกอยู่ในสภาวะที่เสื่อมทรมอย่างหนัก
ชนเชื้อสายเติร์กได้เข้าครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ของอานาโตเลีย
และสามารถยึดครองนครคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1453
ลำดับเหตุการณ์สงครามครูเสด (Crusade
War)
1.พระสันตะปาปาอูร์บันที่ 2 (Urban II) บอกความประสงค์แก่ทหารครูเสดให้ยึดดินแดนไบแซนทิอุมคืนจากพวกเตริร์ก
ก่อให้เกิดสงครามครูเสดซึ่งยืดเยื้อนับร้อยปี
2.สงครามครูเสดครั้งที่ 1 ค.ศ. 1096-1099 รู้จักกันในนามครูเสดของประชาชน
มีชาวนามากมายเสียชีวิตระหว่างเดินทาง
3.สงครามครูเสดครั้งที่ 2 ค.ศ. 1147-1149 มีการโจมตีมุสลิมในสเปน
โปรตุเกส และตุรกีซีกตะวันตก เป็นการเริ่มต้นของจักรวรรดิโรมันตะวันออก
4.สงครามครูเสดครั้งที่ 3 ค.ศ. 1189 นำโดยกษํตริย์อังกฤษ
ฝรั่งเศส และพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 (Frederick) แห่งจักรวรรดิโรมั
5.สงครามครูเสดครั้งที่ 4 ค.ศ. 1202-1204 มีการยึดคอนสแตนติโนเปิล
6.สงครามครูเสดครั้งที่ 5 ค.ศ. 1217 ยึดดินแดนอียิปต์
7.สงครามครูเสดครั้งที่ 6 ค.ศ. 1228-1229 มีการเจรจาสงบศึก
10 ปี
8.สงครามครูเสดครั้งที่ 7 ค.ศ. 1248-1250 พระเจ้าหลุยส์ที่
9 แห่งฝรั่งเศส (Louis IX of France)
9.สงครามครูเสดครั้งที่ 8 ค.ศ. ครั้งสุดท้าย กองทัพครูเสดกลับยุโรป |
วิหารเซนต์โซเฟีย
เมืองอิสตันบลู |
|
|
เมืองเอเฟซุส หรือ เอเฟส |
เมืองเอเฟซุส หรือ เอเฟส |
เมืองเอเฟซุส หรือ เอเฟส |
ห้องสมุดเซลซุส เอเฟซุส |
วิหารเซนต์โซเฟีย อิสตันบูล |
วิหารเซนต์โซเฟีย ตุรกี |
ภายในวิหารเซนต์โซเฟีย |
ภายในวิหารเซนต์โซเฟีย |
อาณาจักรเซลจุกเติร์ก (ค.ศ. 1077 1118)
ความอ่อนแอของอาณาจักรไบเซนไทน์ได้เปิดทางให้พวกเติร์กจาก
เอเชียกลางเปิดฉากการรุกรานเข้าสู่ดินแดนอานาโตเลียของอาณาจักรไบเซนไทน์มาก
ยิ่งขึ้น ชนเชื้อสายเติร์กซึ่งดั้งเดิมเป็นชนเร่ร่อนแบ่งออกเป็นหลายเผ่า
ถิ่นฐานดั้งเดิมของชนเชื้อสายเติร์กอยู่ในเอเชียกลางแถบเทือกเขาอัลไตในประเทศมองโกเลียในปัจจุบัน
ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและทางธรรมชาติ
ทำให้ชาวเติร์กอพยพออกจากเอเชียกลางไปยังดินแดนต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียง
ชาวเติร์กเผ่าหนึ่งเรียกว่า เซลจุก (Seljuk) ได้อพยพมาทางทิศตะวันตกเข้าสู่เขตทะเลสาบแคสเปียน
และได้ขยับเข้ามาใกล้อานาโตเลียในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ในปี
พ.ศ. 2244 (ค.ศ. 1071) สุลต่าน Alparslan ผู้นำชาวเติร์กเผ่าเซลจุกประสบชัยชนะในสงครามเหนือกองทัพของจักรพรรดิโรมานุสที่
4 แห่งจักรวรรดิไบเซนไทน์ ณ สมรภูมิเมืองมาลัซเกิร์ต (Malazgirt)
(ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตจังหวัดมุส ในภาคตะวันออกของประเทศตุรกี)
