|
ʶҹͧǨѧѴ§ |
ФٺԪ § |
ٺԪ
繷ѡѹࢵҹ "ح"
"ѡح" ѹդԧ¡ͧ繹ѡǪդسѵԾ
Ҩա¡ա ٺԪ ФٺԪ
ٺŸ (ҹ"")
辺ҷҹѡ¡ͧ Ъԡ Ԫªԡ
Թҧ¿ͧ ͧҡ㹢зҹ͡Դ鹻ҡҤйͧҧ˹ѡ
ǹԹ ¶֧ ԴҷǶ֧äͧͧԹ
ҹԴ㹻բ ˹( ͧҤҧ)
.. Ҿź çѺѹѧ÷ Զع¹
.. ҹ "ҹҧ" Ӻ
ѧѴӾٹ ҹ繺صâͧ¤ ҧ վͧ
ժ͵ӴѺ . . ҧǹ . Թ(ٺԪ)
. ҧ . ·
駹¤ºԴҢͧҹԴ繵Ҥ
蹻Һ (Һ) ҪվͤͧҧͧǧҴáķè(ҼͧӾٹͧ
ǧ ..-)仵駤ͺǺءԡӡԹҹҧ
ҹͧ¤ҹѹҧǧ ҧҹ˹ͧͧ͢Ӿٹ
·ٺԪԹѧ
ҹѧѧѹҡժ ҡЪ
ͭ (§) 㹪ǧ鹺ҹҧѧѴШҹ
зԹ վԡٻ˹觪
ٺҢѵ (Ǻҹ¡ ٺ зҹԹҡš)
ԹشҡҹҫҧҹҶ֧ҹ Ǻҹ֧ҹШӷҹҧ
ǪǺҹ¡ѹҧدԪǤҹӾ 㹪ǧ
硪Թҡ աþ÷
觹դٺҢѵ繾ػѪ յ (..
) Թҧ ػʶѴҹǧ
ͺҹ觨ѧѴӾٹ դٺѴҹǧ繾ػѪ
Ѻ㹡ػ Ԫԡڢ չѭѵ
Ԫ 觺ҧ駡羺¹
Ԫ
ػ ԪԡءѺҨӾҷҹҧա
ҡ֡ҡѯҹԪҤѺٺػ
Ѵ ѧѴӾٹ 份ҡͧٺѴ¤ա
աҹ˹觷繤٢ͧٺԪ¤ͤٺ
Ѵҹǧ繾ػͧҹ
ٺԪѺ֡ҨҡٺػѴ
ҡѺҹҧ֧ .. (
ҷ ) ٺҢѵԡ͡ҡҹҧ(ҧҹóҾ)
ٺԪ¨֧ѡҡ᷹㹵˹ ͤúҷ
Ѵҹҧ ҡ鹡Ѵѧʶҹ
ͺdzԹҫ繷Ѵҹҧ㹻Ѩغѹ 繷ǡöԺѵԸҧѴ觹
Ѵշźحͧ Ǻҹѧ¡
Ѵҹҧ ͧ͢ҹ
ٺԪ繼Ҩѵ÷觴觤Ѵ
·ҹʾ ҡ § ԧ ҹѹѵ
Щѹ§ ѡ繼ѡ͡Ѻԡ硹
ҧաѹǷ ѹ١ѹҹ
͡ҡҹѧѹѡѹ ѹҷԵ ѹѡῧ,
ѹѹ ѹᵧᵧ, ѹѧ ѹ,
ѹظ ѹѡ, ѹʺ ѹ, ѹء
ѹ (ҹ""-¹Ө״鹼ǪԴ˹),
ѹ ѹ ͡ҡѡҹѹ¤ ѡ
ѡʹ ѡ ѡҡ ѡԡ мѡʹ-ѡ(º)
·ҹ˵ؼ Ҿԡٻ㴧 ú筡ѯҹԭ˹
Ǿó觻 ҵط 繻 ҪǺҹǨзöͤҶҤչѡ
ٺԪդöҷкظѹ٧شѧҡҡɰҹշҹɰҹ
"...駻öҢ֧ ִ˹ҾйԾҹ..."
ѡлҡöҴѧ㹵ªͧҹҹҧءͧ
աС˹觷ٺԪ繷ѡ㹤çӢͧҹ
͡÷ҹ繼㹡ҧҧѴиҵش¾ѧѷһЪҪ繨ӹǹҡ
駡ѧСѧѾ ҧ§
駺ҳͧѰ ͧٺԪ繷ѡѹ
áԴͧҡ÷ҹͧԡó ºûͧʧյͧҹҹӤѭкǴʶ
кǴѴ ҡ СûͧкػѪҨѺ
觾ػѪٻ˹觨Ѵ㹡ôŨӹǹ˹¡Ǵʶ
¤Ѵ͡ҡзռþѺѺ¡ͧ
ٺ ¶֧ԡطѺ¡ͧҧ٧ ѧ鹤ٺԪ«ժ§㹢й鹨֧㹵˹ǴػѪ
°ҹ蹹 ٺԪ¨֧Էյͧ蹷кǪźص
ٺԪ¨֧١ӹǹҡ ١ҹ繰ҹѧӤѭͧٺԪ㹡ôԹԨҧʹСԨҸóª
աѧ㹡õ͵ҹӹҨҡا ԴóբѴ駢ҵ
ǹʧҹͧǻԺѵԷҡ
ͧҡաèṡʧյͧ͡繶֧
ԡ йԡ¹Ҩ¶֧з¾ػѪ͡ѹзͧӹҨͧ¢ͧ
¼ҹԴк١Ѻ й͡ҡԡµҧ ѧǢͧѺͧͪ͢ҵա
ԡ§ ԡ¢ֹ (䷢ֹ/Թ) ԡͧ (ҡͧͧ)
繵 ѺٺԪ¹ִͻԺѵǢͧԡ§ѺԡͧǻԺѵԺҧҧҧҡԡ
ոִͤ ù¡ ẺѴ͡
ǡ ǹ١Ф оѴ ִҨҡѴҧ
ԸաùҨҡѧ ÷ٺԪ¶ҷҹԷкǪźصյöͻԺѵ
ѴѺҪѭѵԡûͧʧ ..(..)
㹾ҪѭѵԴѧǡ˹ "ػѪкǪźص
ͧѺ觵駵ºûͧͧʧҡǹҧҹ"
¶˹ҷͧҤǧ 繼Ѵ͡èػѪ
ͤѴ͡Ǩ֧йӪʹҤм˭㹡اʹԹ觵駵
èѴºûͧͧاϹԸա¨յͧʧҹҧ
ͧʧҹҡµŧйҧ¤Ѵ駵ҧ
ԴҧʧҹҴ¡ѹͧ ѧó ѴҧٺԪ¡ѺФѵҡҤǧ
ѧѴӾٹ 繵
õͧԡóáͧٺԪ¹ԴФٺԪ¶ԺѵԵյͧҹ
ǹҤǧºԸջԺѵԢͧا ҤٺԪ·˹ҷػѪѺحҵҡҤǧ
֧繤Դ е駵繾ػѪͧ繾ػѪ
ٺѵҡҤǧѺ˹ҹحԧ ¡ٺԪͺǹǡѺѭҷٺԪ繾ػѪǪźصѺ觵駵Ҫѭѵ
èѺٺԪö觪ǧ͡ ǧͧҡҷǹҹͺ
Ъǧ´ͧҾѧᵡҧѹ
ԡóá (ǧ .. - )
õͧԡóǧáͧٺԪ繼Ҩҡͧ顮¢ͧʧ쩺Ѻá
(..) 繡ӹҨѺʧ¡黡ͧ㹪ǧ..
