บริษัททัวร์ โอเชี่ยนสไมล์ทัวร์
ทัวร์ซีอาน







 
• ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศอินเดีย
• อาหารสิกขิม ที่พักสิกขิม งานประเพณีสิกขิม ประเทศอินเดีย
ห้องอาหารเมืองดาร์จีลิ่ง สิกขิม
ห้องอาหารเมืองดาร์จีลิ่ง สิกขิม

• อาหารสิกขิม
• อาหารสิกขิมเป็นอาหารประจำรัฐสิกขิม ได้รับอิทธิพลจากอาหารทิเบต มีข้าวเป็นส่วนผสมหลัก
• โมโม (Momo) เป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของชาวทิเบตในสิกขิม ลักษณะเป็นแป้งยัดไส้ด้วยเนื้อบดละเอียด ผัก หรือ ชีส แล้วนำไปนึ่งประมาณครึ่งชั่วโมงในหม้อหรือซึ้งที่มีหลายๆ ชั้น เพื่อให้น้ำซุปที่อยู่ชั้นล่างของหม้อซึมเข้าไปในโมโมที่นึ่งอยู่ นิยมทานกับน้ำซุปหรือซอสพริก สามารถหาทานได้ง่ายในร้านทั่วๆ ไป
• ธุกปา (Thukpa) เป็นอาหารทิเบตอีกประเภทหนึ่ง มีลักษณะคล้ายกับก๋วยเตี๋ยวน้ำเมืองไทย ถือเป็นอาหารที่นิยมอีกอย่างหนึ่งที่สามารถหาทานได้ง่ายตามร้านอาหารและโรงแรม
• ชาโมซา (Samos) เป็นอาหารว่างของอินเดีย ลักษณะเป็นสามเหลี่ยมคล้ายกระหรี่ปั๊บของเมืองไทย มีไส้เนื้อหรือผัก นำไปทอดให้กรอบ เสริ์ฟพร้อมกับมะม่วงกวนชัทนีที่ไว้สำหรับทานกับแกงกะหรี่
• โรตี (Sael Roti) เป็นอาหารของชาวเนปาล ทำโดยการนำข้าวมาป่นผสมกับน้ำจนมีลักษณะคล้ายแป้งเปียก หลังจากนั้นนำไปเทลงในน้ำมันร้อนๆ และทอดให้สุก นำไปรับประทานกับแกงกะหรี่มัน ส่วนมากจะทำทานกันในงานเลี้ยงปาร์ตี้ ไม่ค่อยมีตามร้านอาหารทั่วไป
• เซอร์ปิ (Cnhurpi) เป็นอาหารที่นำไปหมักกับนมวัว โดยนำมาทำเป็นเนยแข็งชนิดนุ่ม รสออกเปรี้ยวนิดๆ ซึ่งเซอร์ปิ นี้มีปริมาณการบริโภคเฉลี่ยถึง 9.9 กรัมต่อคนต่อวันเลยทีเดียว ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ถึงปีละ 1,470 ตันในสิกขิม
• คิเนมา (Kinema) เป็นอาหารประเภทถั่วเหลืองซึ่งหมักแบบดั้งเดิม มีลักษณะเป็นเส้น มีรสชาติเฉพาะตัว ทานพร้อมกันกับแกงกะหรี่ เป็นอาหารที่ราคาไม่แพง แต่มีโปรตีนสูงมาก สามารถนำมาทานแทนเนื้อสัตว์ได้
• กันดรุกและซินกิ (Gundruk and Sinki) เป็นอาหารที่ได้จากการหมักพืชผักในช่วงฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่มีพืชผักอุดมสมบูรณ์ แต่เมื่อมีเยอะจนนำมารับประทานไม่ทันก็จะทำให้เน่าเสีย จึงมีการนำผักเหล่านั้นมาทำเป็นอาหาร ซึ่งกันดรุกเป็นการหมักผักประเภทใบของมัสตาร์ด หัวไชเท้า และดอกกะหล่ำ ส่วนซินกิจะทำมาจากรากของหัวไชเท้าเท่านั้น หลังจากที่หมักจนได้ที่แล้ว ก็นำไปตากแดดให้แห้งและเก็บไว้สำหรับการนำมารับประทานในภายหลัง ทั้งกันดรุกและซินกิสามารถเก็บไว้รับประทานได้นานกว่า 1 ปี นิยมเป็นของทานเล่นก่อนรับประทานอาหาร