ชัยชนะครั้งนี้ได้เปิดทางให้ชนเชื้อสายเติร์กจากเอเชียกลางหลั่งไหลเข้าสู่
ดินแดนอานาโตเลีย
ในตอนแรกเซลจุกเติร์กพยายามที่จะยึดเมืองอิซนิกซึ่ง ตั้งอยู่ไม่ไกลจากนครอิสตันบูล
มาเป็นเมืองหลวงของตน แต่ถูกไบเซนไทน์และกองทหารครูเสดร่วมกันขับไล่ออกไป
จนต้องถอยไปปักหลักในตอนกลางของอานาโตเลีย ในปีค.ศ. 1077 เซลจุกได้สถาปนาอาณาจักรแห่งแรกของตนขึ้นในดินแดนอานาโตเลีย
เรียกชื่อว่า The Sultanate of Rum มีราชธานีอยู่ที่เมืองคอนยา
ซึ่งตั้งอยู่บนที่ราบอันกว้างใหญ่ในตอนกลางของอานาโตเลีย สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปของเมืองคอนยา
ซึ่งป็นที่ราบปราศจากต้นไม้ มีความละม้ายคล้ายคลึงกับถิ่นฐานดั้งเดิมของเติร์กในเอเชียกลางมาก
อาณาจักรเซลจุกในอานาโตเลียเจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นอยู่ได้เพียงระยะ
เวลาสั้นๆ ไม่ถึง 100 ปี ก็เกิดการรบพุ่งกันเองตามแบบของสังคมแบบชนเผ่า
ซึ่งมักจะมีเรื่องรบพุ่งกันเองอยู่เสมอๆ ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของสุลต่าน
Sanjar ในปี ค.ศ. 1157 อาณาจักรเซลจุกก็ล่มสลายและแตกออกเป็นหลายแว่นแคว้นเรียกว่า
Beylic (Emirate
จักรวรรดิออตโตมัน
จักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire) ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ.
1996 (ค.ศ. 1453) หลังการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ มีสุลต่านเมห์เหม็ดที่
2 เป็นผู้นำมี คอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบูล) เป็นเมืองหลวง
ในตอนแรกที่ยึดคอนสแตนติโนเปิลได้ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองคอนสแตนติโนเปิลใหม่เป็น
อิสตันบูล และเปลี่ยนโบสถ์ฮาเจีย โซเฟีย ที่เป็นโบสถ์ในศาสนาคริสต์
เป็นมัสยิดในศาสนาอิสลาม
อาณาจักรออตโตมันมีอาณาเขตที่ครอบคลุมถึง 3 ทวีป ได้แก่
เอเชีย แอฟริกา และยุโรป ซึ่งขยายไปไกลสุดถึงช่องแคบยิบรอลตาร์ทางตะวันตก
นครเวียนนาทางทิศเหนือ ทะเลดำทางทิศตะวันออก และอียิปต์ทางทิศใต้
ในช่วงที่เซลจุกเติร์กกำลังเสื่อมอำนาจ ชาวเติร์กเผ่าอื่นๆ
ซึ่งได้อพยพตามเซลจุกเติร์กเข้ามายังอนาโตเลียจึงได้ถือโอกาสประกาศตนเป็น
เอกราช ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึงชาวเติร์กกลุ่มหนึ่งภายใต้การนำของออสมัน
เบย์ (Osman Bey) (เบย์ ในภาษาตุรกีมีความหมายว่า ผู้นำ
หรือ เจ้าเมือง) ผู้นำชาวเติร์กเผ่าคายี (Kayi) ซึ่งเป็นสายย่อยของเติร์กเผ่าโอกูซ
(Oghuz) บิดาของออสมัน ชื่อ Ertugrul เป็นผู้นำเผ่าคายี ซึ่งเป็นเติร์กกลุ่มหนึ่งที่อพยพเข้าไปอยู่ในเปอร์เซีย
ในกลางศตวรรษที่ 13 Ertugrul ได้พาเผ่าของตนอพยพเข้ามายังอนาโตเลีย
เพื่อหลบหนีการโจมตีจากพวกมองโกล เมื่ออพยพเข้ามายังอนาโตเลียแล้ว
