บริษัททัวร์ โอเชี่ยนสไมล์ทัวร์
ทัวร์หุบเขาเทวดา







 
• ข้อมูลท่องเที่ยว จังหวัดน่าน
• ประวัติโบราณสถานวิหารไทลื้อวัดหนองแดง
(คัดลอกจากเอกสารวัดหนองแดง ต.เปือ อ.เชียงกลาง จ.น่าน)
• วิหารไทลื้อ วัดหนองแดง ตั้งอยู่ บ้านหนองแดง หมู่ที่ 1 ต.เปือ อ.เชียงกลาง จ.น่าน มีเนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 73 ตารางวา ไดรับอนุญาตให้สร้างวัด พ.ศ. 2330 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2365 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา และแสดงของเขตเล่มที่ 98 ตอนที่ 177 วันที่ 27 ตุลาคม 2524 สร้างก่อนได้รับอนุญาตให้สร้างมาแล้วหลายปี นามเจ้าอาวาสผู้สร้างได้แก่ พระธรรมวงศ์ ครูบานาย ครูบาอาณา และผู้ก่อสร้างพระประธารองค์ปัจจุบัน คือ ครูบาสิทธิการ อันเป็นที่มาของนามสกุล “สุทธการ” ของชาวบ้านหนองแดงปัจจุบัน
• การบูรณะ บูรณะมาแล้วหลายครั้ง ที่พอจำได้ บูรณะครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2492 ครั้งที่สอง วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2538 โดยพระครูนันทชัยคุณ เจ้าคณะอำเภอเชียงกลาง เป็นวัดลักษณะสถาปัตยกรรมแบบไทลื้อสร้างมากว่า 200 ปี สิ่งที่น่าสนใจ ภายในวัด มีดังนี้
• ฐานชุกชี ที่ประดิษฐ์องค์พระประธานเป็นลักษณะแท่นยกสูง ก่อฐานแบบชาวบ้าน พันรอบด้วยนาคเรียกว่า นาคบัลลังก์ เพราะเลื้อยพันรอบองค์พระประธานตวัดหางสู่เบื้องบน ดูงดงามตามฝีมือของช่างชาวบ้าน
• ลักษณะสถาปัตยกรรม มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่เหมือนใคร มีหลังคาที่ชันมาก เพื่อระบายน้ำฝนได้อย่างรวดเร็ว
• จิตรกรรมฝาผนัง ด้านหลังของฐานชุกชีที่ก่อเป็นอิฐเรียงทรงสูงเป็นผนัง จะมีรูปเขียนเป็นจิตรกรรมเกี่ยวกับเรื่องพระโพธิสัตว์ และเรื่องทศชาติชาดก น่าศึกษาติดตาม เพราะเป็นลักษณะพิเศษของงานสถาปัตยกรรมพื้นบ้านแบบไทลื้อที่น่าสนใจ
• ช่อฟ้า มีความเป็นเอกลักษณ์ที่น่ายกย่องของชาวไทลื้อ ลักษณะของช่อฟ้าจะเกิดจากความนับถือหงส์และช้างที่ชาวไทลื้อถือว่าเป็นสัตว์ชั้นสูงมาจากสรวงสวรรค์ ช่างจึงนำเอาลักษณะรูปแบบของช้างและหงส์มารวมเป็นตัวเดียวกัน โดยให้ส่วนศีรษะเป็นช้างส่วนตัวเป็นหงส์ แกะด้วยไม้สักทอง มีชื่อเรียกว่า “นกหัสดีลิงค์”
• ใบระกา เป็นลักษณะพิเศษที่ช่างฝีมือท้องถิ่นได้ทำขึ้นโดยทำเป็นแผ่นไม้เรียบๆ แต่ฉลุลวดลายอ่อนช้อยต่อเนื่องกันลงกลางแผ่นไม้ด้านนอก