• ที่พักในสิกขิม โรงแรมในสิกขิม
• ที่พักเมืองสิลิกูริ (Kolkata)
• ที่พักแบบประหยัด อยู่บริเวณถนนฮิลล์คาร์ต (Hill Cart Rd.) จะมีราคาตั้งแต่ 80 – 800 รูปี
• ที่พักระดับกลางถึงระดับสูง ห้องพักแบบนี้จะอยู่กระจายกันไป ทั้งที ถนนฮิลล์คาร์ต (Hill Cart Rd.) ถนนทิลัก (Tilak Rd.) และถนนเชโวก (Sevok Rd.) ราคาห้องพักมีตั้งแต่ราคา 350-6,000 รูปี ทุกห้องจะมีเครื่องทำน้ำร้อนและทีวีให้
• ที่พักเมืองกาลิมปง (Kalimpong)
• ที่พักแบบประหยัด โรงแรมแบบประหยัดที่กาลิมปงจะมีห้องน้ำส่วนตัวและมีถังใส่น้ำร้อนไว้คอยบริการ (แต่บางโรงแรมเช่น Lodge Himalshree จะคิดค่าถังน้ำร้อนเพิ่มอีก 10 รูปี) ราคาห้องพักมีตั้งแต่ 100-600 รูปี ห้องพักส่วนใหญ่จะสะอาดสะอ้านและส่วนมากแต่ละโรงแรมจะสร้างจุดชมวิวไว้ด้วย
• ที่พักระดับกลางถึงระดับสูง โรงแรมประเภทนี้จะมีห้องน้ำส่วนตัว น้ำร้อนและมีทีวีทุกห้อง ราคาห้องพักจะมีตั้งแต่ 400-2,000 รูปี
• ที่พักเมืองกังต็อก (Gangtok)
• ที่พักแบบประหยัด มีให้เลือกทั้งแบบห้องคู่และห้องเดี่ยว โดยราคาเริ่มต้นจะอยู่ที่ 200-250 รูปี สามารถหาได้ที่ถนนทิเบต (Tibet Rd.)
• ทีพักระดับกลางถึงระดับสูง ห้องพักประเภทนี้จะมีห้องน้ำในตัว เครื่องทำน้ำร้อน และทีวีให้ ราคาอยู่ที่ 400-4,500 รูปี ส่วนใหญ่อยู่ที่ถนน M.G. Marg