Ertugrul เสียชีวิต ออสมันบุตรชายได้ขึ้นเป็นผู้นำแทน ภายหลังที่อาณาจักรเซลจุกเสื่อมอำนาจ
ออสมันได้ถือโอกาสประกาศตนเป็นเอกราชและได้สถาปนาอาณษจักรของตนเอง
ขึ้นในภาคตะวันตกของอนาโตเลีย อาณาจักรแห่งวนี้ชาวตะวันตกเรียกว่า
ออสโตมัน (Ottoman) แต่ในภาษาตุรกีจะเรียกว่า ออตแมนลึ (Osmanli)
ตามพระนามของสุลต่านออสมัน (Osman) ผู้สถาปนาอาณาจักรและราชวงค์
จักรวรรดิออสโตมันมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองบูร์ซา เดิมชื่อเมืองโพรอุสซา
(Proussa) ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 ออสมันได้ยกกำลังมาปิดล้อมเมืองนี้แต่ไมสามารถยึดเมืองได้
หลังจากที่พยายามปิกล้อมเมืองอยู่นานเกือบ 10 ปี อย่างไรก็ดี
ในปี พ.ศ. 1869 (ค.ศ. 1326) ชาวเมืองโพรอุสซา ได้ยอมแพ้ต่อ
ออร์ฮัน (Orhan) โอรสของออสมัน ซึ่งได้ขันมาเป็นผู้นำแทนบิดา
การเข้ายึดครองเมืองดังกล่าวนี้ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญต่อออสโต
มัน ออตโตมันเติร์กซึ่งเดิมเป็นชนเผ่าเร่ร่อนได้ลงหลักปักฐานที่เมืองนี้
พรัอมกับยุติการใช้ชีวิตแบบเร่ร่อน เมืองบูร์ซ่าเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรออตโตมันเติร์ก
จนถึงปี พ.ศ. 1905 ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของสุลต่านออร์ฮัน
เมืองหลวงของออตโตมันก็ถูกย้ายไปเมืองเอดิร์เน (Edirne) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของนครคอนสแตนติโนเปิล
อาณาจักรออตโตมันตั้งประชิดติดกับอาณาจักรไบแซนไทน์ ที่กำลังเสื่อมอำนาจลงตามลำดับ
โดยมีดินแดนเหลืออยู่เพียงกรุงคอนสแตนติโนเปิลและอาณาบริเวณโดยรอบเท่านั้น
ซึ่งมีสภาพไม่ต่างอะไรไปจากนครเล็กๆ ที่ถูกล้อมรอบโดยอาณาจักรออตโตมัน
ที่กำลังเข้มแข็งมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ดีนครรัฐไบแซนไทน์ก็ยังสามารถยืนหยัดอยู่ได้
โดยอาศัยกำแพงเมืองสูงใหญ่เป็นปราการป้องกันตนเอง กำแพงแห่งนี้สร้างขึ้นในสมันจักรพรรดิธีโอดอซิอุสที่
2 (Theodosius II) กำแพงแห่งนี้ได้ปกป้องคุ้มครองนครคอนสแตนติโนเปิลจากการปิดล้อมและโจมตีของ
ออตโตมันเติร์ก ซากของกำแพงในปัจจุบันจัดเป็นสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของจักรวรรดิ
ไบแซนไทน์ ที่ยังหลงเหลือให้เห็นจนกระทั่งทุกวันนี้และได้รับการยกย่องจาอองค์การยูเนส
โกให้เป็นมรดกโลก
ในปี พ.ศ. 1933 (ค.ศ. 1390) และ พ.ศ. 1934 สุลต่านไบยัดซึที่
1 ทรงพยายามปิดล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลถึง 2 ครั้ง แต่ก็ไม่สามรถตีเมืองได้สำเร็จ
ในปี พ.ศ. 1965 (ค.ศ. 1422) สุลต่านมูราตที่ 2 ได้ทำการปิดล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลอีกเป็นครั้งที่
3 แต่ก็ไม่สามรถประสบความสำเร็จเช่นกัน จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.
