ราชวงศ์ : บ้านพลูหลวง ปีที่ครองราชย์ : พ.ศ.2275-2301 พระเจ้าบรมโกศ เป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 32 ของอยุธยา พระองค์ทรงเป็นโอรสของพระเจ้าเสือ และเป็นอนุชาของพระเจ้าท้ายสระ พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่ถือว่าเป็นสมัยของอยุธยาที่บ้านเมืองสงบ ก่อนการเสียกรุงให้แก่พม่าเมื่อ9 ปีภายหลังที่พระองค์สวรรคต และพระโอรส 2 องค์ พระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด) และ พระเจ้าเอกทัศน์ (ขุนหลวงขี้เรือน) เกิดปัญหาแก่งแย่งอำนาจกัน ไม่สามารถจะต้านศึกกับพม่าได้ สมัยของพระองค์ก็มีปัญหาการเมืองภายในราชสำนักอย่างมาก การที่มีพระสนมหลายองค์ ก่อให้เกิดปัญหาการแย่งชิงอำนาจในหมู่พระโอรส ขึ้นเป็นประจำ พระเจ้าบรมโกศทรงมีปัญหาของพระโอรสแย่งชิงอำนาจกันเอง เช่นในกรณีของเจ้าฟ้ากุ้งผู้ทรงเป็นนักกวีและนักปฏิสังขรณ์วัดวาอารามหลายแห่งในสมัยตอนปลายอยุธยา แต่ถูกข้อหาขบถ เป็นชู้กับเจ้าฟ้าสังวาลย์พระสนมเอกของพระราชบิดาถูกโบยจนสิ้นพระชนม์ พระเจ้าบรมโกศยังมีโอรสอีกองค์ที่ถูกข้อหาขบถ ถูกเนรเทศไปอยู่เกาะลังกา คือ กรมหมื่นเทพพิพิธที่หนีกลับมาตั้ง ก๊กเจ้าพิมาย หลังเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว ในสมัยอันยาวนานของพระเจ้าบรมโกศ 25 ปีนั้นทรงได้ปรับปรุงการปกครองโดยการขยายการตั้ง เจ้ากรม จาก 3 กรม เป็น 13 กรม ให้อำนาจในแต่ละกรมมีอำนาจในการปกครองไพร่ของตนเอง ในด้านหนึ่งก็เป็นความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาการที่เจ้าและขุนนางบางคนมีอำนาจมากจนสามารถชิงราชสมบัติได้ แต่การขยายกรมที่คุมไพร่ ก็สามารถบังคับบัญชาคนกระจัดกระจายไปอยู่ตามกรมย่อยต่างๆทำให้ไม่สามารถเผชิญกับศึกภายนอกเมื่อพม่ายกทัพมาตีอยุธยา ในด้านศาสนา พุทธศาสนาในสมัยพระองค์รุ่งเรืองมาก ส่งสมทูตไปศรีลังกา 2 ครั้ง โดยให้คณะสงฆ์ไทยไปช่วยฟื้นฟูศาสนาที่ตกต่ำจากการที่อิทธิพลของโปรตุเกสและฮอลันดาได้เข้าไปแทรกแซงในศรีลังกา ทำให้เกิดการอุปสมบทขึ้นใหม่ และมีการตั้งพุทธศาสนิกชนสยามวงศ์ขึ้นในประเทศศรีลังกา ในปี พ.ศ. 2300 พระเจ้าบรมโกศทรงประชวร พงศาวดารไทยกล่าวว่าในปีนั้นมีดาวหางฮัลเลย์ขึ้น เมื่อพระองค์สวรรคตก็เกิดการแย่งอำนาจกันในอยุธยา อีก 9 ปีต่อมาก็เสียกรุงแก่พม่า เป็นอันสิ้นสุดอาณาจักรอยุธยาซึ่งศูนย์กลางอำนาจไทยมา 417 ปี