อาหารอินเดีย เมืองดาร์จีลิ่ง สิกขิม
โรงแรมที่กังต๊อก

โรงแรมที่ดาร์จีลิ่ง

โรงแรมที่ดาร์จีลิ่ง

โรงแรมที่ดาร์จีลิ่ง

โรงแรมที่ดาร์จีลิ่ง

โรงแรมที่กังต๊อก

โรงแรมเมืองกังต๊อก สิกขิม

โรงแรมเมืองกังต๊อก

อาหารพื้นเมืองสิกขิม
• เทศกาลและงานประเพณีสิกขิม (Sikkim Festival)
• เดือนมกราคม – เดือนกุมภาพันธ์
• เทศกาล The Feast of the River God ของลาวเลปซา : ณ จุดที่สายน้ำทีสตาและรางงีตมาบรรจบกันนั้น ชาวเลปซาถือว่าเป็นบริเวณที่ศักดิ์สิทธิ์มาก ดังนั้น ทุกปี ในช่วงเดือนธันวาคม – มกราคม ชาวเลปซาจากทุกที่จึงมารวมตัวกันที่นี่ โดยเด็กๆ จะมาแช่น้ำเล่นกันในแม่น้ำ และร้องเพลงเต้นรำกันจนดึกดื่น เพื่อเฉลิมฉลองความรักของสายน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั้งสองสาย
• เทศกาล Maghe Sankranti (Maker Sakranti) ของชาวเนปาลฮินดู : ชาวเนปาลเชื่อว่า วันนี้เป็นวันที่ฤดูหนาวจะสิ้นสุดลงและฤดูร้อนกำลังจะเริ่มต้นขึ้น โดยชาวบ้านจะลงไปอาบน้ำในแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์บริเวณที่แม่น้ำทีสตาและแม่น้ำรางงีดไหลมาบรรจบกัน ส่วนตามบริเวณริมฝั่งแม่น้ำจะมีการจัดเทศกาลเฉลิมฉลองกันอย่างคึกคัก ส่วนที่อยู่ไกลออกไปจะจัดงานรื่นเริงอย่างเดียว ซึ่งเมืองที่คึกคัดที่สุดจะเป็น เมืองโจเรทัง (Jorethang) และ เมืองซารัมซา (Saramsa) ที่อยู่ทางใต้และตะวันออกของสิกขิมตามลำดับ
• เทศกาลบูชาพระสรัสวดี (Sarawati Puja) ชาวเนปาลฮินดู : เป็นการแสดงความเคารพแด่เทพีสรัสวดี ซึ่งเป็นเทพีแห่งภูมิปัญญาและความรอบรู้ โดยเด็กนักเรียนจะนำหนังสือเรียนไปวางหน้ารูปปั้นของเทวีเพื่อขอพรให้สามารถเรียนได้ดี
• เทศกาลเต้นระบำหน้ากา (Detor Chaam) : เป็นการเต้นระบำหน้ากากของพระที่วัดเอนเซย์ ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 18 และ 19 ของเดือน 12 ตามปฏิทินทิเบต คือช่วงเดือนมกราคมของทุกปี
• เทศกาล Bum-Chu : เป็นการเสี่ยงทายปริมาณน้ำศักดิ์สิทธิ์ในแจกันหรือหม้อ โดยจะจัดขึ้นราวเดือนมกราคม-เดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ซึ่งลามะจะเป็นผู้เปิดฝาหม้อหรือแจกันดังกล่าวออก เพื่อดูว่าน้ำที่มีอยู่ในนั้นมีปริมาณเท่าใด หากน้ำในแจกันมีอยู่เต็ม ก็หมายความว่าปีถัดมานั้นจะมีความไม่สงบหรือมีการนองเลือดเกิดขึ้น หากน้ำในแจกันเหือดแห้งไปหมด ก็จะทำนายว่า ปีถัดมานั้นจะเกิดความอดอยากขึ้น แต่ถ้าหากมีน้ำอยู่ครึ่งหนึ่ง ก็จะทำนายว่าปีถัดมาจะมีแต่ความสงบสุขและความเจริญรุ่งเรือง เมื่อลามะได้ทำนายอนาคตจากปริมาณน้ำศักดิ์สิทธิ์แล้ว ก็จะแจกจ่ายน้ำศักดิ์สิทธิ์ให้กับผู้จาริกแสวงบุญแล้วจึงเติมน้ำจากแม่น้ำเข้าไปอีกครั้ง ก่อนจะปิดฝาแจกันเอาไว้โดยไม่เปิดออก จนกว่าจะถึงปีถัดไปที่จะมีการทำนายอีกครั้งนั่นเอง
• เทศกาล Losar : คือเทศกาลปีใหม่ของชาวทิเบต ซึ่งเป็นการระลึกถึงวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมเทศนาโปรดพญามาร แต่งบางตำราก็ว่าเป็นการระลึกถึงการที่ความดีสามารถทำลายล้างความชั่วร้ายได้ โดยเทศกาลนี้จะจัดขึ้นที่วัดเปมายองเซ และวัดรุมเต็ก ภายในงานจะมีการเต้นรำและงานเลี้ยงรื่นเริงเฉลิมฉลองกัน