ҷͧٺԪǺҹЪѡɳⴴԹҵ˹ʧ黡ͧ
ѧҪǺҹѡҺصҹҽҡѧٺԪºǪػ
ͤҺ֧Ҥǧй ҧáҤٺԪǧԹӹҨͧ
ҤǧйҵǨǺٺԪ仡ѡѴҤǧ
ҡ鹡觤ٺԪФٺҹ ҤШѧѴӾٹѺǹ
觼šҡٺԪդԴ ѧҡ١ǹáҹѡ
ٺԪ¡١¡ͺա¾Ф Թ
Ҥǧ ͧҡ¡ٺԪ¹١Ѵ任ЪѺҺºҡҤǧ
ٺԪ仵¡ 觼ŷԡѴǴʶͧٺԪ任Ъ蹡ѹ
Ǵ任Ъ ١Ѵ ФҤǧ֧ԺǨͧӾٹ令ǺٺԪФ٭ҳҤШѧѴӾٹѴǹ
駹 ٺ Ԫ¶١ǺѴͧӾٹ֧
ѹ ֧Ѻûµ
ǹ駷 ..ǡѹ
ФҤǧٺԪ¹١ѴԡѴӺźҹҧ
Ǵʶ任ЪѴҤǧҪѭѵԷ
ҡҤٺԪһЪա ռôѴ任Ъ蹡ѹ
Ҥǧй֧˹ѧͿ֧ͧФ٭ҳ
ҤШѧѴӾٹ ٺԪ¶١ǺѴиҵحͧӾٹҹ֧˹觻
Ф٭ҳŨ֧¡ЪФټ˭㹨ѧѴ;Ԩóͧ
㹷شЪѴԹٺԪ¾鹨ҡ˹ǴѴ
Ǵʶ繾ػѪա 駶١Ǻǵա˹觻
ԡóзͧ (.. - )
ԡóԪ¤駷ͧդعçͧҡ繼Ҩҡõͧԡóá֧
õͧԡóѺ繡ѷҢͧǺҹյͤٺԪҡ觢
§ǡѺٺԪ¨֧͡ Ѻ繼Թҡ¡ѺҺաѭ(Тä)ҡԹ
Ѻѷ ǤٺԪ͡ҧش
ʹѧͷҺ֧Ҥǧйǧ
֧ͧ駵;Ф٭ҳ ҤШѧѴӾٹ
¡ "ٺԪ¡ͧʶѡǪ繡
Ƿ" Ф٭ҳŨ֧͡˹ѧŧѹ
Ҥ 觤ٺԪ͡仾ࢵѧѴӾٹ
ѹ ˹ѧ㹨ѧѴӾٹѺٺԪѴ
ͤٺԪзҧöҼԴٺԪ
ѧǡԡ˹ ˹ѧͧ͢ҨѡäӢѡҼͧͧӾٹ
¡ٺԪ¾Ѻ١ѴͧӾٹ 駹鹾ǡ١ѴǹٺԪͧҧ˭
óѧǤзҧʧ黡ͧӾٹ
ѧоͤٺԪ¾ѡѴѹ˹
ػҪžѾ֧¤ٺԪ¢ѧ§
ѡѺФҤͧ§Ѵવѹ Ǩ֧ͺФؤѹ
ͧҤͧ§ Ѵҡ (մ)
ҧٺԪ¶١ǺѴҡ
վͤ˭Ѻ繼ػҡٺԪ¤ǧع
( )оҤ 觺ҹеٷ ʹ餹§§ҧԹҧҹʡäٺԪ繨ӹǹҡ
ҧ¼ŵҧçͧء仡ѹ˭ͧҡçѷҢͧͧҹ
Ҥͧ§ҤžѾ֧觤ٺԪѺǹԨóҷا
觼šþԨó辺ҤٺԪդԴ ٺԪ͡Ѵ蹡
ͤٺԪ¡Ѻҡا ءͧҹҡþ¡ͧ㹵Ǥٺ
ѧҡʹѺʹع㹡úóлѧóѴҧ
ҹҫ觵ͧԹçҹҧ
ԡóз (ǧ .. - )
õͧԡóǧͧٺԪԴ㹪ǧաҧиҵش
ТСҧҧͧ ҡվʧ㹨ѧѴ§
ǧ Ѵ ͡ҡûͧʧ仢㹻ͧͧٺԪ᷹
繡÷Ѵ¡仢鹡ѺٺԪӹǹҡ
蹹 ҧʧ֧ʧѴ¡͡ѧͺоʧٺԪºǪ١֡
ԡó駷 ԹҨз .. ٺԪѺͧͤʧҨлԺѵԵҪѭѵѡɳСûͧʧءС
ҹ֧ѺحҵԹҧѺӾٹѹ Ҥ
.. ҷͧͺǹͺѴອԵҶ֧
ѹ
óդѴҧٺԪ¡Ѻʧ»ͧԹͺ
Ѻ .. 繵 Һзش㹪ԵͧٺԪ
㹪ǧҹ ٺԪ¡ѧԹêͻЪҪ
繷觷ҧдԹúó ѧóѴҧ
ʹҸóлªҸ
ûѧóѴл٪ѵطҧطʹҡѺҧҸóª
ٺԪ繼ͻԺѵҵ
ѧҷҹ繼ѡ ѹ ÷ѵͻ
ʹзҡ § к 餹Ҥٺ繼طѡɳ"ح"
駻ǧҧʧзӺحѺٺҡö·ҹѺԡؼط蹹鹨з·ҹѺҹʧҡ
ԹЪҪҷӺح㹡áҧҸóªкóʹʶҹʹѵ
ҹҧѧͻ ..