• เชิงชาย มีลวดลายฉลุเป็นแผ่นไม้นำมาเรียงต่อเนื่องกันเป็นแบบลวดลายน้ำหยาด มีลักษณะสวยงาม ซึ่งเป็นลวดลายเฉพาะของชาวไทลื้อ
• วัสดุมุง มุงด้วยกระเบื้องไม้ที่เรียกว่า แป้นเกล็ด ทั้งนี้เพราะไม้เป็นวัสดุท้องถิ่นหาได้ง่ายราคาถูก และช่างมีความชำนาญในการทำโดยตัดไม้เป็นแผ่นๆ ด้านบนเป็นแนวตรง ด้านล่างเป็นทางมน วัสดุที่ใช้ยึดกระเบื้องไม้ติดกับไม้ระแนงคือ เดือยไม้
• หน้าบัน ออกแบบเป็นลวดลายไม้ที่มาจากลายดอกธรรมชาติแล้วนำมาจัดเว้นช่องไฟ จัดระยะได้อย่างเหมาะสม งดงาม โดยจัดเป็นช่องเท่าๆกัน มีดอกไม้กำลังบานอยู่ตรงกลาง และมีแผ่นกระจกเงาติดอยู่ตรงกลางหน้าบันพอดี ซึ่งเชื่อว่าคือสิ่งสะท้อนความชั่วร้ายไม่ให้กล้ำกรายเข้ามาภายใน และใช้ประดับตกแต่งเพื่อให้เกิดความสวยงาม
• ฝ้าเพดาน แต่เดิมทางภาคเหนือจะไม่มีฝ้าเพดาน แต่ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้มีการใช้ฝ้าเพดานเข้ามาเป็นส่วนตกแต่งภายในให้ดูสง่างามขึ้น ฝ้าเพดานจะมีลวดลายจากธรรมชาตินำมาตกแต่งเป็นช่องๆ เว้นระยะช่องไฟได้อย่างถูกต้อง และลวดลายยังกลมกลืนกับลายเสา ซึ่งเมื่อดูแล้วทำให้เกิดความศรัทธาและศักดิ์สิทธิ์
• ธรรมาสน์ ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสก่อสร้างติดกับพื้นเคลื่อนที่ไม่ได้ สร้างด้วยอิฐถือปูนมีลวดลายปูนปั้นทั้ง 4 ด้าน ส่วนกลางโล่งมีฝาปิดสามด้าน อีกด้านเป็นประตูให้พระสงฆ์ขึ้นไปนั่งเทศน์ แกะสลักเป็นลายดอกไม้เครือเถาประดับหลังคาของธรรมาสน์จะทำเป็นชั้นๆ ตามความเชื่อและการนับถือ เปรียบเสมือนวิมานที่เป็นชั้นๆ นอกจากนั้นยังลดความรู้สึกอึดอัดและความหนักลงส่งผลไม้เกิดความงดงามตามมา หลังคาซ้อนกันนี้ยังสามารถป้องกันเสียงสะท้อนโดยสร้างหลังคาให้สูง มีช่องอากาศตรงกลางระหว่างฝ้าเพดานกับหลังคา ซึ่งจะช่วยการระบายถ่ายเทความร้อนได้ดี
• สัตตภัณฑ์ เป็นแบบชั้นบันได ราวบันไดจะทำเป็นรูปนาค สลักลายข้าง และประดับด้วยกระจกที่ชั้นบันไดอย่างวิจิตร ตรงผนังด้านบนสุดสลักลายเครือเถาสวยงาม
• หน้าต่าง เดิมช่องหน้าต่างจะเจาะช่องเล็กๆ แคบมากเพราะผนังอิฐก่อแบบโบราณไม่มีเสารับน้ำหนัก แต่น้ำหนักทั้งหมดลงที่ฐานด้วยผนังหนานี้ เรียกว่า “ระบบผนังรับน้ำหนัก” ซึ่งเป็นวิธีเก่าแก่ดั้งเดิมของช่างชาวล้านนา จึงเจาะผนังกว้างๆไม่ได้ เพราะจะเสียกำลังในการรับน้ำหนัก การปล่อยให้แสงสว่างเข้ามายังองค์พระประธานแต่น้อย เป็นความรู้สึกอย่างหนึ่งที่ผู้สร้างต้องการให้แสงสว่างลอดส่องเข้ามาพุ่งตรงไปที่พระประธานเท่านั้น เพื่อเพิ่มความศักดิ์สิทธิ์แก่องค์พระปฏิมาจะได้เกิดสมาธิที่แน่วแน่แก่ผู้ที่เข้าไปกราบไหว้ เคารพบูชา