• เดือนมีนาคม – เดือนพฤษภาคม
• เทศกาล International Flower Festival : เป็นการจัดแสดงดอกไม้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดงานหนึ่งของสิกขิม และถือเป็นความภูมิใจอย่างหนึ่งทีเดียว โดยภายในงานจะมีการแสดงทั้งดอกกล้วยไม้นานาพันธุ์ ดอกแกลดิโอลัส ดอกกุหลาบพันปี และดอกแมกนาเลเดียด้วย ซึ่งจะจัดขึ้นที่ศูนย์แสดงดอกไม้ (Flower Exhibition Centre) ที่อยู่ข้างๆ ไวท์ฮอลล์ในเมืองกังต็อก
• เทศกาล Chaite Dasain ช่วงเดือนเมษายน : เป็นเทศกาลที่ชาวสิกขิมเชื้อสายเนปาลจะฉลองวันนี้ เพื่อระลึกถึงวันประสูติของพระราม และยังถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวเนปาล
• เทศกาล Saga Dawa ช่วยปลายเดือนพฤษภาคม : ชาวพุทธในสิกขิมถือเป็นเทศกาลที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ซึ่งก็คือวันวิสาขบูชานั่นเอง โดยจะตรงกับช่วงปลายเดือนพฤษภาคม-ต้นเดือนมิถุนายน ภายในงานจะมีการจัดขบวนแห่ โดยมีพระเป็นผู้นำตำราพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่หน้าขบวน
• เดือนมิถุนายน
• เทศกาล Tse-Chu Chaam : เป็นเทศกาลที่ชาวพุทธในสิกขิมใช้แสดงความเคารพและสักการะแด่ Guru Rimpoche โดยทุกวันที่ 10 เดือน 5 ตามปฏิทินทิเบต จะมีการจัดเทศกาลระบำหน้ากากขึ้นที่วัดรุมเต็ก เพื่อเฉลิมฉลองเกี่ยวกับชีวิตในช่วงต่างๆ ของ Guru Rimpoche ซึ่งจะแบ่งการแสดงออกเป็นหลายบทหลายตอน
• เดือนกรกฎาคม – สิงหาคม
• เทศกาล Drukpa Teshi : เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นในวันที่ 4 (หรือที่เรียกว่า Teshi) ของเดือน 6 ตามปฏิทินทิเบต (หรือเรียกว่า Drukpa) เพื่อระลึกถึงวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมเทศนาเกี่ยวกับอริยสัจสี่เป็นครั้งแรก อันได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และ มรรค แก่สาวกทั้งห้าของพระองค์
• เทศกาล Phang Labsol : เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองเทพเจ้าประจำยอดเขาคันเซ็งฌองกา ซึ่งเป็นเทพผู้พิทักษ์ของชาวสิกขิม และยังเป็นเทศกาลที่แสดงให้เห็นถึงการตกลงร่วมสาบานเป็นพี่น้องกันระหว่างชาวภูเทีย และชาวเลปซาอีกด้วย ในเทศกาลนี้จะมีการระบำนักรบ ( Warrior Dance) อันเลื่องชื่อ หรือที่ชาวพื้นเมืองเรียกว่า Pangtoed (Pang หมายถึง การเป็นพยาย และ Toed หมายถึง การชื่นชม) ซึ่งหมายถึง การเป็นพยานในการที่เทพเจ้าท้องถิ่นร่วมสาบานกันเป็นพี่น้องกันของชาวภูเทียและชาวเลปซานั่นเอง
• เดือนกันยายน – ตุลาคม
• เทศกาล Dasain : เมื่อถึงเวลานี้ของทุกปี ชาวฮินดูจากทั่วโลกจะฉลองเทศกาล Durga Puja กัน ในขณะที่ชาวฮินดูเชื้อสายเนปาล จะเรียกประเพณีนี้ว่า Dasain หรือ Bijaya Dashmi เพื่อฉลองชัยชนะของความดีที่มีต่อความชั่ว โดยในตำนานเล่าว่า เทวี Durga สามารถเอาชนะมารที่ชื่อว่า Mahisura ได้สำเร็จในการต่อสู้อันดุเดือด