ٺ駢ѧѷҷ駪ҵҧ
ҨѴҹҧ 觡ҧҹѡ
Ѵ "Ѵմ·" 觤仹¡
"Ѵҹҧ"
鹵Ժѵ㹡仺óлѧóѴ
ͤٺѺ仺óлѧóѴ ҧѴҾҧѡͧٺҡѺл١Ѻ繷ѡͧҷӺحѺٺ
áٺ件֧ɰҹԵҡáҧ駹鹨
չ¤駷蹡ҧоҹԪ«ҧ
ҧ § Ѻͧ Ӿٹ ҡ鹤ٺҡ
"˹ѡ" 繻иҹШ㹧ҹ ѷҷҷӺحʹͧԹ
դСê¡ѹǺԹ繤㹡áҧ
ٺ "˹ѡ" ˹ ЪҪšѹ价Ӻح蹶֧ѹ
- Ѻ觨鹡繵Ҵ繪 ͡ҧǡէҹ
"ǧ-ǧ" ͧҹͧ ҧէҹ֧ͧԺѹ
㹪ǧҴѧǡѡդҷӺحѺٺҡһ
稧ҹ"ǧ-ǧ" 㹷˹
ٺ仡ҧ蹵ռҹ
·ҹӷѾԹ㴨ҡ觡仴 ǧٺԪµͧԡó駷ͧж١ǺѴմ
§ Ѻ ѹ 餹价ӺحѺٺӡѹ
ͤٺҹþԨóԡóا ա
Ѻ ѹǤٺҡԹҧѺӾٹѹ
áҤ .. ѧҡ鹼餹դѷ㹵Ǥٺҡ
ٺԪ鹡úóѴзҹ ҡúóо
ѧѴӻҧ ѴҡóѴиҵح
仺ó ࢵʹ § ҡ仺óѴ
ѧѴ ǡѹѹҹ֧ҹ ջЪҪԹҺԨҤӺحպ֧
պ ѧҡҺóѴԧ § ҷ ǾҧҹóлѧóѴͧٺԪջҳ
㹢зٺԪ¡ѧóѴǹ͡§
.. ǧջС͡ѺٺԪҡй俿Ң麹
ٺԪҡӶ仨Ч¡Ш俿ѧ
駹ҧ¤ӹdz㹪ǧ .. ҡҧҧ鹴鹨еͧ駺ҳ
, ҷ ٺԪҧҧѹ
Ȩԡ¹ .. Դö¹ѹ
¹ .. ͧ駺ҳ 稧ҹҧ
ٺԪ¡١ӵͺԡóاա繤駷ͧ
Чҹش¢ͧҹ·ҹѧժԵоҹԪó
ʹԧҧ § ѺͧѧѴӾٹ
㹡áҧҧ Ѻ
.. ֧ ռԨҤԹӺحѺҹ ҳ
, ٻ ԴԹ¡Ҿѹҷ ҡҧǪԵͧҹҳͧҹҷ
͡ҡ鹷ҹѧҧҧ ա¡
١ ԴҨԹ , ٻ(ٻ ʵҧ) 駹
ٺԪ¨էҹҧ˭ҡ ԴôҤ¤йҧҡѧ㹡зҧҵҺ
ٺԪ«繤ҧ硼ҧǢ
褹ç ҹͧӧҹçҹ ÷ͧ觤µѺҷӺحѺҹ
ҹеͧ"˹ѡ"ʹѹ ˵عҹ֧ҾҸäԴմǧë駡õǹҧóѴࢵҹ
СҾҸԺзҧоҹӻԧ ٺԪ¶֧óҾѹ
չҤ .. Ѵҹҧ
ѹ еȾѴҹҧ ҧҹ
ҡȾҵѴ Ӿٹ ֧ѹ
չҤ .. ֧ѺҪҹԧȾ ͧҹҪҹԧȾ鹨֧աѰԢͧҹ仺èҧ
ѴըѧѴӾٹ Ѵǹ͡ ѧѴ§
ѴǴ ѧѴӻҧ Ѵ ѧѴ
Ѵиҵت ѧѴ зѴҹҧ ѧѴӾٹѹѴͧҹ
繵
ѵŢͧٺԪ
ؤٺԪѧ֧óҾ
ӺحѺٺԪ¨Ѻ㨷ӺحѺҹҹ
ǹҧѵŹ á ǡ١ѺͤٺԪѴӾͧ¾ʹ;ФͧӾٹ
ͤٺһŧѹ⡹ 鹼ҼѺءǹѺѡŧẺԹᨡѹͧҧ
ǡѹͻͧѹѹµҧ 觡͡ѹԷķ繷Ȩ
ǹٻٺԪ¹
Фŭҳص (ش ԡԵ) ǨѧѴҧͧѺʧѧѴӾٹҧԹҪ㹡ûŧȾٺԪ
Ҥ ʵҧ 駹 ԧ ó
ѹҡʺóҹѡٺҴءաѺͧͧҵٺѧóҾк蹴
ٺԪҧ ѵ㴷ٺҨҧ
͡ҡФ㹡÷ӺحѺҹҹ ѧ羺աҧѵŢͧٺ繨ӹǹҡ
ٻẺҧ ¼ͺͧѵҹդѷ㹤բͧ
"ح"Ӥѭ
(º§ҡҹͧ ѡɳ
ջҫҧ, ѵԤٺԪѺǧջС ҧҧ鹴
ͧ . ., ûѵԤٺԪ ѡحҹ
ͧԧ ó ٹ˹ѧ§ Ȩԡ¹ ,
ӹҹٺԪẺȴеӹҹѴǹ-͡ ʶҺѹԨѧ
Է§ )
|
|
§ ѧѴ§ ç§ ¹Ӵѧ Թ ҧҧ

ͺҧ Line |
Դ¹ (ԴӡǤѺ)
㹻-ҧ ٧ҹ ǹ
ӹѡҹ.0-2969 3664, 0-2949 5134-36
ID LINE : @oceansmiletour
س .082-3656241
ID Line : lekocean2
س .093-6468915
ID Line : oceansmile |
|
|
|
ประวัติครูบาศรีวิชัย : จังหวัดเชียงใหม่
บริษัททัวร์ โอเชี่ยนสไมล์ทัวร์
 |
|
|
•
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ |
•
พระครูบาศรีวิชัย เชียงใหม่ |
ครูบาศรีวิชัย
ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปโดยเฉพาะในเขตล้านนาว่าเป็น "ตนบุญ"
หรือ "นักบุญ" อันมีความหมายเชิงยกย่องว่าเป็นนักบวชที่มีคุณสมบัติพิเศษ
อาจพบว่ามีการเรียกอีกว่า ครูบาเจ้าศรีวิชัย พระครูบาศรีวิชัย
ครูบาศีลธรรม หรือ ทุเจ้าสิริ (อ่าน"ตุ๊เจ้าสิลิ")
แต่พบว่าท่านมักเรียกตนเองเป็น พระชัยยาภิกขุ หรือ พระศรีวิชัยชนะภิกขุ
เดิมชื่อเฟือนหรืออินท์เฟือนบ้างก็ว่าอ้ายฟ้าร้อง เนื่องจากในขณะที่ท่านถือกำเนิดนั้นปรากฏฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก
ส่วนอินท์เฟือนนั้น หมายถึง การเกิดกัมปนาทหวั่นไหวถึงสวรรค์หรือเมืองของพระอินทร์
ท่านเกิดในปีขาล เดือน ๙ เหนือ(เดือน ๗ของภาคกลาง) ขึ้น ๑๑
ค่ำ จ.ศ.๑๒๔๐ เวลาพลบค่ำ ตรงกับวันอังคารที่ ๑๑ เดือนมิถุนายน
พ.ศ.๒๔๒๑ ที่หมู่บ้านชื่อ "บ้านปาง" ตำบลแม่ตืน
อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ท่านเป็นบุตรของนายควาย นางอุสา มีพี่น้องทั้งหมด
๕ คน มีชื่อตามลำดับ คือ ๑. นายไหว ๒. นางอวน ๓. นายอินท์เฟือน(ครูบาศรีวิชัย)
๔. นางแว่น ๕. นายทา
ทั้งนี้นายควายบิดาของท่านได้ติดตามผู้เป็นตาคือ
หมื่นปราบ (ผาบ) ซึ่งมีอาชีพเป็นหมอคล้องช้างของเจ้าหลวงดาราดิเรกฤทธิ์ไพโรจน์(เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่
๗ ช่วง พ.ศ.๒๔๑๔-๒๔๓๑)ไปตั้งครอบครัวบุกเบิกที่ทำกินอยู่ที่บ้านปาง
บ้านเดิมของนายควายอยู่ที่บ้านสันป่ายางหลวง ทางด้านเหนือของตัวเมืองลำพูน
ในสมัยที่ครูบาศรีวิชัยหรือนายอินท์เฟือนยังเป็นเด็กอยู่นั้น
หมู่บ้านดังกล่าวยังกันดารมากมีชน กลุ่มน้อยอาศัยอยู่มากโดยเฉพาะชาว
ปกาเกอญอ (กะเหรี่ยง) ในช่วงนั้นบ้านปางยังไม่มีวัดประจำหมู่บ้าน
จนกระทั่งเมื่อนายอินท์เฟือนมีอายุได้ ๑๗ ปีได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ
ครูบาขัติยะ (ชาวบ้านเรียกว่า ครูบาแฅ่งแฅะ เพราะท่านเดินขากะเผลก)
เดินธุดงค์จากบ้านป่าซางผ่านมาถึงหมู่บ้านนั้น ชาวบ้านจึงนิมนต์ท่านให้อยู่ประจำที่บ้านปาง
แล้วชาวบ้านก็ช่วยกันสร้างกุฏิชั่วคราวให้ท่านจำพรรษา ในช่วงนั้น
เด็กชายอินท์เฟือนได้ฝากตัวเป็นศิษย์ และเมื่ออายุได้ ๑๘ ปีก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่
อารามแห่งนี้โดยมีครูบาขัติยะเป็นพระอุปัชฌาย์ ๓ ปีต่อมา (พ.ศ.