1996 (ค.ศ. 1453) สุลต่านเมห์เมตที่ 2 ได้เปิดฉากการโจมตีกรุงคอนสแตนติโนเปิล
ซึ่งในขณะนั้นมีพลเมืองเหลืออยู่เพียงประมาณ 50,000 คน จากเดิมที่เคยมีมากกว่า
500,000 คน
การปิดล้อมทั้งทางบกและทางทะเลของสุลต่านเมห์เมตที่ 2 เริ่มต้นขึ้นในต้นฤดูใบไม้ผลิของปี
พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) ภายหลังที่ปิดล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้ประมาณ
50 วัน กองทหารออตโตมันก็สามารถทะลวงกำแพงเมืองอันสูงใหญ่ของกรุงคอนสแตนติโนเปิล
ได้สำเร็จในวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) และเข้ายึดกรุงได้ในที่สุด
ซึ่งการปิดฉากอย่างสมบูรณ์ของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ซึ่งสามารถยืนหยัดอยู่รอดมาได้ยาวนานถึง
1,123 ปี มีจักรพรรดิปกครองรวมทั้งสิ้น 82 พระองค์จากหลายราชวงศ์
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 จักรพรรดิองค์สุดท้ายของไบแซนไทน์ทรงสิ้นพระชนม์อย่างมีปริศนา
ท่ามกลางความสับสนอลหม่านในวันที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลแตก
ความสำเร็จในการโจมตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลในครั้งนี้ ถือเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของชนเชื้อสายเติร์ก
ซึ่งได้อพยพเข้าสู่อนาโตเลีย ภายหลังที่สุลต่าน Alparslan
ทรงมีชัยชนะเหนือกองทัพจักรพรรดิโรมานุสที่ 6 (Romanus IV)
แห่งอาณาจักรไบแซนไทน์ในสมรภูมิ ณ เมืองมาลัซเกิร์ต (Malazgirt)
ในปี พ.ศ. 2244 (ค.ศ. 1701) ชัยชนะของสุลต่าน Alparslan
ได้เปิดทางให้ชนเชื้อสายเติร์กจากเอเชียกลางหลั่ง ไหลเข้าสู่อาณาจักรอนาโตเลีย
ในขณะที่ชัยชนะของสุลต่านเมห์เมตที่ 2 ในปี พ.ศ. 1996 ได้เปิดทางให้จักรวรรดิออตโตมันได้ก้าวไปสู่การเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ใน
เวลาต่อมา
ภายหลังที่สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 ทรงตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลแตกเมื่อวันที่
29 พฤษภาคม ค.ศ. 1453 พระองค์ก็ทรงได้รับการขานพระนามว่า ฟาติ
เมห์เมต (Fatih Mehmet) ฟาติ (Fatih) มีความหมายว่า ผู้พิชิต
(the conqueror) สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 ทรงโปรดให้ย้ายเมืองหลวงของจักรวรรดิจากเมืองเอดิร์เน
มายังกรุงคอนสแตนติโนเปิล และได้โปรดให้มีการเปลี่ยนชื่อเมืองเสียใหม่เป็น
อิสลามบูล (Islambul) ภายหลังที่มีการสถาปนาสาธารณรัฐตุรกีในปี
พ.ศ. 2466 นครอิสลามบูลได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น อิสตันบูล
(Istanbul) ในปัจจุบันในระยะเวลาไม่ถึง 100 ปี นับตั้งแต่ที่สุลต่านเมห์เมตที่
2 ทรงสามารถตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จ อาณาจักรออตโตมันได้แผ่ขยายออกไปอย่างรวดเร็ว
กลายเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกมุสลิมในเวลาต่อมา
จักรวรรดิออตโตมันได้ขยายอำนาจครอบคลุมดินแดนถึง 3 ทวีป ได้แก่
ตะวันออกกลาง (เอเชีย) แอฟริกาเหนือ และยุโรปบอลข่าน