• เทศกาล Lhabab-Duchen : ด้วยความที่ว่า Lha หมายถึง สรวงสวรรค์ Bab หมายถึง การลง และ Duchen หมายถึง เทศกาล ดังนั้น เทศกาล Lhabab Duchen ก็คือเทศกาลระลึกถึงการที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จกลับลงมาจากสรวงสวรรค์ ซึ่งเป็นที่ประทับของเทพเจ้าทั้ง 33 องค์ หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ทรงเสด็จขึ้นไปทรงเยี่ยมพระมารดาของท่าน โดยเทศกาลนี้มีตำนานว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าได้ทรงเสด็จขึ้นสวรรค์เพื่อทรงแสดงธรรมเทศนาแก่พระมารดานั้น บรรดาเทพเจ้าทั้งหลาย บนสวรรค์ต่างก็เลื่อมใสเป็นอันมาก จนทำให้บรรดาสาวกตัดสินใจส่งสาวกคนสำคัญ คือ โมคลายานะ ขึ้นไปขอร้องให้พระพุทธเจ้าเสด็จกลับลงมายังโลกมนุษย์ กระนั้น บรรดาเทพเจ้าบนสรวงสวรรค์ ต่างก็ไม่ยอม โมคลายานะ จึงบอกกับเหล่าเทพเจ้าว่า พวกท่านสามารถลงไปฟังธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าบนโลกมนุษย์ได้ แต่บรรดาสาวกของพระองค์นั้น ไม่สามารถตามขึ้นมาฟังพระธรรมเทศนาบนสวรรค์ได้เลย ดังนั้น เทพเจ้าทั้งหมดจึงยอมให้พระพุทธเจ้าเสด็จกลับลงมายังโลกมนุษย์ โดยมีเทพ Viswakarma เป็นผู้สร้างบันไดสามชั้นให้พระพุทธองค์เสด็จลงมา
• เดือนพฤศจิกายน
• เทศกาล Tihar : เป็นเทศกาลแห่งแสงสว่าง (หรือที่เรียกว่าเทศกาล Diwali) จัดขึ้นทุกปีหลังจากเทศกาล Dasain จบไปแล้ว โดยชาวบ้านจะฉลองเทศกาล Tihar นี้เป็นเวลาถึง 5 วัน เพื่อต้อนรับพระรามและพระลักษณ์ ที่เดินทางกลับมายังอาณาจักรหลังจากถูกเนรเทศไปนานกว่า 14 ปี ซึ่งชาวสิกขิมจะเฉลิมฉลองและให้ความเคารพสัตว์ต่างๆ ตลอด 5 วันติดต่อกัน เริ่มจากวันแรก Kak Tihar ที่เป็นวันอุทิศให้กับบรรดาอีกา วันที่สองเรียกว่า Kukkur Tihar ซึ่งเป็นวันของสุนัข วันที่สามเป็นวันของวัวตัวเมีย วันที่สี่เป็นวัวตัวผู้ และในวันสุดท้ายที่เรียกว่า Bhai Tika นั้น พี่ชาย/น้องชาย จะไปเยี่ยมพี่สาว/น้องสาวที่บ้าน และต่างคนก็ต่างแต้ม Tika บนหน้าผากให้กันและกัน
• เดือนธันวาคม
• เทศกาลเต้นรำ Kagyet (The Kagyet Dance) : เทศกาลเต้นรำจะจัดขึ้นประมาณสองวัน คือวันที่ 28 และ 29 ของเดือน 10 ตามปฏิทินทิเบต ก่อนที่จะถึงเทศกาล Loosong เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสที่ความดีสามารถเอาชนะความชั่วร้ายได้ และ ต้อนรับกับสิ่งดีๆ ที่จะเกิดกับชาวสิกขิมในปีใหม่ ในงานเทศกาลเต้นรำ Kagyet จะมีการแข่งขันยิงธนูและมีการสวดมนต์ก่อนที่จะเริ่มการเต้นรำ ซึ่งการเต้นรำนี้ผู้เต้นรำคือบรรดาพระนั่นเอง โดยจะแสดงเป็นเรื่องราวต่างๆ ตามตำนานของพุทธศาสนา
• เทศกาล Loosong/Namsoong : เทศกาล Loosong/Namsoong นั้น ต่างก็หมายถึงเทศกาลเฉลิมฉลองต้อนรับปีใหม่ของชาวสิกขิมทั้งคู่ แต่ต่างกันตรงที่เทศกาล Loosong เป็นการเฉลิมฉลองของชาวสิกขิมเชื้อสายภูเทีย ส่วนเทศกาล Namsoong เป็นการเฉลิมฉลองของชาวสิกขิมเชื้อสายเลปซา ซึ่งชาวเลปซาได้ถือโอกาสนี้เฉลิมฉลองการสิ้นสุดของฤดูกาลเก็บเกี่ยวด้วย