๒๔๔๒) เมื่อสามเณรอินท์เฟือนมีอายุย่างเข้า ๒๑ ปี ก็ได้เข้าอุปสมบทในอุโบสถวัดบ้านโฮ่งหลวง
อำเภอบ้านโฮ่งจังหวัดลำพูน โดยมีครูบาสมณะวัดบ้านโฮ่งหลวงเป็นพระอุปัชฌาย์
ได้รับนามฉายาในการอุปสมบทว่า สิริวิชโยภิกฺขุ มีนามบัญญัติว่า
พระศรีวิชัย ซึ่งบางครั้งก็พบว่าเขียนเป็น สรีวิไชย สีวิไช
หรือ สรีวิชัย
เมื่ออุปสมบทแล้ว สิริวิชโยภิกขุก็กลับมาจำพรรษาที่อารามบ้านปางอีก
๑ พรรษา จากนั้นได้ไปศึกษากัมมัฏฐานและวิชาอาคมกับครูบาอุปละ
วัดดอยแต อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ต่อมาได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของครูบาวัดดอยคำอีกด้วย
และอีกท่านหนึ่งที่ถือว่าเป็นครูของครูบาศรีวิชัยคือครูบาสมณะ
วัดบ้านโฮ่งหลวงซึ่งเป็นพระอุปฌาย์ของท่าน
ครูบาศรีวิชัยรับการศึกษาจากครูบาอุปละวัดดอยแตเป็นเวลา
๑ พรรษาก็กลับมาอยู่ที่อารามบ้านปางจนถึง พ.ศ. ๒๔๔๔ (อายุได้
๒๔ ปี พรรษาที่ ๔) ครูบาขัติยะได้จาริกออกจากบ้านปางไป(บางท่านว่ามรณภาพ)
ครูบาศรีวิชัยจึงรักษาการแทนในตำแหน่งเจ้าอาวาส และเมื่อครบพรรษาที่
๕ ก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านปาง จากนั้นก็ได้ย้ายวัดไปยังสถานที่ที่เห็นว่าเหมาะสม
คือบริเวณเนินเขาซึ่งเป็นที่ตั้งวัดบ้านปางในปัจจุบัน เพราะเป็นที่วิเวกและสามารถปฏิบัติธรรมได้เป็นอย่างดีโดยได้ให้ชื่อวัดใหม่แห่งนี้ว่า
วัดจอมสรีทรายมูลบุญเรือง แต่ชาวบ้านทั่วไปยังนิยมเรียกว่า
วัดบ้านปาง ตามชื่อของหมู่บ้าน
ครูบาศรีวิชัยเป็นผู้มีศีลาจารวัตรที่งดงามและเคร่งครัด
โดยที่ท่านงดการเสพ หมาก เมี่ยง บุหรี่ โดยสิ้นเชิง ท่านงดฉันเนื้อสัตว์ตั้งแต่เมื่ออายุได้
๒๖ ปี และฉันอาหารเพียงมื้อเดียว ซึ่งมักเป็นผักต้มใส่เกลือกับพริกไทเล็กน้อย
บางทีก็ไม่ฉันข้าวทั้ง ๕ เดือน คงฉันเฉพาะลูกไม้หัวมันเท่านั้น
นอกจากนี้ท่านยังงดฉันผักตามวันทั้ง ๗ คือ วันอาทิตย์ ไม่ฉันฟักแฟง,
วันจันทร์ ไม่ฉันแตงโมและแตงกวา, วันอังคาร ไม่ฉันมะเขือ,
วันพุธ ไม่ฉันใบแมงลัก, วันพฤหัสบดี ไม่ฉันกล้วย, วันศุกร์
ไม่ฉันเทา (อ่าน"เตา"-สาหร่ายน้ำจืดคล้ายเส้นผมสีเขียวชนิดหนึ่ง),
วันเสาร์ ไม่ฉันบอน นอกจากนี้ผักที่ท่านจะไม่ฉันเลยคือ ผักบุ้ง
ผักปลอด ผักเปลว ผักหมากขี้กา ผักจิก และผักเฮือด-ผักฮี้(ใบไม้เลียบอ่อน)
โดยท่านให้เหตุผลว่า ถ้าพระภิกษุสามเณรรูปใดงดได้ การบำเพ็ญกัมมัฏฐานจะเจริญก้าวหน้า
ผิวพรรณจะเปล่งปลั่ง ธาตุทั้ง ๔ จะเป็นปกติ ถ้าชาวบ้านงดเว้นแล้วจะทำให้การถือคาถาอาคมดีนัก
ครูบาศรีวิชัยมีความปรารถนาที่จะบรรลุธรรมะอันสูงสุดดังปรากฏจากคำอธิษฐานบารมีที่ท่านอธิษฐานไว้ว่า
"...ตั้งปรารถนาขอหื้อได้ถึงธรรมะ ยึดเหนี่ยวเอาพระนิพพานสิ่งเดียว..."
และมักจะปรากฏความปรารถนาดังกล่าวในตอนท้ายชองคัมภีร์ใบลานที่ท่านสร้างไว้ทุกเรื่อง
อีกประการหนึ่งที่ทำให้ครูบาศรีวิชัยเป็นที่รู้จักและอยู่ในความทรงจำของชาวล้านนา
คือการที่ท่านเป็นผู้นำในการสร้างทางขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพโดยพลังศรัทธาประชาชนเป็นจำนวนมาก
ทั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์ ซึ่งใช้เวลาสร้างเพียง ๕ เดือนเศษ
โดยไม่ใช้งบประมาณของรัฐ แต่เรื่องที่ทำให้ครูบาศรีวิชัยเป็นที่รู้จักกันใน
ระยะแรกนั้นเกิดเนื่องจากการที่ท่านต้องอธิกรณ์ ซึ่งระเบียบการปกครองสงฆ์ตามจารีตเดิมของล้านนานั้นให้ความสำคัญแก่ระบบหมวดอุโบสถ
หรือ ระบบหัวหมวดวัด มากกว่า และการปกครองก็เป็นไปในระบบพระอุปัชฌาย์อาจารย์กับศิษย์
ซึ่งพระอุปัชฌาย์รูปหนึ่งจะมีวัดขึ้นอยู่ในการดูแลจำนวนหนึ่งเรียกว่าเจ้าหมวดอุโบสถ
โดยคัดเลือกจากพระที่มีผู้เคารพนับถือและได้รับการยกย่องว่าเป็น
ครูบา ซึ่งหมายถึงพระภิกษุที่ได้รับความยกย่องอย่างสูง ดังนั้นครูบาศรีวิชัยซึ่งมีชื่อเสียงอยู่ในขณะนั้นจึงอยู่ในตำแหน่งหัวหมวดพระอุปัชฌาย์
โดยฐานะเช่นนี้ ครูบาศรีวิชัยจึงมีสิทธิ์ตามจารีตท้องถิ่นที่จะบวชกุลบุตรได้
ทำให้ครูบาศรีวิชัยจึงมีลูกศิษย์จำนวนมาก และลูกศิษย์เหล่านี้ก็ได้เป็นฐานกำลังที่สำคัญของครูบาศรีวิชัยในการดำเนินกิจกรรมทางศาสนาและกิจกรรมสาธารณประโยชน์
อีกทั้งยังเป็นแนวร่วมในการต่อต้านอำนาจจากกรุงเทพฯ เมื่อเกิดกรณีขัดแย้งขึ้นในเวลาต่อมา
ส่วนสงฆ์ในล้านนาเองก็มีแนวปฏิบัติที่หลากหลาย
เนื่องจากมีการจำแนกพระสงฆ์ตามจารีตท้องถิ่นออกเป็นถึง ๑๘
นิกาย และในแต่ละนิกายนี้ก็น่าจะหมายถึงกลุ่มพระที่เป็นสายพระอุปัชฌาย์สืบต่อกันมาในแต่ละท้องที่ซึ่งมีอำนาจปกครองในสายของตน