• ประตู ประตูมีขนาดกว้าง 1.50 เมตร มีบานเปิด ปิด ที่บานประตูจะใช้บายพับยึดแต่จะใช้เดือยไม้ที่ติดกับบานสวมเข้าไปในวงกบทั้งบนและล่าง ลักษณะวงกลเป็นแผ่นไม้ขนาดใหญ่หนา 3 นิ้ว กว้าง 50 เซนติเมตร แกะสลักเป็นลวดลายดอก
• ผนัง ก่อด้วยอิฐหนา 0.50 เมตร เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นกำแพงรับน้ำหนักโครงสร้างของหลังคาให้มีความมั่นคง แข็งแรงทนทาน อันหมายถึงความเจริญทางศาสนาพุทธที่มั่นคง รวมทั้งทำให้บรรยากาศภายในอุโบสถอบอุ่น
• เสา บริเวณผนังจะไม่มีเสา เพราะอาศัยกำแพงรับน้ำหนักขึ้นมาแทน แต่จะก่อเสาหรอกขึ้นเพื่อจะทำให้ดูแล้วผนังไม่เรียบไม่ขัดสายตาของผู้ดู ส่วนภายในจะมีเสาไม้ขนาด 0.50 เมตร ซึ่งเป็นเสากลมที่มีขนาดใหญ่ขึ้นไปรับโครงหลังคาที่อยู่สูงที่กำแพงรับน้ำหนักไท้สามารถขึ้นไปรับได้ และตกแต่งให้ดูสวยงาม ด้วยลวดลายจากธรรมชาติเป็นเครือเถาและดอกไม้ต่างๆ
• ลวดลายประดับ ตกแต่งที่ฐานชุกชี ธรรมาสน์ อาสนสงฆ์ หน้าบัน ปั้นลม และเชิงชายต่างๆ เป็นการทำงานของช่างไทลื้อแบบดั้งเดิม ผสมผสานกับความเชื่อและตำนานพื้นบ้านลายพื้นบ้านเดิมมักจะได้มาจากธรรมชาติ และพิธีกรรมพื้นบ้าน เช่น ลายหัวเสาประตูทางเข้าที่ได้มาจากการประดับตกแต่งพิธีบายศรีรับขวัญ เป็นรูปกระทงใบตองซ้อนๆ กันหลายๆ ชั้น โดยจะเอามาเพียงชั้นเดียวทำเป็นรูปแบบลายหัวเสาที่กำแพงเตี้ยทางเข้าหน้าวัด เป็นต้น
• คันทวย มีการแกะสลักจิตนาการลวดลายเถาวัลย์ รูปสัตว์ในป่าหิมพานต์ด้วยปริศนาธรรมอย่างน่าสนใจ อันแสดงให้เห็นถึงความเจริญทางด้านคุณธรรม จริยธรรมของคนโบราณ
• รูปทรง จะมีลักษณะที่ดูเตี้ยทึบหลังคาทรงสูง แต่ทั้งนี้เมื่อได้เข้าไปในวิหารจะรู้สึกว่าอากาศถ่ายเทดี อากาศเย็น มีแสงสว่างเข้ามาสะท้อนกับพระประธาน และลวดลายต่างๆ ที่เป็นสีทอง ทำให้เกิดแสงสะท้อนเกิดความขลังศักดิ์สิทธิ์และความศรัทธาของผู้ที่ได้พบเห็น
• ขอบเขต มีถนนตัดผ่านเข้าออกภายในวัด สะดวกภูมิทัศน์โปร่งโล่ง มีเจดีย์เป็นแกนสำคัญของวัดหนึ่งองค์ มีต้นโพธิ์อายุหลายร้อยปี
• โบราณสถานวิหารไทลื้อวัดหนองแดง เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทลื้อที่หาดูได้ยากยิ่งในปัจจุบัน และเป็นวิหารไม้รุ่นสุดท้ายที่คงรูปทรงเดิมที่ยังหลงเหลือของร่องรอยของช่างโบราณรุ่นเก่าอยู่.....วิหารนี้จึงนับว่าเป็นสิ่งที่ควรอนุรักษ์ไว้สืบไป......