หน้าโรงแรมเมืองกังต๊อก

เมืองกังต๊อก สิกขิม

เมืองกังต๊อก สิกขิม

เมืองกังต๊อก สิกขิม
สิกขิม เที่ยวสิกขิม
• รูปและสถานที่ท่องเที่ยว สิกขิม เส้นทางสวิสเซอร์แลนด์แห่งเอเชีย
อินเดีย ทัวร์อินเดีย เที่ยวอินเดีย ประเทศอินเดีย
• สถานที่ท่องเที่ยว ประเทศอินเดีย  
อินเดีย
• อินเดีย ประเทศอินเดีย ดินแดนหลากศาสนาหลายวัฒนธรรม ดินแดนแห่งพุทธภูมิ ดินแดนแห่งการแสวงบุญ อินเดียมีอะไรมากมายกว่าที่เราคิด...
เลห์ลาดัก
• เลห์ ลาดัก ลาดักห์ ดินแดนที่ซ่อนเร้นอยู่ตรงกลางระหว่างเทือกเขาหิมาลัยและที่ราบสูงคาราโครัม ดินแดนที่ได้ขึ้นชื่อว่า "ทิเบตน้อย" ดินแดนลี้ลับที่ยากแก่การเข้าถึง...ดินแดนแห่งโลกพระจันทร์
เที่ยวอินเดีย
• พุทธคยา เที่ยวอินเดีย สำหรับการเกิดมาเป็นชาวพุทธ สักครั้งหนึ่งในชีวิตก็ขอให้ได้มากราบนมัสการพระมหาเจดีย์พุทธคยา เพื่อความเป็นสิริมงคลแห่งชีวิตและครอบครัว
ทัชมาฮาล
• ทัชมาฮาล สุสานหินอ่อน อนุสรณ์สถานแห่งความรัก ตั้งอยู่ในเมืองอัครา นับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ที่ผู้คนเชื่อว่าเป็นสถาปัตยกรรมแห่งความรักที่สวยที่สุดในโลก
แคชเมียร์
• แคชเมียร์ เที่ยวแคชเมียร์ แคชเมียร์ "ดินแดนแห่งสวรรค์บนดิน" เมืองที่ได้เชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งทะเลสาบและสายน้ำ สวนดอกไม้ ทิวทัศน์แห่งขุนเขาและงานศิลปะ แคชเมียร์ ตั้งอยู่ตอนเหนือสุดของอินเดีย
สิกขิม
• สิกขิม ดินแดนในอ้อมกอดหิมาลัย มียอดเขาที่สูงที่สุดคือยอดเขาคันชังจุงก้าสูงถึง 8,598 เมตร สิกขิมมีธรรมชาติที่บริสุทธิ์และสวยงาม มีหุบเขายุมถังดินแดนที่ได้รับสมญานามว่า “สวิสเซอร์แลนด์แห่งเอเชีย”
ถ้ำอชันตา
• ถ้ำอชันตา : ถ้ำพระพุทธศาสนา
• ถ้ำอชันตา มีเกิดมาตั้งแต่ พ.ศ.350 เดิมทีนั้นสร้างโดยพระสงฆ์นิกายหินยาน และช่างแกะสลักส่วนใหญ่ก็เป็นชาวฮินดูที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ
ราชสถาน
• ราชสถาน ดินแดนฟ้าจรดทราย ถ้าอยากดูอินเดียให้คุ้มค่าต้องมาราชสถาน เมืองมหาราชา เมืองแห่งการค้าขาย มหานครแห่งความมั่งคั่งที่ประกอบด้วยนครสีชมพู นครสีฟ้า และนครสีทอง
ทัวร์อินเดีย
• ทัวร์อินเดีย รวมโปรแกรมท่องเที่ยวอินเดีย สังเวชณียสถาน แคชเมียร์ เลห์ลาดัก สิกขิม ถ้ำอชันตา ราชสถาน ไหว้พระพิษเนศ 8 ปาง ตามรอยคนไทยในอัสสัม เมืองโอริสสา
โอริสสา
• โอริสสา รัฐโอริสสาบันทึกว่าพระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งครอบครัวชาวเมืองกาลิงคะ 8 ครอบครัว ร่วมไปกับพระสังฆมิตตาเถรี บุตรี นำกิ่งของต้นพระศรีมหาโพธิ์ไปยังประเทศลังกา
• อินเดีย เที่ยวอินเดีย
• แคชเมียร์ แดนแดนโรแมนติก
• สถานที่ท่องเที่ยวอินเดีย
• เดลี ประตูชัย ตลาดจันปาท
• วัดอัครชาดาม วัดดอกบัว
• หอคอยกุตับมินาร์ มรดกโลก
• อินเดีย เส้นทางพระพุทธศาสนา
• เลห์ ลาดัก อ้อมกอดแห่งหิมาลัย
• เส้นทางรัฐมหาราช
• เส้นทางรัฐโอริสสา
• รัตนะคีรี อุทัยคีรี ลาลิตคีรี
• ทัวร์โอริสสา ทะเลสาบชิริกา
• สิกขิม สวิสเซอร์แลนด์แห่งเอเชีย
• รัฐราชสถาน เมืองมหาราชา
• เส้นทางรัฐอัสสัม
ทัวร์โปรโมชั่น