โดยผ่านความคิดระบบครูกับศิษย์ และนอกจากนี้นิกายต่าง ๆ นั้นยังเกี่ยวข้องกับชื่อของเชื้อชาติอีกด้วย
เช่น นิกายเชียงใหม่ นิกายขึน (เผ่าไทขึน/เขิน) นิกายยอง (จากเมืองยอง)
เป็นต้น สำหรับครูบาศรีวิชัยนั้นยึดถือปฏิบัติในแนวของนิกายเชียงใหม่ผสมกับนิกายยองซึ่งมีแนวปฏิบัติบางอย่างต่างจากนิกายอื่น
ๆ มีธรรมเนียมที่ยึดถือคือ การนุ่งห่มที่เรียกว่า กุมผ้าแบบรัดอก
สวมหมวก แขวนลูกประคำ ถือไม้เท้าและพัด ซึ่งยึดธรรมเนียมมาจากวัดดอยแตโดยอ้างว่า
สืบวิธีการนี้มาจากลังกา การที่ครูบาศรีวิชัยถือว่าท่านมีสิทธิ์ที่จะบวชกุลบุตรได้ตามจารีตการถือปฏิบัติมาแต่เดิมนั้น
ทำให้ขัดกับพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.๑๒๑(พ.ศ.๒๔๔๖)
เพราะในพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดว่า "พระอุปัชฌาย์ที่จะบวชกุลบุตรได้
ต้องได้รับการแต่งตั้งตามระเบียบการปกครองของสงฆ์จากส่วนกลางเท่านั้น"
โดยถือเป็นหน้าที่ของเจ้าคณะแขวงนั้น ๆ เป็นผู้คัดเลือกผู้ที่ควรจะเป็นอุปัชฌาย์ได้
และเมื่อคัดเลือกได้แล้วจึงจะนำชื่อเสนอเจ้าคณะผู้ใหญ่ในกรุงเทพฯเพื่อดำเนินการแต่งตั้งต่อไป
การจัดระเบียบการปกครองใหม่ของกรุงเทพฯนี้ถือเป็นวิธีการสลายจารีตเดิมของสงฆ์ในล้านนาอย่างได้ผล
องค์กรสงฆ์ล้านนาก็เริ่มสลายตัวลงที่ละน้อยเพราะอย่างน้อยความขัดแย้งต่าง
ๆ ก็เกิดขึ้นระหว่างสงฆ์ในล้านนาด้วยกันเอง ดังกรณี ความขัดแย้งระหว่างครูบาศรีวิชัยกับพระครูมหารัตนากรเจ้าคณะแขวงลี้
อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นต้น
การต้องอธิกรณ์ระยะแรกของครูบาศรีวิชัยนั้นเกิดขึ้นเพราะครูบาศรีวิชัยถือธรรมเนียมปฏิบัติตามจารีตเดิมของล้านนา
ส่วนเจ้าคณะแขวงลี้ซึ่งใช้ระเบียบวิธีปฏิบัติของกรุงเทพฯ ซึ่งเห็นว่าครูบาศรีวิชัยทำหน้าที่พระอุปัชฌาย์โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากเจ้าคณะแขวงลี้
จึงถือว่าเป็นความผิด เพราะตั้งตนเป็นพระอุปัชฌาย์เองและเป็นพระอุปัชฌาย์เถื่อน
ครูบามหารัตนากรเจ้าคณะแขวงลี้กับหนานบุญเติง นายอำเภอลี้ได้เรียกครูบาศรีวิชัยไปสอบสวนเกี่ยวกับปัญหาที่ครูบาศรีวิชัยเป็นพระอุปัชฌาย์บวชกุลบุตรโดยมิได้รับแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติ
การจับกุมครูบาศรีวิชัยสามารถแบ่งช่วงเวลาออกเป็น ๓ ช่วงเนื่องจากเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเกือบ
๓๐ ปีและแต่ละช่วงจะมีรายละเอียดของสภาพสังคมที่แตกต่างกัน
อธิกรณ์ระยะแรก (ช่วง พ.ศ.๒๔๕๑ - ๒๔๕๓)
การต้องอธิกรณ์ช่วงแรกของครูบาศรีวิชัยเป็นผลมาจากการเริ่มทดลองใช้กฎหมายของคณะสงฆ์ฉบับแรก
(พ.ศ.๒๔๔๖) และเป็นการเริ่มให้อำนาจกับสงฆ์สายกลุ่มผู้ปกครองในช่วงพ.ศ.๒๔๕๓
นั้น บทบาทของครูบาศรีวิชัยในหมู่ชาวบ้านและชาวเขามีลักษณะโดดเด่นเกินกว่าตำแหน่งสงฆ์ผู้ปกครอง
ดังจะเห็นว่าชาวบ้านมักนำเอาบุตรหลานมาฝากฝังให้ครูบาศรีวิชัยบวชเณรและอุปสมบท
เมื่อความทราบถึงเจ้าคณะแขวงและนายอำเภอลี้ ทางการก็เห็นว่าครูบาศรีวิชัยล่วงเกินอำนาจของตน
เจ้าคณะแขวงและนายอำเภอได้พาตำรวจควบคุมครูบาศรีวิชัยไปกักไว้ที่วัดเจ้าคณะแขวงลี้ได้
๔ คืน จากนั้นก็ส่งครูบาศรีวิชัยไปให้พระครูบ้านยู้ เจ้าคณะจังหวัดลำพูนเพื่อรับการไต่สวน
ซี่งผลก็ไม่ปรากฏครูบาศรีวิชัยมีความผิด หลังจากถูกไต่สวนครั้งแรกไม่นานนัก
ครูบาศรีวิชัยก็ถูกเรียกตัวสอบอีกครั้งโดยพระครู มหาอินทร์
เจ้าคณะแขวงลี้ เนื่องจากมีหมายเรียกให้ครูบาศรีวิชัยนำลูกวัดไปประชุมเพื่อรับทราบระเบียบกฎหมายใหม่จากนายอำเภอและเจ้าคณะแขวงลี้
แต่ครูบาศรีวิชัยไม่ได้ไปตามหมายเรียกนั้น ซึ่งส่งผลทำให้เจ้าอธิการหัววัดที่อยู่ในหมวดอุโบสถของครูบาศรีวิชัยไม่ไปประชุมเช่นกัน
เพราะเห็นว่าเจ้าหัวหมวดไม่ไปประชุม ลูกวัดก็ไม่ควรไป พระครูเจ้าคณะแขวงลี้จึงสั่งให้นายสิบตำรวจเมืองลำพูนไปควบคุมครูบาศรีวิชัยส่งให้พระครูญาณมงคลเจ้าคณะจังหวัดลำพูนจัดการไต่สวน
ครั้งนั้น ครูบา ศรีวิชัยถูกควบคุมตัวอยู่ที่วัดชัยเมืองลำพูนถึง
๒๓ วัน จึงได้รับการปล่อยตัว
ส่วนครั้งที่๓ ใน พ.ศ.เดียวกันนี้
พระครูเจ้าคณะแขวงลี้ได้สั่งให้ครูบาศรีวิชัยนำเอาลูกวัดเจ้าอธิการหัววัดตำบลบ้านปาง
ซึ่งอยู่ในหมวดอุโบสถไปประชุมที่วัดเจ้าคณะแขวงตามพระราชบัญญัติที่จะเพิ่มขึ้น
ปรากฏว่าครูบาศรีวิชัยมิได้เข้าประชุมอีก มีผลให้บรรดาหัววัดไม่ไปประชุมเช่นกัน
เจ้าคณะแขวงและนายอำเภอลี้จึงมีหนังสือฟ้องถึงพระครูญาณมงคล
เจ้าคณะจังหวัดลำพูน ครูบาศรีวิชัยถูกควบคุมไว้ที่วัดพระธาตุหริภุญชัยเมืองลำพูนนานถึงหนึ่งปี
