ปราสาทแปรรูป
ปีที่สร้าง : สร้างในต้นพุทธศตวรรษที่
16 (พ.ศ. 1504)
รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าราเชนทรวรมันที่
2
ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบแปรรูป
ศาสนา : ศาสนาฮินดู นิกายไศวนิกาย
ปราสาทแปรรูป จัดเป็นปราสาทหลวงในรัชสมัยของพระเจ้าราเชนทรวรมันที่
2 ก่อนที่จะย้ายเมืองหลวงไปยังเมืองพระนคร พระเจ้าราเชนทรวรมันที่
2 ทรงเลือกบริเวณทิศใต้ของบารายตะวันออกเพื่อตั้งเป็นเมืองหลวง
และปราสาทแปรรูปแห่งนี้ อุทิศถวายให้แก่พระศิวะ พระวิษณุ
และพระพรหม
แปรรูป มาจากความหมายที่ว่าการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
สันนิษฐานจากลักษณะของหีบซึ่งทำจากหินทราย ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก
ก่อนขึ้นไปสู่ปรางค์ประธาน หีบหินทรายนี้เป็นที่สำหรับบรรจุอัฐิของพระมหากษัตริย์
ปรางค์ประธาน ถูกสร้างอยู่เหนือฐานอิฐ 3 ชั้น แต่ละชั้นมีขั้นบันไดขึ้นไป
12 ขั้น รูปทรงลักษณะคล้ายปิรามิด ส่วนปรางค์บริวารทั้ง
4 อยู่บนฐานเดียวกัน
ภาพสลักพระอินทร์ ที่ทับหลังของปรางค์ประธาน
มีภาพสลักพระอินทร์ซึ่งเป็นเทพประจำทิศตะวันออก พวงอุบะ
(พวงมาลัย) และเหล่าพรรณพฤกษาถือเป็นต้นแบบของศิลปะยุคแปรรูป
ด้านข้างของเสากรอบประตูมีภาพสลักของเทพธิดาที่ดูทรุดโทรมลงไปบ้าง
บันไดขึ้นสู่ปรางค์ประธาน ค่อนข้างชันและแคบ
เปรียบเหมือนผู้ที่จะเข้าสู่ปรางค์ประธานจะต้องมีการคาราวะ
ก้มหน้าก้มตาขึ้นสู้บันไดด้วยความระมัดระวัง ปรางค์บริวารด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้
มีภาพสลักของเทพธิดาที่งดงามอยู่บนอิฐและปูนปั้นโบราณของพระนางลักษมีและพระวิษณุ
ภาพสลักพระนางอุมาเทวีและพระศิวะ ส่วนปรางค์ประธานที่อยู่ตรงกลางมีภาพสลักพระพรหม
ซึ่งมี 4 หน้าและ 4 กร
ปราสาทแม่บุญตะวันออก
ปีที่สร้าง : สร้างในปลายปีพุทธศตวรรษที่
15 (พ.ศ. 1495)
รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าราชทรวรมันที่
2
ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบแปรรูป
ศาสนา :ศาสนาฮินดู ไศวนิกาย
ก่อนที่จะมีการสร้างแม่บุญตะวันออกขึ้น พระเจ้ายโศวรมันที่
1 ทรงสร้างบารายทางทิศตะวันออก โดยมีพระประสงค์เพื่อให้มีน้ำใช้กันทั้งเมือง
บารายนี้มีความยาว 7 กิโลเมตร และกว้าง 1.8 กิโลเมตร มีความลึก
4 เมตร เก็บน้ำได้ถึง 55 ล้านลูกบาศก์เมตร บารายนี้ถูกขนานนามว่า
ยโศธรตฏากะ หรือสระน้ำของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ซึ่งได้น้ำจากแม่น้ำโรลัวะไหลเข้ามายังบารายแห่งนี้