น่าน จังหวัดน่าน โรงแรมน่าน ดอยภูคา ดอยเสมอดาว เที่ยวน่าน ทัวร์น่าน
แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง
• น่าน จังหวัดน่าน น่าน เดิมมีชื่อว่า “นันทบุรี” หรือ “วรนคร” เป็นเมืองชายแดนแห่งล้านนาตะวันออก มีความเก่าแก่รุ่นเดียวกับกรุงสุโขทัย มีเจ้าผู้ครองนคร ๖๔ พระองค์
• ดอยภูคา อุทยานแห่งชาติดอยภูคา เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามของจังหวัดน่าน มี ต้นชมพูภูคา เต่าร้างยักษ์ (เต่าร้างน่านเจ้า) พบที่เดียวในโลก รวมทั้งวิวทิวทัศน์ของขุนเขา ทะเลหมอก
• วัดพระธาตุแช่แห้ง วัดภูมินทร์ วัดพระธาตุแช่แห้ง พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดน่าน (พระธาตุประจำปีเกิดปีเถาะ) วัดภูมินทร์ วัดที่สวยงามด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนัง
• ดอยเสมอดาว ผาชู้ อุทยานแห่งชาติศรีน่าน มีสถานที่สวยงามมากมาย อาทิ เสาดินและคอกเสือ จุดชมวิวผาชู้ จุดชมวิวดอยเสมอดาวและผาหัวสิงห์ แก่งหลวงและเส้นทางศึกษาธรรมชาติ
• วัดพระธาตุช้างค้ำ เดิมเรียก “วัดหลวง” หรือ “วัดหลวงกลางเวียง” สร้างขึ้นในสมัยเจ้าปู่แข็ง พ.ศ. ๑๙๓๙ สำหรับทำพิธีสำคัญทางพุทธศาสนาและพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา
• วัดหนองบัว บ้านหนองบัว วัดหนองบัวเป็นวัดที่เก่าแก่ประจำหมู่บ้านหนองบัว อ.ท่าวังผา เป็นสถาปัตยกรรมไทยล้านนาที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่ง ซึ่งหาดูได้ยากมากในสมัยนี้
• วัดมิ่งเมือง มีองค์พระประธาน “หลวงพ่อพระศรีมิ่งเมือง” เป็นศิลปะเชียงแสน มีอายุ 400 กว่าปี และเป็นสถานที่ตั้งศาลหลักเมืองของจังหวัดน่าน
• วัดหนองแดง สถาปัตยกรรมไทยลื้อ สถาปัตยกรรม มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนใคร จิตรกรรมฝาผนัง ด้านหลังของฐานชุกชีเป็นลักษณะพิเศษของงานสถาปัตยกรรมพื้นบ้านแบบไทลื้อ
• ข้อมูลท่องเที่ยว จังหวัดน่าน 
ทัวร์โปรโมชั่น

สอบถามทัวร์ทาง Line
• บริษัท โอเชี่ยนสไมล์ทัวร์ จำกัด
23/121 ซอยนวมินทร์ 161 แยก1-4  ถนนนวมินทร์  แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม  กรุงเทพฯ  10230
โทร. 0-2969 3664, 02-949 5134-36  (ใบอนุญาตนำเที่ยวเลขที่ 11/5028)

• ID LINE : @oceansmiletour
• คุณเล็ก โทร.082-3656241
• ID Line : lekocean2
• คุณโจ้ โทร.093-6468915