พระครูญาณมงคลจึงได้เรียกประชุมพระครูผู้ใหญ่ในจังหวัดเพื่อพิจารณาเรื่องนี้
ซึ่งในที่สุดที่ประชุมก็ได้ตัดสินให้ครูบาศรีวิชัยพ้นจากตำแหน่งหัวหมวดวัด
หรือหมวดอุโบสถและมิให้เป็นพระอุปัชฌาย์อีกต่อไป พร้อมทั้งถูกควบคุมตัวต่อไปอีกหนึ่งปี
อธิกรณ์ระยะที่สอง (พ.ศ. ๒๔๕๔ - ๒๔๖๔)
อธิกรณ์พระศรีวิชัยครั้งที่สองนี้มีความเข้มข้นและรุนแรงขึ้นเนื่องจากเป็นผลมาจากการต้องอธิกรณ์ครั้งแรกถึง
๓ ครั้ง แต่การต้องอธิกรณ์กลับเป็นการเพิ่มความเลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อครูบาศรีวิชัยมากยิ่งขึ้น
เสียงที่เล่าลือเกี่ยวกับครูบาสรีวิชัยจึงขยายออกไป นับตั้งแต่เป็นผู้วิเศษเดินตากฝนไม่เปียกและได้รับดาบสรีกัญไชย(พระขรรค์ชัยศรี)จากพระอินทร์
ความนับถือเลื่อมใสศรัทธาใน ตัวครูบาศรีวิชัยยิ่งแพร่ขยายออกไปอย่างไม่หยุดยั้ง
คำเล่าลือดังกล่าวเมื่อทราบถึงเจ้าคณะแขวงลี้และนายอำเภอแขวงลี้
ทั้งสองจึงได้เข้าแจ้งต่อพระครูญาณมงคล เจ้าคณะจังหวัดลำพูน
โดยกล่าวหาว่า "ครูบาศรีวิชัยเกลี้ยกล่อมส้องสุมคนคฤหัสถ์นักบวชเป็นก๊กเป็นเหล่า
และใช้ผีและเวทมนต์" พระครูญาณมงคลจึงออกหนังสือลงวันที่
๑๒มกราคม ๒๔๖๒ สั่งครูบาศรีวิชัยให้ออกไปพ้นเขตจังหวัดลำพูน
ภายใน ๑๕ วัน พร้อมทั้งมีหนังสือห้ามพระในจังหวัดลำพูนรับครูบาศรีวิชัยไว้ในวัด
เมื่อครูบาศรีวิชัยโต้แย้งและทางการไม่สามารถเอาผิดครูบาศรีวิชัยได้
ความดังกล่าวก็เลิกราไประยะหนึ่ง แต่ต่อมา ก็มีหนังสือของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์เจ้าผู้ครองเมืองนครลำพูน
เรียกครูบาศรีวิชัยพร้อมกับลูกวัดเข้าเมืองลำพูน ครั้งนั้นพวกลูกศิษย์ได้จัดขบวนแห่ครูบาศรีวิชัยเข้าสู่เมืองอย่างใหญ่โต
การณ์ดังกล่าวคงจะทำให้ทางคณะสงฆ์ผู้ปกครองลำพูนตกใจอยู่มิใช่น้อย
ดังจะพบว่าเมื่อครูบาศรีวิชัยพักอยู่ที่วัดมหาวันได้คืนหนึ่ง
อุปราชเทศามณฑลพายัพจึงได้สั่งย้ายครูบาศรีวิชัยขึ้นไปยังเชียงใหม่
โดยให้พักกับพระครูเจ้าคณะเมืองเชียงใหม่ที่วัดเชตวัน เสร็จแล้วจึงมอบตัวให้พระครูสุคันธศีล
รองเจ้าคณะเมืองเชียงใหม่ ที่วัดป่ากล้วย (ศรีดอนไชย)
ในระหว่างที่ครูบาศรีวิชัยถูกควบคุมอยู่ที่วัดป่ากล้วย
ก็ได้มีพ่อค้าใหญ่เข้ามารับเป็นผู้อุปฐากครูบาศรีวิชัยคือหลวงอนุสารสุนทร
(ซุ่นฮี้ ชัวย่งเส็ง)และพญาคำ แห่งบ้านประตูท่าแพ ตลอดจนผู้คนทั้งในเชียงใหม่และใกล้เคียงต่างก็เดินทางมานมัสการครูบาศรีวิชัยเป็นจำนวนมาก
ทางฝ่ายผู้ดูแลต่างเกรงว่าเรื่องจะลุกลามไปกันใหญ่เนื่องจากแรงศรัทธาของชาวเมืองเหล่านี้
เจ้าคณะเมืองเชียงใหม่และเจ้าคณะมณฑลพายัพจึงส่งครูบาศรีวิชัยไปรับการไต่สวนพิจารณาที่กรุงเทพฯ
ซึ่งผลการพิจารณาไม่พบว่าครูบาศรีวิชัยมีความผิด และให้ครูบาศรีวิชัยเลือกเป็นเจ้าอาวาสหรืออาศัยอยู่ในวัดอื่นก็ได้
เมื่อครูบาศรีวิชัยกลับจากกรุงเทพฯแล้ว ชนทุกกลุ่มของล้านนาก็ได้เพิ่มความเคารพยกย่องในตัวครูบา
ดังจะเห็นได้จากความสนับสนุนในการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง
ๆ ทั่วไปในล้านนาซึ่งต้องใช้ทั้งเงินและแรงงานอย่างมหาศาล
อธิกรณ์ระยะที่สาม (ช่วง พ.ศ. ๒๔๗๘ - ๒๔๗๙)
การต้องอธิกรณ์ช่วงที่สามของครูบาศรีวิชัยเกิดขึ้นในช่วงที่ได้มีการสร้างถนนขึ้นสู่พระธาตุดอย
สุเทพเพราะขณะก่อสร้างทางอยู่นั้นเอง ปรากฏว่ามีพระสงฆ์ในจังหวัดเชียงใหม่รวม
๑๐ แขวง ๕๐ วัด ขอลาออกจากการปกครองคณะสงฆ์ไปขึ้นอยู่ในปกครองของครูบาศรีวิชัยแทน
เมื่อเห็นการที่วัดขอแยกตัวไปขึ้นกับครูบาศรีวิชัยเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย
ๆ เช่นนั้น ทางคณะสงฆ์จึงสั่งให้กลุ่มพระสงฆ์ในวัดที่ขอแยกตัวออกดังกล่าวเข้ามอบตัวและพระสงฆ์ที่ครูบาศรีวิชัยเคยบวชให้ก็ถูกสั่งให้สึก
อธิกรณ์ครั้งที่ ๓ นี้ได้ดำเนินมาจนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๗๙ ครูบาศรีวิชัยได้ให้คำรับรองต่อคณะสงฆ์ว่าจะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ทุกประการ
ท่านจึงได้รับอนุญาตให้เดินทางกลับลำพูนเมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม
พ.ศ.๒๔๗๙ รวมเวลาที่ต้องสอบสวนและอบรมอยู่ที่วัดเบญจมบพิตรเป็นเวลาถึง
๖ เดือน ๑๗ วัน
กรณีความขัดแย้งระหว่างครูบาศรีวิชัยกับคณะสงฆ์ฝ่ายปกครองได้ดำเนินมาเป็นระยะเวลาเกือบ
๓๐ ปี นับตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๑ เป็นต้นมา ตราบกระทั่งวาระสุดท้ายในชีวิตของครูบาศรีวิชัย
แต่ในช่วงเวลานั้น ครูบาศรีวิชัยก็ยังคงดำเนินการช่วยเหลือประชาชน