สอบถามทัวร์ทาง Line
• บริษัท โอเชี่ยนสไมล์ทัวร์ จำกัด
23/121 ซอยนวมินทร์ 161 แยก1-4  ถนนนวมินทร์  แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม  กรุงเทพฯ  10230
โทร. 0-2969 3664, 02-949 5134-36  (ใบอนุญาตนำเที่ยวเลขที่ 11/5028)

• ID LINE : @oceansmiletour
• คุณเล็ก โทร.082-3656241
• ID Line : lekocean2
• คุณโจ้ โทร.093-6468915
• ID Line : oceansmile
• รับทำกรุ๊ปเหมา เที่ยวส่วนตัว ดูงาน
• ประเทศจีน (ทุกเมือง) อินเดีย (ทุกเมือง)
• เนปาล ภูฏาน บาหลี ศรีลังกา ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า
• โปรแกรมทัวร์
ทัวร์พุทธคยา ราชคฤห์
ทัวร์ซีอาน • XI-AN-655B : ซีอาน สุสานทหารจิ๋นซี ลั่วหยาง ถ้ำหลงเหมิน หยุนไถซาน ศาลไคฟง วัดเส้าหลิน โชว์เส้นทางสายไหม
• วันที่ 30 ธันวาคม - 4 มกราคม 2567
ทัวร์แชงกรีล่า • TG-651 : คุนหมิง ต้าหลี่ ลี่เจียง แชงกรีล่า วัดซงจ้านหลิง ภูเขาหิมะมังกรหยก เมืองโบราณลี่เจียง (TG)
• วันที่ 3 - 8 ธันวาคม 2566
• วันที่ 31 ธันวาคม - 5 มกราคม 2567
ทัวร์จิ่วจ้ายโกว
ทัวร์เส้นทางสายไหม
ทัวร์ต๋ากู่ ง้อไบ้ • TG656 : เฉิงตู ต๋ากู่ปิงชวน เขาง้อไบ๊ ยอดเขาจินติ่ง หลวงพ่อโตเล่อซาน หวงหลงซี โชว์เปลี่ยนหน้ากาก (TG)
• วันที่ 4 – 9 เมษายน 2567
• วันที่ 11 - 16 เมษายน 2567
ทัวร์กุ้ยหลิน • GL651 : กุ้ยหลิน หลงเซิ่น เขาเซียงกง หยางซั่ว เขาหลูยี่ ถ้ำขลุ่ยอ้อ เขางวงช้าง โชว์ DREAM LIKE โชว์ Liu shan jie
• วันที่ 24 - 29 กุมภาพันธ์ 2567
• วันที่ 23 - 28 มีนาคม 2567
ทัวร์ถ้ำอชันต้า • GAYA645 : พุทธคยา ราชคฤห์ นาลันทา เดลี ถ้ำอชันตา ถ้ำเอลโลร่า มุมไบ (TG)
• วันที่ 10 - 15 กุมภาพันธ์ 2567
• วันที่ 23 - 28 มีนาคม 2567
ทัวร์ทัชมาฮาล • INDIA-535 : ทัวร์เส้นทาง 6 มรดกโลกอินเดีย เดลี อัครา ทัชมาฮาล อัคราฟอร์ท ฟาเตห์ปูร์สิกรี ชัยปุระ
• วันที่ 23 - 27 กุมภาพันธ์ 2567