จักรวรรดิออตโตมันได้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยสุลต่านสุไลมาน
ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2063 ) พ.ศ. 2109 ในรัชสมัยของพระองค์ถือเป็นยุคทองของจักรวรรดิ
อาณาเขตได้แผ่ขยายออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล ทิศตะวันตกจรดดินแดนออสเตรีย
ทิศตะวันออกจรดคาบสมุทรอาเรเบีย ทิศเหนือจรดคาบสมุทรไครเมีย
ทิศใต้จรดซูดานในแอฟริกาเหนือ ชาวตะวันตกได้ขนานพระนามของพระองค์ว่า
สุไลมาน ผู้ยิ่งใหญ่ สำหรับชางตุรกีพระองค์ได้รับสมัญญานามว่า
สุไลมาน ผู้พระราชทานกฎหมาย เนื่องจากพระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญในการปฏิรูประบบกฎหมาย
สุลต่านสุไลมาน สิ้นพระชนม์ในระหว่างทำสงครามที่ฮังการีในปี
พ.ศ. 2109 (ค.ศ. 1566) สิริรวมพระชนมายุได้ 74 พรรษา ทรงครองราชย์ยาวนานถึง
46 ปี อดีตอันยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิออตดตมันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยสุลต่านสุไล
มานเป็น 1 ใน 3 สิ่งที่ชาวตุรกีภาคภูมิใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาติตน
ยุคเสื่อมของจักรวรรดิออตโตมัน
สิ้นรัชกาลสุลต่านสุไลมาน จักรวรรดิออตโตมันเข้าสู่ยุคเสื่อม
ซึ่งกินระยะเวลายาวนานถึง 300 ปี ก่อนที่จะล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิงภายหลังสงครามโลกครั้งที่
1 สาเหตุที่นำไปสู่ความเสื่อมอำนาจของจักรวรรดิมาจากปัจจัยหลายประการ
ที่สำคัญได้แก่ การไร้ความสามารถของสุลต่าน 17 พระองค์ที่ทรงครองราชย์ต่อจากสุลต่านสุไลมานในระหว่างปี
พ.ศ. 2099 (ค.ศ. 1566) พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) การแย่งชิงอำนาจในราชสำนักก็เป็นปัจจัยอันหนึ่งที่นำไปสู่การเสื่อมถอยของ
จักรวรรดิออตโตมัน สมัยสุลต่านเบยาซิต ที่ 1 (ครองราชย์ระหว่างปี
พ.ศ. 1932 1946) โปรดให้จัดการปลงพระชนม์พระอนุชาของพระองค์เอง
ทันทีที่ทรงทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระบิดา เพื่อตัดปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติ
การกระทำดังกล่าวได้กลายเป็นประเพณีปฏิบัติสืบมาจนถึงรัชสมัยของสุลต่านเมห์
เมดที่ 1 ซึ่งขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2148 (ค.ศ. 1605) ทรงโปรดให้เปลี่ยนการสำเร็จโทษมาเป็นการกักบริเวณแทน
การกักบริเวณดังกล่าวมีผลอย่ามมากต่อสุขภาพจิตเจ้าชายรัชทายาท
ซึ่งได้รับการทูลเชิญให้ขึ้นครองราชย์ในภายหลัง สุลต่านหลายพระองค์ทรงมีสุขภาพจิตที่ไม่สมบูรณ์
เนื่องจากถูกกักบริเวณมาเป็นเวลานาน บางพระองค์ถูกกักบริเวณนานกว่า
20 ปี
ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา พระราชอำนาจของสุลตานได้ลดลงเป็นอย่างมาก
ในขณะที่อำนาจของขุนนางภายใต้การนำของอัครมหาเสนาบดีมี มากขึ้น
ในยุคนี้การฉ้อราษฎร์บังหลวง การเล่นพรรคเล่นพวกเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย
ส่งผลให้การเมืองภายในประเทศอ่อนแอ ในทางเศรษฐกิจ จักรวรรดิก็ประสบปัญหาอย่างมากเช่นกัน