เป็นที่พึ่งทางใจและดำเนินการบูรณะ ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ
ตลอดจนสาธารณะประโยชน์ตามคำอาราธนาอยู่เรื่อยมา
การปฏิสังขรณ์วัดและปูชนียวัตถุทางพุทธศาสนากับการสร้างสิ่งสาธารณประโยชน์
ครูบาศรีวิชัยได้ชื่อว่าเป็นผู้ถือปฏิบัติเคร่งมาตั้งแต่เป็นสามเณร
ดังเห็นว่าท่านเป็นผู้ที่มักน้อย ถือสันโดษ และเว้นอาหารที่มีเนื้อสัตว์เจือปน
ตลอดจนงดกระทั่งหมาก เมี่ยง และบุหรี่ ทำให้คนทั่วไปเห็นว่าครูบาเป็นผู้บริสุทธิ์ที่มีลักษณะเป็น"ตนบุญ"
คนทั้งปวงต่างก็ประสงค์จะทำบุญกับครูบาเพราะเชื่อว่าการถวายทานกับภิกษุผู้บริสุทธิ์เช่นนั้นจะทำให้ผู้ถวายทานได้รับอานิสงส์มาก
เงินที่ประชาชนนำมาทำบุญก็นำไปใช้ในการก่อสร้างสาธารณประโยชน์และบูรณะศาสนสถานและศาสนวัตถุ
งานก่อสร้างดังกล่าวเริ่มขึ้นเมื่อปี ฉลู พ.ศ.๒๔๔๒ เดือน ๓
แรม ๑ ค่ำ ครูบาได้แจ้งข่าวสารไปยังศรัทธาทั้งหลายรวมทั้งชาวเขาเผ่าต่าง
ๆ ว่าจะวัดบ้านปางขึ้นใหม่ ซึ่งก็สร้างเสร็จภายในเวลาไม่นานนัก
ให้ชื่อวัดใหม่นั้นว่า "วัดศรีดอยไชยทรายมูล" ซึ่งคนทั่วไปนิยมเรียกว่า
"วัดบ้านปาง"
ขั้นตอนปฏิบัติในการไปบูรณะปฏิสังขรณ์วัดมีว่า
เมื่อครูบาได้รับนิมนต์ให้ไปบูรณะปฏิสังขรณ์วัดใดแล้ว ทางวัดเจ้าภาพก็จะสร้างที่พักของครูบากับศิษย์และปลูกปะรำสำหรับเป็นที่พักของผู้ที่มาทำบุญกับครูบา
คืนแรกที่ครูบาไปถึงก็จะอธิษฐานจิตดูว่าการก่อสร้างครั้งนั้นจะสำเร็จหรือไม่
ซึ่งมีน้อยครั้งที่จะไม่สำเร็จเช่นการสร้างสะพานศรีวิชัยซึ่งเชื่อมระหว่าง
อำเภอหางดง เชียงใหม่ กับอำเภอเมือง ลำพูน จากนั้นครูบาก็จะ
"นั่งหนัก" คือเป็นประธานอยู่ประจำในงานนั้น คอยให้พรแก่ศรัทธาที่มาทำบุญโดยไม่สนใจเรื่องเงิน
แต่มีคณะกรรมการช่วยกันรวบรวมเงินไปเป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง
ครูบาไป "นั่งหนัก" ที่ไหน ประชาชนจะหลั่งไหลกันไปทำบุญที่นั่นถึงวันละ
๒๐๐-๓๐๐ ราย คับคั่งจนที่นั้นกลายเป็นตลาดเป็นชุมชนขึ้น เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วก็จะมีงาน
"พอยหลวง-ปอยหลวง" คืองานฉลอง บางแห่งมีงานฉลองถึงสิบห้าวัน
และในช่วงเวลาดังกล่าวก็มักจะมีคนมาทำบุญกับครูบามากกว่าปกติ
เมื่อเสร็จงาน"พอยหลวง-ปอยหลวง" ในที่หนึ่งแล้ว
ครูบาและศิษย์ก็จะย้ายไปก่อสร้างที่อื่นตามที่มีผู้มานิมนต์ไว้
โดยที่ท่านจะไม่นำทรัพย์สินอื่นใดจากแหล่งก่อนไปด้วยเลย ช่วงที่ครูบาศรีวิชัยต้องอธิกรณ์ครั้งที่สองและถูกควบคุมไว้ที่วัดศรีดอนชัย
เชียงใหม่ เป็นเวลา ๓ เดือนกับ ๘ วันนั้น ผู้คนหลั่งไหลไปทำบุญกับครูบาไม่ต่ำกว่าวันละ
๒๐๐ ราย เมื่อครูบาได้ผ่านการพิจารณาอธิกรณ์ที่กรุงเทพฯ ซึ่งใช้เวลาอีก
๒ เดือนกับ ๔ วันแล้วครูบาก็เดินทางกลับลำพูนเมื่อวันที่ ๒๑
กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๓ หลังจากนั้นผู้คนก็มีความศรัทธาในตัวครูบามากขึ้น
ครูบาศรีวิชัยเริ่มต้นการบูรณะวัดขณะที่ท่านอายุ ๔๒ ปี โดยเริ่มจากการบูรณะพระเจดีย์บ่อนไก้แจ้
จังหวัดลำปาง ถัดจากนั้นได้บูรณะเจดีย์และวิหารวัดพระธาตุหริภุญชัย
ต่อมาได้ไปบูรณะเจดีย์ดอยเกิ้ง ในเขตอำเภอฮอด เชียงใหม่ จากนั้นไปบูรณะวัดศรีโคมคำ
จังหวัดพะเยา กล่าวกันมาว่าในวันที่ท่านถึงพะเยานั้น มีประชาชนนำเงินมาบริจาคร่วมทำบุญใส่ปีบได้ถึง
๒ ปีบ หลังจากนั้นมาบูรณะวัดพระสิงห์ เชียงใหม่ เป็นอาทิ รวมแล้วพบว่างานบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามของครูบาศรีวิชัยมีประมาณ
๒๐๐ แห่ง
ในขณะที่ครูบาศรีวิชัยกำลังบูรณะวัดสวนดอกเชียงใหม่ใน
พ.ศ.๒๔๗๕ อยู่นั้น หลวงศรีประกาศได้หารือกับครูบาศรีวิชัยว่าอยากจะนำไฟฟ้าขึ้นไปใช้บนดอยสุเทพ
แต่ครูบาศรีวิชัยว่าหากทำถนนขึ้นไปจะง่ายกว่าและจะได้ไฟฟ้าในภายหลัง
ทั้งนี้ทางการเคยคำนวณไว้ในช่วง พ.ศ.๒๔๖๐ ว่าหากสร้างทางขึ้นดอยสุเทพนั้นจะต้องใช้งบประมาณ
๒๐๐,๐๐๐ บาท แต่ครูบาศรีวิชัยได้เริ่มสร้างทางเมื่อวันที่
๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๗ และเปิดให้รถยนต์แล่นได้ในวันที่ ๓๐
เมษายน พ.ศ.๒๔๘๘ โดยไม่ต้องใช้งบประมาณเลย ครั้นเสร็จงานสร้างถนนแล้ว
ครูบาศรีวิชัยก็ถูกนำตัวไปสอบอธิกรณ์ที่กรุงเทพฯอีกเป็นครั้งที่สอง
และงานชิ้นสุดท้ายของท่านที่ไม่เสร็จในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ก็คือสะพานศรีวิชัยอนุสรณ์
ทอดข้ามน้ำแม่ปิงเชื่อมอำเภอหางดง เชียงใหม่ กับอำเภอเมืองจังหวัดลำพูน
ในการก่อสร้างต่าง ๆ นับแต่
พ.ศ.๒๔๖๓ ถึง ๒๔๗๑ มีผู้ได้บริจาคเงินทำบุญกับท่าน ประมาณ
๓๐๐,๐๐๐ รูปี คิดเป็นเงินไม่น้อยกว่าสามหมื่นห้าพันบาท รวมค่าก่อสร้างชั่วชีวิตของท่านประมาณสองล้านบาท