• ID Line : oceansmile
• รับทำกรุ๊ปเหมา เที่ยวส่วนตัว ดูงาน
• ประเทศจีน (ทุกเมือง) อินเดีย (ทุกเมือง)
• เนปาล ภูฏาน บาหลี ศรีลังกา ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า
• โปรแกรมทัวร์
ทัวร์อู่ฮั่น หุบเขาเทวดา • WUHAN541 : อู่ฮั่น หุบเขาเทวดาวั่งเซียนกู่ ยุทธการผาแดง ล่องเรืออู้หลี่โจว หมู่บ้านหวงหลิ่ง พระใหญ่ตงหลิง
• วันที่ 17 – 21 พฤศจิกายน 2566
• วันที่ 24 - 28 พฤศจิกายน 2566
ทัวร์แชงกรีล่า • TG-651 : คุนหมิง ต้าหลี่ ลี่เจียง แชงกรีล่า ภูเขาหิมะมังกรหยก เมืองโบราณลี่เจียง (TG)
• วันที่ 3 - 8 ธันวาคม 2566
• วันที่ 31 ธันวาคม - 5 มกราคม 2567
ทัวร์ซีอาน
ซานซี อูไถซาน
ทัวร์ซีอาน
ทัวร์เส้นทางสายไหม • CANAT29 : ซีอาน ลั่วหยาง เส้นทางสายไหม จางเย่ ภูเขาสีรุ้ง ด่านเจียยี่กวน ตุนหวง ทูรูฟาน อูรูมูฉี (บินภายใน)
• วันที่ 10 - 19 พฤศจิกายน 2566
ทัวร์พุทธคยา • INDIA-545 : พุทธคยา ราชคฤห์ นาลันทา พาราณสี คงคาอารตี สารนาท (บินตรงพุทธคยา 5 วัน B3)
• วันที่ 30 ธันวาคม - 3 มกราคม 2567
ทัวร์พุทธคยา • INDIA-879 : อินเดีย เนปาล พุทธคยา ราชคฤห์ กุสินารา ลุมพินี สาวัตถี แม่น้ำคงคา พารานสี (บินตรงพุทธคยา B3)
• วันที่ 30 ธันวาคม - 6 มกราคม 2567
ทัวร์อินเดีย • INDIA-877 : ทัวร์อินเดีย เนปาล พุทธคยา ราชคฤห์ กุสินารา ลุมพินี สาวัตถี พารานสี (บินตรงพุทธคยา WE)
• วันที่ 30 ธันวาคม - 6 มกราคม 2567
• วันที่ 24 กุมภาพันธ์ – 2 มีนาคม 2567
ทัวร์ถ้ำอชันต้า • INDIA-503 : ทัวร์ถ้ำอชันตา ถ้ำเอลโลร่า ไหว้พระพิฆเนศ ออรังกาบัด ถ้ำช้าง ถ้ำกัณเหรี มุมไบ
• วันที่ 7 - 12 ธันวาคม 2566
• วันที่ 22 – 27 กุมภาพันธ์ 2567
ทัวร์ทิเบต รถไฟหลังคาโลก • TIBET51 : ทิเบต ลาซา วังโปตาลา รถไฟหลังคาโลก ซีหนิง หลานโจว ซีอาน โชว์เส้นทางสายไหม (TG)
• วันที่ 3 - 10 ธันวาคม 2566
ทัวร์ทิเบต • TIBET105 ทิเบต ลาซา รถไฟหลังคาโลก เส้นทางสายไหม หลานโจว ภูเขาสายรุ้ง ถ้ำตุนหวง (TG)
• วันที่ 10 - 20 ธันวาคม 2566
ทัวร์นครวัด • KHM-1 : ปราสาทนครวัด นครธม พนมกุเลน ปราสาทตาพรหม ปราสาทบันทายสรี ล่องเรือโตนเลสาบ
• เดินทางได้ทุกวัน
ทัวร์หุบเขาเทวดา • WUHAN659 : อู่ฮั่น จิ่วเจียง วัดตงหลิง หมู่บ้านหวงหลิ่ง หุบเขาเทวดาวั่งเซียนกู่ ภูเขาหลิงซาน ยุทธการผาแดง
• วันที่ 8 - 13 ธันวาคม 2566
• วันที่ 22 - 27 กุมภาพันธ์ 2567