เช่นเดียวกับปราสาทแปรรูป ปราสาทแม่บุญตะวันออก เปรียบประหนึ่งวิหารที่อยู่บนยอดเขา
เพราะความสูงทั้ง 3 ชั้นของปราสาท จากพื้นถึงยอดปรางค์ประธานมีความสูงถึง
28 เมตร กำแพงล้อมรอบปราสาทกว้าง 121 เมตร ยาว 126 เมตร
ฐานชั้นล่างของปราสาทกว้าง 104 เมตร ยาว 108 เมตร ชั้นบนสุดของปรางค์ทั้ง
5 หลัง ถูกสร้างอยู่บนฐานเดียวกัน ที่ทับหลังของปรางค์ประธานมีภาพสลักของคชลักษมี
ที่อยู่ทางซ้ายและขวาของพระนางลักษมี โดยชูงวงขึ้นประสานกัน
ปราสาทด้านทิศตะวันตก มีภาพสลักพระวิษณุอวตารเป็นนรสิงห์กำลังขบกัดยักษ์ตนหนึ่ง
ปราสาททุกหลังสร้างโดยใช้อิฐเรียงต่อกัน ยกเว้นเสาและกรอบประตูทางเข้า
และทับหลังเป็นหินทราย ข้างเสากรอบประตูมีภาพสลักของทวารบาลอยู่ทั้ง
2 ด้าน ทางเข้าสู่ปรางค์ประธานเข้าได้เฉพาะทางทิศตะวันออกเท่านั้น
ส่วนทิศตะวันตกถูกปิดทึบ จากชั้นบนสุดหน้าปรางค์ประธาน เมื่อมองไกลออกไป
จะเห็นทุ่งนาและคันดินบารายยังคงสภาพให้เห็นอยู่
ปราสาทพนมบก
ปีที่สร้าง : สร้างในปีพุทธศตวรรษที่
15
รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้ายโศวรมันที่
1
ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบบาแค็ง
ศาสนา : ศาสนาฮินดู ไศวนิกาย
นอกจากเทือกเขาพนมกุเลนอันเป็นแหล่งหินแล้ว ยังมีเขาลูกย่อมๆ
ในเสียมเรียบอีก 3 ลูก คือเขาพนมบาแค็ง เขาพนมกรอม และเขาพนมบก
ทั้งสามล้วนมีปราสาทตั้งอยู่บนยอดเขา เขาพนมบกไม่ค่อยเป็นที่นิยมเนื่องจากอยู่ไกลออกไปจากปราสาทอื่นๆ
ที่อยู่ในเสียมเรียบ เลยปราสาทบันทายสรี ออกไปไม่ไกลนักจะเห็นภูเขาขนาดย่อมลูกหนึ่ง
นั่นคือเขาพนมบก เป็นหนึ่งในสามลูกที่พระเจ้ายโศวรมันที่
1 ได้ทรงสร้างปราสาทไว้ เขาพนมบก มีความสูงประมาณ 70 เมตร
ต้องเดินเท้าขึ้นไปเพื่อเยี่ยมชมปราสาทบนยอด
ปราสาท 3 หลัง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน
คล้ายคลึงกับปราสาทพรมกรอม แต่ปราสาทนี้ยังคงลวดลายภาพสลักสมบูรณ์กว่า
ศิวลึงค์ใหญ่ มีขนาดสูงประมาณ
2 เมตร แม้จะทรุดโทรมลงไปบ้างแต่ก็เห็นถึงความยิ่งใหญ่ อยู่บนฐานโยนีที่ถูกต้นไม้ใบหญ้าปกคลุมความใหญ่โตของฐานโยนีเป็นเนินดินทรงสี่เหลี่ยมทีเดียว
ภาพสลักเทพธิดา อยู่ติดกับผนังของปราสาท
จะเห็นผ้านุ่งเป็นผ้าริ้วคล้ายคลึงกับกระโปรงพลีต ซึ่งไปพบในศิลปะในสมัยใดนักโบราณคดีจัดให้ศิลปะแบบนี้เป็นยุคหนึ่งคือยุคศิลปะแบบพนมบาแค็ง
ชมวิวทิวทัศน์ เนื่องจากปราสาทนี้อยู่บนยอดเขาจึงสามารถขึ้นไปชมวิวทิวทัศน์ได้ไกล |