นอกจากนั้นท่านยังได้สร้างคัมภีร์ต่าง ๆ อีกไม่น้อยกว่า ๓๐๐๐
ผูก คิดค่าจารเป็นเงิน ๔,๓๒๑ รูปี(รูปีละ ๘๐ สตางค์) ทั้งนี้
แม้ครูบาศรีวิชัยจะมีงานก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่และมากมาย แต่บิดามารดาคือนายควายและนางอุสาก็ยังคงอยู่ในกระท่อมอย่างเดิมสืบมาตราบจนสิ้นอายุ
ครูบาศรีวิชัยซึ่งเป็นคนร่างเล็กผอมบางผิวขาว
ไม่ใช่คนแข็งแรง แม้ท่านจะไม่ต้องทำงานประเภทใช้แรงงาน แต่การที่ต้องนั่งคอยต้อนรับและให้พรแก่ผู้มาทำบุญกับท่านนั้น
ท่านจะต้อง"นั่งหนัก"อยู่ตลอดทั้งวัน ด้วยเหตุนี้ท่านจึงอาพาธด้วยโรคริดสีดวงทวารซึ่งสะสมมาแต่ครั้งการตระเวนก่อสร้างบูรณะวัดในเขตล้านนา
และการอาพาธได้กำเริบขณะที่สร้างสะพานข้ามแม่น้ำปิง ครูบาศรีวิชัยถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่
๒๒ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๑ ที่วัดบ้านปาง ขณะมีอายุได้ ๖๐ ปี ๙ เดือน
๑๑ วัน และตั้งศพไว้ที่วัดบ้านปางเป็นเวลา ๑ ปี บางท่านก็ว่า
๓ ปี จากนั้นได้เคลื่อนศพมาตั้งไว้ที่วัดจามเทวี ลำพูน จนถึงวันที่
๒๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๙ จึงได้รับพระราชทานเพลิงศพ เมื่องานพระราชทานเพลิงศพเสร็จสิ้นจึงได้มีการแบ่งอัฐิของท่านไปบรรจุไว้ตามที่ต่าง
ๆ เช่น ที่วัดจามเทวีจังหวัดลำพูน วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่
วัดพระแก้วดอนเต้า จังหวัดลำปาง วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา
วัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่ และที่วัดบ้านปาง จังหวัดลำพูนอันเป็นวัดดั้งเดิมของท่าน
เป็นต้น
วัตถุมงคลของครูบาเจ้าศรีวิชัย
ในยุคที่ครูบาศรีวิชัยยังไม่ถึงแก่มรณภาพนั้น
ผู้ที่ทำบุญกับครูบาศรีวิชัยจะได้รับความอิ่มใจที่ได้ทำบุญกับท่านเท่านั้น
ส่วนการสร้างวัตถุมงคลนั้น ระยะแรก พวกลูกศิษย์ที่นับถือครูบาศรีวิชัยได้จัดทำพระเครื่องคล้ายพระรอดหรือพระคงของลำพูน
โดยเมื่อครูบาปลงผมในวันโกน ก็จะเก็บเอาเส้นผมนั้นมาผสมกับมุกมีส่วนผสมกับน้ำรักกดลงในแบบพิมพ์ดินเผาแล้วแจกกันไปโดยไม่ต้องเช่าในระหว่างศิษย์
กล่าวกันว่าเพื่อป้องกันภยันตรายต่าง ๆ ซึ่งก็ลือกันว่ามีอิทธิฤทธิ์เป็นที่น่าอัศจรรย์
ส่วนเหรียญโลหะรูปครูบาศรีวิชัยนั้น
พระครูวิมลญาณประยุต (สุดใจ วิกสิตฺโต) ชาวจังหวัดอ่างทองได้ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดลำพูนสร้างขึ้นให้เช่าเพื่อนำเงินมาช่วยในการปลงศพครูบาศรีวิชัย
โดยให้เช่าในราคาเหรียญละ ๕ สตางค์ ทั้งนี้ สิงฆะ วรรณสัย
ยืนยันจากประสบการณ์ที่ท่านรู้จักครูบาดีและได้คลุกคลีกับเรื่องพระเครื่องมาตั้งแต่ครูบายังไม่มรณภาพนั้นระบุว่าไม่มีเหรียญรุ่นดอยสุเทพ
ไม่มีเหรียญที่ครูบาศรีวิชัยสร้าง หรือวัตถุมงคลอื่นใดที่ครูบาจะสร้างขึ้น
นอกจากการให้พรและความอิ่มใจในการทำบุญกับท่านเท่านั้น แต่ในระยะหลังก็พบว่ามีการสร้างวัตถุมงคลของครูบาอยู่เป็นจำนวนมาก
ในรูปแบบต่างๆ โดยผู้ที่ครอบครองวัตถุมงคลเหล่านั้นมีความศรัทธาในความดีของ
"ตนบุญ"เป็นสำคัญ
(เรียบเรียงจากงานของ วิลักษณ์
ศรีป่าซาง, ประวัติครูบาศรีวิชัยร่วมกับหลวงศรีประกาศ ตอนสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ
ของ ส.สุภาภา ๑๐ พค.๒๕๑๘, สารประวัติครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งลานนาไทย
ของสิงฆะ วรรณสัย ศูนย์หนังสือเชียงใหม่ พฤศจิกายน ๒๕๒๒, และ
ตำนานครูบาศรีวิชัยแบบพิศดารและตำนานวัดสวน-ดอก สถาบันวิจัยสังคม
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๒๕๓๗)
|
|
เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โรงแรมเชียงใหม่ ห้วยน้ำดัง ดอยอินทนนท์ ดอยอ่างขาง
ดอยสุเทพเป็นศรี
ประเพณีเป็นสง่า บุปผชาติล้วนงามตา งามล่ำค่านครพิงค์ |
•
ข้อมูลท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
•
สถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่ |
|
|
|
• สวนสัตว์เชียงใหม่ หมีแพนด้า |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ทัวร์โปรโมชั่น

สอบถามทัวร์ทาง Line |
• ติดต่อโอเชี่ยนสไมล์ทัวร์ (เปิดทำการแล้วครับ)
• กรุ๊ปเหมาในประเทศ-ต่างประเทศ สัมนา ดูงาน เที่ยวส่วนตัว
• สำนักงานโทร.0-2969 3664, 0-2949 5134-39
• ID LINE : @oceansmiletour
• คุณเล็ก โทร.082-3656241
• ID Line : lekocean2
• คุณโจ้ โทร.093-6468915
• ID Line : oceansmile |
|
|
|
| |
|
|
|