ในขณะที่ยุโรปประสบความสำเร็จในการปฏิวัติอุตสาหกรรม มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว
จักรวรรดิออตโตมันกลับอ่อนแอลงตามลำดับ อย่างไรก็ดี จักรวรรดิก็สามารถประคับประคองตนเองให้อยู่รอดมาได้นานนับร้อยปี
เนื่องจากชาติมหาอำนาจในยุโรปไม่ทราบถึงความอ่อนแอภายในจักรวรรดิออตโตมัน
อย่างไรก็ดีในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ชาติมหาอำนาจยุโรปเริ่ม
ตระหนักถึงความอ่อนแอของจักรวรรดิออตโตมันมากขึ้น และเริ่มตั้งคำถามว่า
ควรจะดำเนินการอย่างไรกับดินแดนภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมัน
หากจักรวรรดิออตโตมันมีอันต้องล่มสลาย โดยไม่ให้ส่งผลกรทบต่อดุลยอำนาจในยุโรป
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งเสด็จเยือนจักรวรรดิออตโตมันในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่
19 ทรงวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองในช่วงนั้นไดเป็นอย่างดี
โดยทรงวิเคราะห์ไว้ว่า แม้ว่าจักรวรรดิออตโตมันจะเสื่อมอำนาจ
แต่ชาติตะวันตกก็ยังลังเลที่จะเข้ายึดครองดินแดนต่างๆ ที่เป็นเมืองขึ้นของเติร์กทั้งหมด
เนื่องจากเหตุผล 2 ประการ คือ
1.หากขับไล่เติร์กออกจากดินแดนที่เติร์กปกครองอยู่ ชาติใดควรจะได้ครอบครอง
ดินแดนเหล่านั้น หากชาติหนึ่งชาติใดได้ดินแดนเหล่านั้นไปย่อมจะทำให้ชาตินั้นมีอำนาจมากขึ้น
ซึ่งสงผลกระทบต่อดุลยอำนาจในยุโรป
2.หากจะขับไล่เติร์กออกไปแล้วให้ดินแดนเหล่านั้นได้รับเอกราช
ประเทศตะวันตก ซึ่งส่งกองทัพไปขับไล่เติร์กจะได้อะไรตอบแทน
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเห็นว่า
ด้วยเหตุผลดังกล่าว ออตโตมันจึงยังสามารถยืนหยัดอยู่ได้ แม้ว่าจะอ่อนแอลงกว่าในอดีตมาก
บทบาทของชาติตะวันตกในจักรวรรดิออตโตมัน
ในปี ค.ศ.1821 ภายใต้การสนับสนุนของอังกฤษ ฝรั่งเศษ และรัสเซีย
ทำให้กรีซประกาศเอกราชพ้นจากการปกครองของออตโตมัน ผลของสงครามระหว่างปี
ค.ศ.1818-1829 รัสเซียชนะ และบังคับให้ออตโตมันยอมลงนามใน
The Treaty of Adrianple (Edirnel) of 1829 โดยรัสเซียเป็นใหญ่เหนือดินแดนรอบทะเลดำ
ครอบครองปากแม่น้ำดานูบ พื้นที่ชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของทะเลดำ
อันรวมถึงเทือกเขาคอเคซัส และยอมรับในความเป็นอิสรภาพของกรีซในปี
ค.ศ. 1830 ต้องเสียแอลจีเรีย ให้ฝรั่งเศสนับแต่กลางศตวรรษที่
19 เป็นต้นมา ชาติทางตะวันตกตื่นตัวอย่างมากในลัทธิจักรวรรดินิยมใหม่
โดยมุ่งแสวงหาอาณานิคมเพื่อความยิ่งใหญ่ด้านการเมืองและเศรษฐกิจ
จากเหตุที่ซาร์นิโคลัสที่ 1 แห่งรัสเซีย ต้องการหาทางออกทะเลน้ำอุ่นในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
สร้างความไม่พอใจให้แก่ชาวยุโรป ขณะเดียกวันเรียกออตโตมันว่า
เป็นคนป่วยแห่งยุโรป และมุ่งกำจัดออตโตมันอย่างจริงจัง เป็นผลทำให้เกิดสงครามไครเมียน
(ค.ศ.1854-1856) ระหว่างรัสเซียฝ่ายหนึ่ง กับ อังกฤษ ฝรั่งเศส
ซาร์ดิเนียน ออตโตมันอีกฝ่ายหนึ่ง กองกำลังทั้งหมดร่วมกันปิดล้อม