ทัวร์พุทธคยาพาราณสี • INDIA-877 : ทัวร์อินเดีย เนปาล พุทธคยา ราชคฤห์ กุสินารา ลุมพินี สาวัตถี พารานสี (บินตรงพุทธคยา TG)
• วันที่ 24 กุมภาพันธ์ – 2 มีนาคม 2567
• วันที่ 20 – 27 มีนาคม 2567
ทัวร์ปูเน่ • PUNE755 : มุมไบ ถ้ำช้าง ถ้ำอชันตา ถ้ำเอลโลร่า เมืองปูเน่ เมืองพระพิฆเนศ วัดสิทธิวินายัก (TG)
• วันที่ 22 – 28 กุมภาพันธ์ 2567
• วันที่ 10 – 16 ตุลาคม 2567
ทัวร์อินเดียพุทธคยา • INDIA-879 : อินเดีย เนปาล พุทธคยา ราชคฤห์ กุสินารา ลุมพินี สาวัตถี แม่น้ำคงคา พารานสี (บินตรงพุทธคยา B3)
• วันที่ 30 ธันวาคม - 6 มกราคม 2567
ทัวร์ถ้ำอชันตา • BOM645 : ทัวร์ถ้ำอชันตา ถ้ำเอลโลร่า ถ้ำช้าง ถ้ำกัณเหรี ไหว้พระพิฆเนศ ออรังกาบัด มุมไบ
• วันที่ 22 – 27 กุมภาพันธ์ 2567
ทัวร์แคชเมียร์ เลห์ลาดัก
ทัวร์ภูฏาน • PU546 : ภูฏาน พาโร ทิมพู ปูนาคา วัดทักซัง พาโรซอง ทิมพูซอง ปูนาคาซอง
• วันที่ 29 ธันวาคม - 2 มกราคม 2567
ทัวร์แคชเมียร์ • INDIA-871: แคชเมียร์ ศรีนาคา ทัชมาฮาล อัคราฟอร์ท พาฮาลแกรม กุลมาร์ค โซนามาร์ค ทะเลสาบดาล (TG)
• วันที่ 10 - 17 เมษายน 2567
• วันที่ 14 - 21 เมษายน 2567
ทัวร์เมดาน • Medan436 : เมดาน อินโดนีเซีย บรัสตากี้ พาราพัท ทะเลสาบโทบา น้ำตกซิปิโซปิโซ - มาเลเซีย กัวลาลัมเปอร์
• วันที่ 2 - 5 ธันวาคม 2566
• วันที่ 15 – 18 กุมภาพันธ์ 2567
ทัวร์ภูกระดึง • PHD1 : พิชิต ภูกระดึง ชม น้ำตก ทุ่งหญ้า ป่าสน ผานกแอ่น ผาหล่มสัก
• กรุ๊ป 6 ท่านเดินทางได้ทุกวัน (รถตู้)
น้ำตกทีลอซู • TAK-2 : อุ้มผาง ล่องแก่ง น้ำตกทีลอซู ดอยหัวหมด น้ำตกพาเจริญ ถ้ำสีฟ้า
• กรุ๊ป 8 ท่านเดินทางได้ทุกวัน (รถตู้)
บริษัท โอเชี่ยนสไมล์ทัวร์ จำกัด โทร. 0-2969 3664, 0-2949 5134-36
เลขที่ 23/121 ซอยนวมินทร์ 161 แยก1-4 ถ.นวมินทร์ แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10230

Hotline 0-936468915, 0-823656241 (ใบอนุญาตนำเที่ยวเลขที่ 11/5028)