และมุ่งกำจัดอำนาจรัสเซีย จนรัสเซียพ่ายแพ้ในปี ค.ศ1856 แต่ต่อมาเพราะออตโตมันพ่ายแพ้แก่รัสเซียใน
The Russo-Turkish War ค.ศ.1877-1878 ออตโตมันจำต้องลงนามใน
The Treaty of San Stefano of 1878 ส่งผลให้อำนาจทางยุโรปของออตโตมันต้องหมดไป
เพื่อการแก้ไขโดยใช้วิธีทางการฑูตของชาติมหาอำนาจทางตะวันตก
นำโดยอังกฤษเป็นผลทำให้เกิดประชุมที่เบอร์ลินในปี ค.ศ. 1878
ผลของการประชุม ปรากฎว่ารัสเซียถูกบังคับให้คืนอำนาจและดินแดนที่ยึดครองทั้งหมดจากผลของสงครามในปี
ค.ศ.1878 ให้แก่ออตโตมันผู้เป็นเจ้าของเดิม ทั้งนี้ ออตโตมัน
ได้ยกดินแดนอียิปต์และไซปรัสเป็นการตอบแทนให้แก่อังกฤษ ในปี
ค.ศ. 1881 ฝรั่งเศสยึดครองตูนิส และในปีค.ศ. 1898 อังกฤษยึดครองซูดาน |
สุเหร่าสีน้ำเงิน
สุเหร่าสีฟ้า นครอิสตันบูล |
|
|
การสิ้นสุดจักรวรรดิออตโตมันและการเกิดสาธารณรัฐตุรกี
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 สุลต่านออตโตมันบางพระองค์ทรงพยายามที่จะปฏิรูประบบการเมืองและเศรษฐกิจของ
จักรวรรดิออตโตมันให้ทันสมัย ทัดเทียมอารยประเทศในยุโรป แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จอย่างจริงจัง
เนื่องจากสงครามได้ปะทุขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อนทั่วดินแดนซึ่งเป็นเมืองขึ้น
ของออตโตมัน จักรวรรดิออตโตมันต้องประสบกับปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนัก
การปฏิรูปจึงไม่บรรลุผล พระราชอำนาจของสุลต่านได้เสื่อมถอยลงเป็นลำดับ
ในขณะที่อำนาจของขุนนางภายใต้การนำของอัครมหาเสนาบดีมีมากขึ้น
ในปี ค.ศ. 1876 กลุ่มปัญญาชนซึ่งเรียกตัวเองว่า
ยังเติร์ก (Young Turks) ได้ลุกขึ้นมาเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมือง
และบีบให้สุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 (Abdulhamid II) พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก
เปลี่ยนแปลงการปกครองของ จักรวรรดิมาเป็นระบบรัฐสภาโดยมีสุลต่านเป็นประมุขเป็นครั้งแรก
อย่างไรก็ดีรัฐธรรมนูญดังกล่าวใช้ได้เพียงปีเดียว ในปี ค.ศ.
1877 สุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 ได้ทรงยกเลิกรัฐธรรมนูญดังกล่าว
การปกครองของจักรวรรดิออตโตมันได้ถูกเปลี่ยนกลับมาเป็นระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อีกครั้ง
ในปี ค.ศ. 1908 กลุ่มยังเติร์กได้ก่อการปฏิวัติบีบบังคับให้สุลต่านอับดุลฮามิดที่
2 ประกาศใช้รัฐธรรมนูญอีกครั้ง ในปีต่อมาสุลต่านพระองค์นี้ถูกปลดออกจากพระราชอำนาจ
สุลต่านเมห์เมตที่ 5 ซึ่งขึ้นครองราชย์ต่อมาไม่มีพระราชอำนาจที่แท้จริงแต่อย่างใด
ทรงเป็นเพียงหุ่นเชิดเท่านั้น
Enver Pasha ผู้นำกลุ่มเติร์กหนุ่มได้รวบอำนาจปกครองประเทศไว้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
และในปี ค.ศ. 1914 ได้นำประเทศเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1
ร่วมกับฝ่ายเยอรมัน สงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงโดยเยอรมันเป็นฝ่ายพ่ายแพ้
จักรวรรดิออตโตมันจึงตกเป็นฝ่ายแพ้สงครามด้วย ต้องยอมลงนามสนธิสัญญา
Sevres ในวันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 1920 ซึ่งเป็นผลให้จักรวรรดิออตโตมันต้องสูญเสียดินแดนที่เป็นเมืองขึ้นที่เหลือในบอลข่านและ
ตะวันออกกลาง และที่เลวร้ายที่สุดคือ อานาโตเลียถิ่นที่อยู่ของชาวเติร์ก
และอิสตันบูลได้ถูกกองกำลังของชาติยุโรปที่ชนะสงครามเข้ายึดครอง
การยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไข และการถูกบีบให้ลงนามในสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
เป็นเหตุการณ์อันน่าอัปยศอดสูที่ชาวตุรกียังจดจำได้เป็นอย่างดี
ทุกครั้งที่ตุรกีตกอยู่ในสภาวะที่ถูกบีบบังคับจากภายนอก มักจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในครั้งนี้เสมอๆ
ชาวเติร์กส่วนใหญ่แม้จะยอมรับการสูญเสียดินแดนที่เคยเป็นเมืองขึ้น
แต่ไม่อาจยอมรับความพยายามของชาติตะวันตกที่จะยึดครองอานาโตเลีย
ซึ่งชาวเติร์กถือว่าเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของชาวเติร์ก รัฐบาลของออตโตมันในขณะนั้นอยู่ในภาวะที่อ่อนแอเกินกว่าที่จะต่อรองอะไรได้
ชาวเติร์กผู้รักชาติจึงไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากจะจับอาวุธลุกขึ้นต่อสู้เพื่อปกป้องบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง
โดยมีมุสตาฟา เคมาล (Mustafa Kemal) เป็นผู้นำในการต่อสู้ขับไล่กองกำลังต่างชาติ
สงครามเพื่อการปลดปล่อย (War of Liberation) จึงอุบัติขึ้นในระหว่างปี
ค.ศ. 1919 ค.ศ. 1923
ในช่วงนี้ได้เกิดรัฐบาลขึ้น 2 รัฐบาล คือ รัฐบาลของสุลต่านออตโตมัน
ซึ่งตั้งอยู่ที่นครอิสตันบูล และรัฐบาลแห่งสมัชชาใหญ่ตุรกี
(The Government of the Turkey Grand National Assembly) ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงอังการา
การต่อสู้ในสงครามเพื่ออิสรภาพสิ้นสุดลงด้วยการลงนามสนธิสัญญาโลซานน์
(Lausanne) เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1923 ซึ่งนำไปสู่การรับรองเขตแดนของประเทศตุรกีในปัจจุบัน
และการสถาปนาสาธารณรัฐตุรกี ซึ่งมีกรุงอังการาเป็นเมืองหลวง
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1923
ก่อนหน้าที่จะมีการสถาปนาสาธารณรัฐตุรกีในปี ค.ศ. 1923 รัฐสภาของรัฐบาลอังการาได้มีมติเมื่อวันที่
11 ตุลาคม ค.ศ. 1922 ยกเลิกระบบสุลต่าน ซึ่งยังคงมีอำนาจปกครองเพียงนครอิสตันบูลเท่านั้น
ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1922 อัครมหาเสนาบดีคนสุดท้ายของรัฐบาลออตโตมันได้ยื่นใบลาออก
และในวันที่ 17 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน สุลต่านเมห์เมตที่ 6
สุลต่านพระองค์สุดท้ายของออตโตมันได้เสด็จไปลี้ภัยในต่างประเทศ
โดยเสด็จออกจากนครอิสตันบูลโดยเรือรบของอังกฤษ เป็นการปิดฉากลงอย่างสมบูรณ์ของจักรวรรดิออตโตมัน
ซึ่งมีอายุยืนยาวกว่า 600 ปี |
เสาโอเบลิสก์
(Obelisk) จากอียิปต์โบราณ |
|
|
สุเหร่าสีน้ำเงิน |
สุเหร่าสีน้ำเงิน |
สุเหร่าสีน้ำเงิน |
สุเหร่าสีน้ำเงิน |
เมืองอิสตันบูล |
เมืองอิสตันบูล |
อิสตันบูล ตุรกี |
อิสตันบูล ตุรกี |